‘ยูเอ็น’ ลงคะแนนท่วมท้น - ไทยร่วมประณามรัสเซียบุกยูเครน

United Nations members vote on a resolution concerning the Ukraine during an emergency meeting of the General Assembly at United Nations headquarters, March 2, 2022.

เมื่อวันพุธ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ UNGA ลงคะแนนท่วมท้นให้กับมติประณามการบุกรุกยูเครนของรัสเซีย และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกองกำลังออกจากยูเครนทั้งหมดโดยทันที ขณะที่กองทัพรัสเซียยังคงเดินหน้าโจมตียูเครนทางอากาศและทางบก

ประเทศสมาชิกยูเอ็น 141 ประเทศ รวมทั้งไทย จากทั้งหมด 181 ประเทศที่เข้าร่วมลงคะแนนครั้งนี้ สนับสนุนมติประณามรัสเซีย โดยมีเพียงรัสเซียและอีกห้าประเทศพันธมิตรรัสเซีย ประกอบด้วยเบลารุส ซีเรีย เกาหลีเหนือและเอริเทรีย ที่ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว และมีอีก 35 ประเทศที่งดออกเสียง แต่ก็ไม่ส่งผลต่อคะแนนเสียงอย่างน้อยสองในสามที่ต้องการเพื่อผ่านมติ

มติดังกล่าวได้รับการร่วมอุปถัมภ์จากประเทศสมาชิกเกือบ 100 ประเทศ ซึ่งคล้ายกับมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNSC ที่รัสเซียยับยั้งเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ทำให้ร่างมติมาอยู่ในที่ประชุม UNGA

Ukrainian Ambassador to the United Nations Sergiy Kyslytsya holds up a copy of the charter of the United Nations while speaking during an emergency meeting of the General Assembly at United Nations headquarters, March 2, 2022.

แอนโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็น กล่าวว่า สารจาก UNGA ครั้งนี้ชัดเจนว่า จะต้องยุติความใช้ความรุนแรงในยูเครนและเปิดทางให้มีการเจรจาและการทูตตอนนี้

สหภาพยุโรปทำงาน หรือ อียู อย่างหนักเพื่อรวมเสียงประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศ รวมทั้งโน้มน้าวประเทศอื่นๆ เพื่อลงคะแนนต่อต้านรัสเซีย โดยโอลาฟ สคูก ทูตอียูประจำสหประชาชาติ ระบุว่า รัฐบาลรัสเซียถูกโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ทั่วโลกต้องการให้รัสเซียยุติการคุกคาม ถอนกองกำลัง และปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ

ประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน ทวีตข้อความยินดีต่อมติดังกล่าว โดยเขาขอบคุณประเทศที่ลงคะแนนสนับสนุนยูเครน และกล่าวว่า ประเทศเหล่านี้ “เลือกข้างที่ถูกต้องในประวัติศาสตร์”

ทางด้านลินดา โธมัส-กรีนฟิลด์ ทูตสหรัฐฯ ประจำยูเอ็น กล่าวก่อนการลงคะแนนว่า สหประชาชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ประณาม และยุติสงคราม และสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้เป็นการท้าทายสหประชาชาติมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่

มติดังกล่าวประณามการประกาศทำ “ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ” ในยูเครนของรัสเซียเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และคัดค้านการที่รัสเซียละเมิดมาตรา 2(4) ของกฎบัตรสหประชาชาติ ที่ระบุว่า ประเทศสมาชิกต้องงด “การคุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณภาพเหนือดินแดนหรือเอกราชทางการเมืองของรัฐใดๆ”

เซอร์กีย์ คีสลีตสยา ทูตยูเครนประจำยูเอ็น กล่าวในที่ประชุมว่า ยูเครนกำลังต่อสู้สุดชีวิตต่อกองทัพรัสเซีย และรัสเซียไม่ได้บุกรุกเพื่อเปลี่ยนแปลงยูเครนเท่านั้น แต่บุกรุกเพื่อพรากความเป็นรัฐออกจากยูเครนด้วย


รัสเซียยังเร่งเครื่องบุกรุกยูเครน

อย่างไรก็ตาม การประณามจากนานาชาติอาจไม่ส่งผลต่อการกระทำของรัสเซียมากนัก โดยในวันพุธ รัสเซียยังคงเดินหน้าโจมตีขณะที่ชาวยูเครนยังคงหนีออกมาทางชายแดน โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประมาณการว่า มีผู้ลี้ภัยกว่า 874,000 คนหนีออกจากยูเครนในสัปดาห์นี้ และได้เตรียมแผนรองรับผู้ลี้ภัยสูงสุด 4 ล้านคน

วาสซิลี เนเบนเซีย ทูตรัสเซียประจำยูเอ็น อ้างเหตุผลว่า ปฏิบัติการพิเศษของรัสเซียอยู่บนพื้นฐานของมาตราที่ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ และย้ำว่ารัสเซียไม่ได้โจมตีอาคารของพลเรือนหรือตัวพลเรือน และขอให้ประเทศต่างๆ อย่าเชื่อข่าวเท็จในอินเตอร์เน็ต

