วิเคราะห์: มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจของ ‘ทรัมป์’ อาจไม่ได้ผลในระยะยาว

Trump

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พยายามใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจกับหลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา ด้วยวัตถุประสงค์ด้านนโยบายต่างประเทศ

Your browser doesn’t support HTML5

Trump Sanction

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พยายามใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจกับหลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา ด้วยวัตถุประสงค์ด้านนโยบายต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวถึงตัวอย่างที่การใช้แรงกดดันลักษณะนี้ที่ไม่ได้ผลตามต้องการ และยังสร้างผลต่อเนื่องไปบั่นทอนความขัดแย้งของพันธมิตรอเมริกัน

ตัวอย่างเเรกคือประเทศเวเนซูเอลา ซึ่งฝ่ายตรงข้ามประธานาธิบดีนิโคลาส์ มาดูโร พยายามโค่นอำนาจผู้นำรายนี้จากพรรคสังคมนิคม สหรัฐฯ ใช้การลงโทษทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมน้ำมัน และสนับสนุนนายฮวน กวัยโด้ นักการเมืองหนุ่มให้เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล

อย่างไรก็ตาม นายมาดูโร ยังคงยืนหยัดควบคุมการบริหารประเทศอยู่ แม้จะเกิดแรงต่อต้านที่มากขึ้นเรื่อยๆ

Anti-government protesters, one carrying a homemade mortar, take cover as security forces fire tear gas to disperse demonstrators in Caracas, Venezuela, May 1, 2019.

นักวิเคราะห์กล่าวว่า หากสหรัฐฯ ไม่ต้องการใช้มาตรการทางทหาร เครื่องมือที่สหรัฐฯ มีอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างที่จะใช้ได้อย่างจำกัด ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเวเนซูเอลา

ริชาร์ด ไวท์ซ แห่งสถาบัน Hudson Institute กล่าวว่า การใช้เเนวทางกลาโหมจะมีต้นทุนสูง แม้ว่าอาจได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนกว่า และเมื่อไม่มีการส่งทหารไปประเทศอื่นเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่สหรัฐฯต้องการ อเมริกาก็ต้องยอมรับประสิทธิภาพของแนวทางปัจจุบันที่มีอย่างจำกัด

SEE ALSO: รมต.ต่างประเทศสหรัฐฯ ขู่! อาจใช้กำลังทหารในเวเนซูเอลา

ตัวอย่างอีกประการหนึ่งเห็นได้ในประเทศคิวบา

เมื่อวันอังคาร ประธานาธิดีทรัมป์ขู่ว่าจะใช้มาตรการไม่ขายสินค้าให้คิวบา เนื่องจากเขาเห็นว่าคิวบาให้การสนับสนุนนายมาดูโร ด้วยการส่งทหาร 20,000 คนไปยังเวเนซูเอลา

A Cuban soldier carries a cartoon depiction of President Donald Trump during the annual May Day parade held in Revolution Square in Havana, Cuba, May 1, 2019.

ก่อนหน้านี้ไม่นาน สหรัฐฯ ประกาศมาตรการลงโทษคิวบา โดยเตรียมให้บริษัทอเมริกันสามารถฟ้องร้องบริษัทต่างประเทศในคิวบาได้ จากการที่บริษัทต่างชาติเหล่านั้นรับทรัพย์สินที่รัฐบาลคิวบาในอดีตยึดมาจากธุรกิจอเมริกันช่วง 20-30 ปีก่อน

อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างประเทศเหล่านั้นที่ได้กลายเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของธุรกิจอเมริกันที่ถูกยึดมีสัญชาติเป็นของเเคนาดาและยุโรป ซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ

วิลเลียม ไรน์ช แห่งหน่วยงาน Center for Strategic and International Studies กล่าวว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ เดินตามแนวทางที่เห็นชัดในช่วงทศวรรษที่ 90 ที่เห็นการใช้การบีบบังคับให้ประเทศอื่นๆ ตัดสินใจว่าจะอยู่ข้างสหรัฐฯ หรือฝ่ายอื่น

SEE ALSO: สหรัฐฯ ปัดฝุ่นกฏหมายกดดันเศรษฐกิจคิวบา

และในเรื่องของอิหร่าน สหรัฐฯ เตือนประเทศพันธมิตร เช่น เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ว่าไม่ควรซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่าน เพราะเป็นการฝ่าฝืนมาตรการลงโทษ

แม้การลงโทษอิหร่านทำให้สหรัฐฯ ต้องกระทบกระทั่งทางการทูตกับพันธมิตรบางรายบ้าง ยังมีบางประเทศช่วยอเมริกากดดันอิหร่าน

SEE ALSO: สหรัฐฯ เริ่มต้นมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจอิหร่านรอบใหม่

ริชาร์ด ไวท์ซ จาก Hudson Institute กล่าวว่า ประเทศยุโรปบางประเทศยอมยุติการซื้อขายสินค้ากับอิหร่าน และแม้ว่าประเทศยุโรปเหล่านี้จะไม่เห็นด้วยกับนโยบายโดยรวมของประธานาธิบดีทรัมป์ แต่ก็ไม่เคยมีมาตรการที่เเข็งขันที่เป็นการเผชิญหน้ากับสหรัฐฯ

ท้ายสุดเป็นตัวอย่างจากเกาหลีเหนือ ซึ่งการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลเปียงยาง เพื่อให้มีการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ยังคงไม่บรรลุวัตถุประสงค์

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ทางตันตอนนี้เกิดขึ้นเมื่ออเมริกาต้องการให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธนิวเคลียร์อย่างเด็ดขาด ก่อนที่อเมริกาและพันธมิตรจะผ่อนปรนมาตรการลงโทษ

SEE ALSO: สหรัฐฯ ยืนยันจะไม่ยอมรับการลดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือแบบ 'ค่อยเป็นค่อยไป'

เมื่อพิจารณาถึงตัวอย่างเหล่านี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า มาตรการลงโทษที่สร้างแรงกดดันต่อประเทศที่อเมริกาต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ได้ผลอย่างจำกัด

และเมื่อเวลาผ่านไป ประเทศเหล่านั้นจะพยายามหาช่องว่างเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ ซึ่งหมายความว่าประสิทธิภาพของมาตรการทางเศรษฐกิจอาจถดถอยลงเรื่อยๆ ได้