‘ทรัมป์’ ตกอยู่ในวังวนการสืบสวนหลายด้าน ขณะเล็งลงเลือกตั้ง ปธน. อีกครั้ง  

Former President Donald Trump departs Trump Tower, Aug. 10, 2022, in New York, on his way to the New York attorney general's office for a deposition in a civil investigation.

อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังเผชิญกับสารพัดการสืบสวนคดีอาญาตามกฎหมายรัฐบาลกลางสหรัฐฯ และตามกฎหมายระดับรัฐ จากการเคลื่อนไหวของเขาต่าง ๆ ของเขาที่พยายามพลิกผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 ที่เขาพ่ายแพ้แก่โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต

การสืบสวนเหล่านี้มีขึ้นขณะที่ทรัมป์ส่งสัญญาณว่า เขาอาจลงชิงตำแหน่ง ปธน. อีกครั้งในปี 2024 และเมื่อวันจันทร์ หน่วยงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ เข้าค้นบ้านของทรัมป์ที่ มาร์-อะ-ลาโก ในรัฐฟลอริดา โดยมีรายงานว่า เอฟบีไอต้องการหาเอกสารลับที่ทรัมป์อาจนำออกมาจากทำเนียบขาวเมื่อปีที่แล้ว

การค้นบ้านครั้งนี้ได้รับอนุมัติจากศาล และอาจเป็นมาตรการขั้นสูงสุดของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดและเหตุผลของหมายค้นนี้ ขณะที่ทำเนียบขาวระบุว่า ไม่ได้รับแจ้งก่อนที่เอฟบีไอจะดำเนินการดังกล่าว

ทั้งนี้ ตามกฎหมาย Presidential Records Act ปี 1978 บันทึกทางการของ ปธน. และรอง ปธน. ทั้งหมดเป็นของสาธารณะ ไม่ใช่สมบัติส่วนตัว แม้หลังจากพวกเขาจะออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม

Police direct traffic outside an entrance to former President Donald Trump's Mar-a-Lago estate, in Palm Beach, Fla., Aug. 8, 2022.

หลังออกจากตำแหน่งแล้วราวหนึ่งปี ทรัมป์ส่งเอกสาร 15 กล่อง ซึ่งเป็นเอกสารในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง ปธน. ให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ โดยมีรายงานว่าเอกสารบางส่วนเป็นเอกสารลับ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ที่ค้นสำนักงานและเปิดตู้เซฟของทรัมป์ในมาร์-อะ-ลาโก ขนเอกสารออกมาอีกเพิ่มเติมจากที่ทรัมป์เคยส่งคืนให้ทางการ

ทรัมป์แสดงท่าทีดูแคลนการสืบสวนดังกล่าว เช่นเดียวกับการสืบสวนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 ซึ่งอาจทำให้เขาลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2024 ไม่ได้

อดีตผู้นำสหรัฐฯ กล่าวในแถลงการณ์ว่า “นี่เป็นช่วงเวลาที่มืดมิดของประเทศของเรา ขณะที่บ้านมาร์-อะ-ลาโก อันสวยงามของผม ที่เมืองปาล์มบีช รัฐฟอลริดา กำลังถูกค้นและยึดโดยเจ้าหน้าที่เอฟบีไอกลุ่มใหญ่” และ “ไม่เคยเกิดเหตุเช่นนี้กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาก่อน”

ทรัมป์ยังกล่าวต่อในแถลงการณ์ว่า การค้นนี้เป็นผลจาก “การดำเนินคดีที่ผิดพลาด การติดอาวุธให้ระบบยุติธรรม และการโจมตีโดยพวกเดโมแครตซ้ายจัดที่ไม่ต้องการให้ผมลงชิงตำแหน่งในปี 2024 เสียเหลือเกิน” และเหตุค้นบ้านนี้ “ควรเกิดขึ้นแค่ในประเทศโลกที่สามที่ล่มสลาย น่าเศร้าที่อเมริกากลายเป็นประเทศกลุ่มนั้นแล้ว มีการทุจริตมากในระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อน”

