ความคาดหวัง กับ ความเป็นจริง -- เมื่อสหรัฐฯ ประกาศพร้อมรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครน 100,000 คน

FILE - Refugees, mostly women and children, wait in a crowd for transportation after fleeing from the Ukraine and arriving at the border crossing in Medyka, Poland, on March 7, 2022. The U.N. refugee agency says more than 4 million refugees have now fled

ในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านการตรวจคนเข้าเมืองประสบอุปสรรคการทำงานมากมายจนทำให้งานพิจารณอนุญาตเอกสารต่างๆ สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานหรืออาศัยอยู่ในสหรัฐฯ คั่งค้างมากมาย ดังนั้น การที่จะพยายามตามคำสัญญาของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในการเปิดประตูต้อนรับผู้อพยพลี้ภัยชาวยูเครนให้ได้ถึง 100,000 คน ให้ได้บ้าง แม้จะเพียงบางส่วน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแม้แต่น้อย

รายงานข่าวระบุว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่งอนุมัติเอกสารอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยเข้าประเทศไปได้เพียง 6,494 คนเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ผู้ที่ยื่นเรื่องของอพยพลี้ภัยเข้าสหรัฐฯ นั้นยังจะต้องเตรียมตัวรับมือกับกฎหมายและนโยบายตรวจคนเข้ามืองของอเมริกาที่มีรายละเอียดยุบยิบมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นออกมาเพื่อเตรียมรับมือหรือแม้แต่สั่งจำกัดการหลั่งไหลเข้ามาของผู้ลี้ภัยจากละตินอเมริกาเป็นหลัก

SEE ALSO: ‘ไบเดน’ เยือนโปแลนด์ ขณะที่สหรัฐ-ยุโรป ผนึกกำลังต้าน ‘ปูติน’ 

การประกาศรับผู้ลี้ภัยจากยูเครนของสหรัฐฯ นั้น มีออกมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ ปธน.ไบเดน เยือนกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ และกล่าวว่า ชาวอเมริกันควรที่จะ “มีส่วนร่วม” ในการช่วยรับรองผู้ลี้ภัยบางส่วนจากทั้งหมด 3.8 ล้านคน ที่หนีภัยสงครามและการรุกรานของรัสเซียออกมาบ้าง หลังโปแลนด์ช่วยรับผู้เดือดร้อนราวครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวไว้แล้ว

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า การจะรับผู้อพยพชาวยูเครนเข้าสหรัฐฯ โดยถูกกฎหมายนั้นสามารถทำได้หลายทาง เช่น ผ่านโครงการผู้ลี้ภัยของรัฐบาล หรือ โปรแกรมวีซ่าเพื่อจุดประสงค์ด้านมนุษยธรรมต่างๆ รวมทั้ง การให้สมาชิกในครอบครัวที่ถือสัญชาติอเมริกันเป็นผู้อุปถัมภ์การขอเอกสารอนุญาตการย้ายถิ่นฐานเข้าสหรัฐฯ เป็นต้น โดยวิธีการบางวิธีนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้อพยพสามารถยื่นเรื่องขอสถานภาพผู้พำนักถาวร หรือแม้กระทั่งสัญชาติอเมริกันได้ด้วย

ตัวเลขเพดาน 100,000 คน มีนัยสำคัญอย่างไร

ขณะที่ จำนวนผู้อพยพลี้ภัยชาวยูเครนจำนวน 100,000 คนที่ปธน.ไบเดน นำเสนอไปนั้น เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเพดานสูงสุดที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศไว้ ตัวเลขดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นตัวเลขที่ดึงออกมาจากแผนงานในปีงบประมาณปัจจุบันของกรุงวอชิงตัน

FILE - In this Aug. 17, 2018, file photo, people arrive before the start of a naturalization ceremony at the U.S. Citizenship and Immigration Services Miami Field Office in Miami. USCIS, The cash-strapped federal agency that oversees that nation's legal…

ในปีงบประมาณ 2022 นี้ ปธน.ไบเดน ประกาศเพิ่มเพดานตัวเลขผู้ลี้ภัยขึ้นมาเป็น 125,000 คน โดยระหว่างเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ อนุมัติคำขอลี้ภัยไปไม่ถึง 6,500 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก แต่ยังอยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่าจำนวนผู้ลี้ภัยที่สหรัฐฯ รับเข้าประเทศมา 11,141 คน เมื่อปีงบประมาณก่อนหน้า

ทั้งนี้ เพดานการรับผู้อพยพลี้ภัยจากทั่วโลกของสหรัฐฯ ภายใต้โครงการ U.S. Refugee Admissions Program ถูกปรับลดลงอย่างมากในสมัยของรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ โดยการปรับเปลี่ยนดังกล่าวส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะรับมือกับจำนวนคำขอลี้ภัยและจำนวนผู้ที่เดินทางอพยพเข้าเมืองที่เพิ่มขึ้น

สถานการณ์ที่ชายแดนภาคใต้ของสหรัฐฯ

ตามแนวชายแดนทางภาคใต้ของสหรัฐฯ ที่ติดกับเม็กซิโกนั้น เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองต้องทำงานอย่างหนักเพิ่มรับมือกับสถานการณ์การอพยพเข้าประเทศของผู้คนจำนวนมากที่ยื่นเรื่องขอลี้ภัยโดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยของตน

FILE - Migrants arrive in Villa Comaltitlan, Chiapas state, Mexico, Oct. 27, 2021, as they continue their journey through Mexico to the U.S. border.

และนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการระบาดของโควิด-19 เมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2020 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในพื้นที่ดังกล่าวได้ทำตามกฎหมายที่มีชื่อว่า Title 42 ซึ่งมีเนื้อหาสั่งให้ทำการส่งตัวผู้อพยพออกจากประเทศโดยเร็วด้วยเหตุผลด้านสาธารณสุข

ข้อมูลจาก สำนักงานศุลกากรและการป้องกันชายแดนของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ ส่งตัวผู้อพยพเกือบ 2 ล้านคนจาก บราซิล ประเทศแถบอเมริกากลาง เฮติ เม็กซิโก และโคลอมเบีย ออกนอกประเทศไปแล้วภายใต้อำนาจของกฎหมายดังกล่าว ขณะที่ ผู้ลี้ภัยจากประเทศในแถบอเมริกาใต้ก็ถูกส่งตัวกลับทันทีที่เดินทางมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ

รายงานข่าวระบุว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไป เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ บันทึกตัวเลขผู้อพยพที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศได้ถึง 164,973 คน โดย 91,513 คนถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศบ้านเกิดหรือประเทศต้นทางภายใต้อำนาจของกฎหมาย Title 42 ขณะที่ ผู้อพยพที่เหลือนั้นถูกควบคุมตัวไว้ หรือได้รับอนุญาตให้ลี้ภัย หรือเข้าประเทศภายใต้เงื่อนไขของโครงการต่างๆ

ในส่วนของผู้อพยพลี้ภัยจากยูเครนนั้น รัฐบาลปธน.ไบเดน ประกาศให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองใช้วิจารณญาณของตนในการอนุญาตให้ผู้ใดมีสิทธิ์เดินทางเข้าสหรัฐฯ โดยพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

ใครคือ “ผู้ขอลี้ภัย” ตามกฎหมายสหรัฐฯ

กฎหมายของสหรัฐฯ นั้นอนุญาตให้คนต่างชาติขอเข้ามาลี้ภัยในประเทศได้ หากเชื่อว่า ตนจะตกอยู่ในอันตรายหากยังคงอยู่ในประเทศบ้านเกิด โดยบุคคลผู้นั้นจะต้องเข้ามาอยู่ในสหรัฐฯ และแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ว่า ตนกำลังมีภัยจากเหตุผล 1 ใน 5 ข้อ อันได้แก่ เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความคิดเห็นทางการเมือง หรือ การที่ตนเป็นสมาชิกของชนชั้นใดชั้นหนึ่งในสังคม โดยเหตุผลข้อสุดท้ายนั้นเปิดโอกาสให้มีการตีความได้มากที่สุด เพราะสามารถเป็นกรณีของ ลักษณะทางเพศ หรือ วรรณะ ก็ได้

และการที่จะได้รับอนุมัติให้เข้าสหรัฐฯ ในฐานะผู้ลี้ภัยนั้น บุคคลดังกล่าวจะต้องผ่านเกณฑ์ 3 ข้อ ที่ระบุไว้ใน อนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ขององค์การสหประชาชาติ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีมติเห็นชอบนำมาใช้ปฏิบัติตาม โดยผู้ยื่นคำขอต้องพิสูจน์ว่า ตนมี

- ความหวาดกลัวอันมีมูลว่า ตนจะถูกประหัตประหารในประเทศบ้านเกิดของตน โดยองค์การสหประชาชาติให้นิยามของความหวาดกลัวอันมีมูล ว่า เป็นความกลัวที่มีความน่าจะเป็นที่จะถูกประหัตประหารอย่างน้อย 10%

- ความหวาดกลัวว่าจะถูกประหัตประหารเพราะ 1 ใน 5 เหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้น

- หลักฐานว่ารัฐบาลของประเทศบ้านเกิดนั้นมีส่วนร่วม หรือไม่สามารถที่จะควบคุมความพยายามประหัตประหารตน

การขอลี้ภัยต่างจากการยื่นคำขอในฐานะผู้ลี้ภัยอย่างไร

การขอลี้ภัยนั้น คือกรณีของผู้ลี้ภัยที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในสหรัฐฯ ยื่นคำขอเข้าเมือง และเดินทางมาได้เฉพาะเมื่อได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัยแล้วเท่านั้น ขณะที่ ผู้ลี้ภัยคือ บุคคลที่เดินทางเข้ามาสหรัฐฯ แล้วจึงค่อยยื่นเรื่องที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ถ้าหากเดินทางเข้าประเทศมาได้แล้ว ไม่ว่าจะโดยถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

ทั้งนี้ สหรัฐฯ อาจเพิกถอนคำร้องขอลี้ภัยได้ หากบุคคลผู้นั้นเดินทางเข้ามาในประเทศมากกว่า 1 ปีแล้วจึงค่อยยื่นคำร้อง หรือเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับการประหัตประหารผู้อื่น หรือก่ออาชญากรรมร้ายแรงมาก่อน หรือถูกพิจารณว่า เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ

รัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้องของลี้ภัยได้หรือไม่?

ในความเป็นจริง รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถปฏิเสธคำร้องขอลี้ภัยได้ หากผู้ยื่นเรื่องไม่สามารถพิสูจน์ตามเกณฑ์เงื่อนไข 3 ข้อข้างต้นได้ หรือเมื่อพบว่า สถานการณ์ที่ประเทศบ้านเกิดของผู้ยื่นคำร้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อช่วงที่ยื่นคำร้อง หรือว่า ตัวผู้ยื่นคำร้องนั้นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง ในประเทศบ้านเกิด