สหรัฐฯ ตั้งกองทุน 500 ล้านดอลลาร์ช่วยเหลือญาติเหยื่อโบอิ้ง 737 Max ตก

Demonstrators hold pictures of the plane crash victims during a vigil on the six-month anniversary of the crash of a Boeing 737 Max 8, killing 157 people, in Ethiopia on March 10, which has resulted in the grounding hundreds of the planes worldwide,…

Your browser doesn’t support HTML5

Business News


รัฐบาลสหรัฐฯ จัดตั้งกองทุนใหม่มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้ชดเชยความสูญเสียของสมาชิกครอบครัวผู้เสียชีวิต 346 คน จากเหตุเครื่องบินโบอิ้ง 737 แม็กซ์ (Max) ตก 2 ครั้ง ตามรายงานข่าวของ รอยเตอร์

รายงานข่าวระบุว่า กองทุนดังกล่าวที่เปิดใช้งานตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงยุติคดีมูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์ที่บริษัทโบอิ้งทำไว้กับกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติอเมริกันแห่งนี้ตกลงที่จะชดเชยเงินเป็นจำนวน 500 ล้านดอลลาร์ให้กับทายาท ญาติ และผู้รับผลประโยชน์ของผู้โดยสารสายการบิน ไลออน แอร์ เที่ยวบินที่ 610 และสายการบิน เอธิโอเปีย แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 302 ซึ่งใช้เครื่องโบอิ้ง 737 Max ทำการบินและประสบเหตุตกในปี ค.ศ. 2018 และ 2019

Grounded Boeing 737 MAX aircraft are seen parked at Boeing facilities at Moses Lake

เคน ไฟน์เบิร์ก และ คามิลล์ บิรอส ผู้ดูแลกองทุนนี้ออกคำแถลงร่วมที่ระบุว่า ครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทั้งสองนั้นจะได้เงินชดเชยครอบครัวละเกือบ 1.45 ล้านดอลลาร์ โดยกระบวนการจ่ายเงินนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป ตามการยื่นคำร้องขอและการพิจารณาตามลำดับ และทุกครอบครัวที่มีสิทธิ์ต้องยื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 ตุลาคมนี้

ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และบริษัท โบอิ้ง ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้

และแม้ข้อตกลงระหว่างทั้งสองที่นำมาซึ่งกองทุนชดเชยนี้ ทำให้ โบอิ้ง ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา แต่ถูกปรับเป็นเงิน 243.6 ล้านดอลลาร์และได้ถูกสั่งให้จ่ายเงินชดเชยแก่สายการบินทั้งสองเป็นเงิน 1,770 ล้านดอลลาร์ ผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้ยังต้องต่อสู้คดีแพ่งที่ญาติๆ ของผู้เสียชีวิตยื่นฟ้องต่อไป

ขณะที่ โบอิ้ง สามารถบรรลุข้อตกลงยุติคดีที่สายการบิน ไลออน แอร์ ยื่นฟ้องไปได้เกือบหมด บริษัทแห่งนี้ยังมีคดีที่ค้างอยู่ที่ศาลรัฐบาลกลางแห่งนครชิคาโก ซึ่งครอบครัวของเหยื่อเที่ยวบิน เอธิโอเปีย แอร์ไลน์ ยื่นฟ้องและตั้งคำถามว่า ทำไมยังมีการใช้เครื่องรุ่นนี้ทำการบินหลังเกิดเหตุเครื่องตกกับ ไลออน แอร์ ไปก่อนหน้า

SEE ALSO: ซีอีโอ 'โบอิ้ง' ยอมรับความผิดพลาดในการพัฒนาเครื่องบิน 737 Max 

หลังเกิดเหตุสลดกับเครื่องบินรุ่นดังกล่าว สำนักงานควบคุมการบินของรัฐบาลสหรัฐฯ (FAA) สั่งห้ามใช้เครื่อง โบอิ้ง 737 Max เป็นเวลา 20 วัน ก่อนที่จะยกเลิกคำสั่งนี้ เมื่อ โบอิ้ง ทำการปรับปรุงอัพเกรดซอฟต์แวร์และปรับเปลี่ยนโปรแกรมอบรบต่างๆ เรียบร้อยแล้ว

และเมื่อเดือนที่แล้ว โบอิ้ง เพิ่งตกลงจะจ่ายค่าปรับให้ FAA เป็นจำนวน 17 ล้านดอลลาร์ หลังทำการติดตั้งอุปกรณ์ที่มีระบบเซ็นเซอร์ที่ยังไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้งาน ให้กับเครื่องรุ่น 737 Max และ NG จำนวนกว่า 700 ลำ