นานาชาติแสดงจุดยืน

ประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าประชุม UNGA ในสัปดาห์นี้ สนับสนุนอธิปไตย บูรณภาพเหนือดินแดน และเอกราชของยูเครน หลายประเทศเรียกร้องให้มีการยกเลิกการรับรองเอกราชของเขตปกครองสองแห่งในยูเครนของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน รวมถึงแสดงความไม่พอใจที่ผู้นำรัสเซียสั่งการให้กองกำลังนิวเคลียร์ของตนเตรียมพร้อม

Andrey Goncharuk, 68, a member of territorial defense, walks in the backyard of a house damaged by a Russian airstrike, according to locals, in Gorenka, outside the capital Kyiv, Ukraine, March 2, 2022.

ประเทศขนาดเล็กต่างออกมาสนับสนุนมติในครั้งนี้เช่นกัน เช่น แอนติกาและบาร์บูดา ที่เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเกาะขนาดเล็กเช่นตน รับรองมติดังกล่าวเพื่อปกป้องหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ หรือไมโครนีเซียที่ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัสเซีย

ทางด้านเมียนมา ที่มีทูตประจำยูเอ็นมาจากรัฐบาลพลเรือนก่อนเกิดรัฐประหาร ก็แสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครน โดยจอ โม ตุน ทูตเมียนมาประจำยูเอ็น ระบุว่า ชาวเมียนมาต้องทนทุกข์กับ “การกระทำที่ไร้มนุษยธรรม ความโหดร้าย อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยกองทัพเมียนมา” คล้ายกับที่ชาวยูเครนกำลังเผชิญ ทั้งนี้ รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งอาวุธให้กองทัพเมียนมา

รัสเซียแทบไม่มีประเทศสนับสนุน

รัสเซียแทบไม่สามารถหาเสียงสนับสนุนแม้แต่จากประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุด เช่น เซอร์เบีย ซึ่งลงคะแนนรับมติประณามรัสเซียครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

ประเทศอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย เช่น จีน อิหร่าน นิการากัว คิวบา และปากีสถาน เลือกงดออกเสียง

อย่างไรก็ตาม รัสเซียยังมีประเทศที่สนับสนุน เช่น เบลารุส ที่อนุญาตให้กองทัพรัสเซียตั้งฐานทัพในดินแดนของตนได้ และยิงขีปนาวุธ รวมถึงเดินหน้ากองกำลังจากดินแดนของตนไปยังทางตอนเหนือของยูเครนได้

FILE - This satellite image provided by Maxar Technologies shows ground forces equipment and convoy in Khilchikha, Belarus, Feb. 28, 2022.

วาเลนทีน รีบาคอฟ ทูตเบลารุสประจำยูเอ็น กล่าวว่า เบลารุสปฏิเสธข้อกล่าวหาว่า เบลารุสมีส่วนร่วมกับ “การใช้กำลังอย่างผิดกฎหมาย” ต่อยูเครน โดยผู้นำเบลารุสพยายามอย่างยิ่งเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายหารือกันได้ ทั้งนี้ การเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียรอบที่สองจะมีขึ้นที่เมืองชายแดนของเบลารุส

ทางด้านทูตซีเรียประจำยูเอ็นกล่าวว่า ร่างมติฉบับนี้เป็น “การเสแสร้งอันฉาวโฉ่ทางการเมือง” ทั้งนี้ รัสเซียให้การสนับสนุนทางทหารแก่รัฐบาลซีเรียและการทำสงครามกลางเมืองมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2015

ทางด้านเกาหลีเหนือกล่าวว่า สหรัฐฯ เป็นสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครน โดยรัสเซียได้พยายามผ่อนคลายและยกเลิกมาตรการลงโทษจากนานาชาติต่อโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

มติ “ปรองดองเพื่อสันติภาพ”

การประชุม UNGA ในสัปดาห์นี้ เป็นการประชุมเพื่อมติ “ปรองดองเพื่อสันติภาพ” (Uniting for Peace) โดยการประชุมลักษณะนี้เป็นการประชุมพิเศษระหว่างประเทศสมาชิกทั้งหมดหาก UNSC ไม่สามารถหาข้อสรุปและเดินหน้าเพื่อรักษาหรือฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศได้

โดยในกรณีนี้ รัสเซียได้ยับยั้งร่างมติในลักษณะเดียวกันระหว่างการประชุมของ UNSC เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

รายงานของ UNSC ระบุว่า การประชุมในลักษณะนี้ถูกใช้มาไม่ถึง 12 ครั้งนับตั้งแต่ถูกกำหนดครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1950 โดยครั้งสุดท้ายที่มีการประชุมเพื่อออกมติ “ปรองดองเพื่อสันติภาพ” คือเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ในปีค.ศ. 1982 โดยเป็นมติที่เกี่ยวกับอิสราเอล

  • รายงานโดย ผู้สื่อข่าววีโอเอ Margaret Besheer