ทรัมป์ยังคงได้รับความนิยมกลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงของพรรคริพับลิกัน แม้ว่าจะมีสมาชิกพรรคริพับลิกันคนอื่น ๆ ส่งสัญญาณว่าจะลงชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคริพับลิกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เช่นกัน เช่น อดีตรอง ปธน. ไมค์ เพนซ์, รอน ดีซานติส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา เป็นต้น

FILE - A video of President Donald Trump is shown on a screen, as the House select committee investigating the January 6 attack on the U.S. Capitol holds a hearing at the Capitol in Washington, July 21, 2022.

การสืบสวนที่ยังเดินหน้าต่อไป

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังสืบสวนบทบาทของทรัมป์ในการปลุกปั่นเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2021 โดยเหตุดังกล่าว ผู้สนับสนุนทรัมป์ราว 2,000 คน ค้นเข้าอาคารเพื่อขัดขวางสมาชิกสภาไม่ให้รับรองชัยชนะเลือกตั้งของไบเดนก่อนเกิดเหตุ ทรัมป์กล่าวให้ผู้สนับสนุนของเขาเดินไปยังอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ และ “สู้เต็มที่”

แม้เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวและวิลเลียม บาร์ รัฐมนตรียุติธรรมในขณะนั้น จะกล่าวกับทรัมป์หลายครั้งว่าไม่มีหลักฐานการโกงการนับคะแนนมากพอที่จะพลิกผลการเลือกตั้งได้ แต่ทรัมป์ก็ยังเรียกร้องให้เพนซ์ยุติกระบวนการรับรองการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง ที่ลงคะแนนให้ไบเดน อย่างไรก็ตาม เพนซ์ไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว หลังได้รับการแนะนำว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจเขาในการยุติกระบวนการนั้น

เจ้าหน้าที่ยังสอบสวนบทบาทของทรัมป์ในการวางแผนเสนอชื่อคณะผู้เลือกตั้งในรัฐที่เขาแพ้การเลือกตั้ง เพื่อหวังนำมาแทนที่คณะผู้เลือกตั้งอย่างเป็นทางการที่จะลงคะแนนให้ไบเดนตามผลการเลือกตั้งในรัฐดังกล่าว

ทั้งนี้ ตามกฎหมายของสหรัฐฯ ผลการเลือกตั้งในแต่ละรัฐของประเทศจะเป็นตัวตัดสินผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ไม่ใช่คะแนนเลือกตั้งโดยรวมทั่วประเทศ และจำนวนคณะผู้เลือกตั้งในแต่ละรัฐจะเป็นสัดส่วนตามจำนวนประชากรในรัฐนั้น ๆ ทำให้รัฐที่มีขนาดใหญ่จะมีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมาก โดยผู้ก่อเหตุค้นอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ในชณะนั้น ต้องการขัดขวางไม่ให้สมาชิกสภารับรองผลการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง ที่ลงคะแนนให้ไบเดนชนะด้วยคะแนน 306-232

นอกจากนี้ อัยการรัฐจอร์เจียยังสืบสวนกรณีที่ทรัมป์อาจจูงใจให้มีการโกงเลือกตั้ง โดยในบทสนทนาเมื่อวันที่ 2 ม.ค. ปีที่แล้ว ทรัมป์ขอให้เลขานุการรัฐจอร์เจีย “หา” คะแนนเสียงให้เขา 11,780 เสียง ซึ่งเป็นจำนวนคะแนนมากกว่าคะแนนที่ไบเดนชนะเขาไปหนึ่งคะแนน จากบัตรลงคะแนน 5 ล้านใบในรัฐจอร์เจีย โดยทรัมป์กล่าวระหว่างการสนทนาที่ถูกบันทึกว่า “ผมแค่ต้องการ 11,000 คะแนน เพื่อน ผมต้องการ 11,000 คะแนนนะ”

  • ที่มา: วีโอเอ