นักวิจัยระบุพันธุ์สัตว์ได้จากร่องรอยพันธุกรรมในแหล่งที่อยู่

A male elephant stands up wearing a newly-fitted GPS-tracking collar around his neck, during an elephant-collaring operation near Kajiado, in southern Kenya Tuesday, Dec. 3, 2013. Teams from the Kenya Wildlife Service (KWS) and the International Fund for

Your browser doesn’t support HTML5

นักวิจัยศึกษาพันธุ์สัตว์จากยีนในสภาพเเวดล้อม

มาร์ค สโตเคิล (Mark Stoekle) นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน เก็บตัวอย่างน้ำจากแม่น้ำ East River ของนิวยอร์ก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปลาที่อาศัยในเเม่น้ำแห่งนี้

เขาได้นำตัวอย่างน้ำที่ได้บรรจุลงในขวดพลาสติกเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องทดลอง เพื่อค้นหาสิ่งที่เขาเรียกว่า Environmental DNA หรือร่องรอยทางพันธุกรรมของสัตว์ที่พบในสภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่

เขากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อนำไปวิเคราะห์หาดีเอ็นเอของปลา เเละเรียนรู้ว่ามีปลาชนิดใดบ้างอาศัยในเเม่น้ำ

สโตเคิลเเละทีมนักศึกษาของเขากำลังพยายามค้นหาว่า มีปลากลับมาอาศัยในเเม่น้ำ East River หรือไม่ หลังจากที่เเม่น้ำแห่งนี้เคยมีปัญหามลพิษรุนแรงเเละในตัวอย่างน้ำ ทีมงานของเขาพบเซลล์เกล็ดปลาเเละเซลล์หนังปลาที่บ่งชี้ร่องรอยทางพันธุกรรมของปลา

เขากล่าวว่า ในตัวอย่างน้ำจากเเม่น้ำหนึ่งถ้วย มองเห็นละอองเล็กๆ ปะปนอยู่ในน้ำ และเมื่อทีมงานสกัดเอาดีเอ็นเอออกมาจากน้ำแล้ว ก็จะนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีแบบเดียวกันกับการวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอจากจุดเกิดเหตุอาชญากรรม

ในอีกฟากหนึ่งของโลก ในเเม่น้ำสายหนึ่งที่เวียดนาม ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังค้นหาร่องรอยทางดีเอ็นเอของตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Yangtze soft shelled turtle) ซึ่งเป็นเต่าสายพันธุ์หายากที่พบเฉพาะบางส่วนของเอเชียเท่านั้น

เทรซี่ ไซมอน แห่งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าเเละสวนสัตว์เขตบรองซ์ กล่าวว่าทีมงานสามารถใช้ดีเอ็นเอทางสิ่งเเวดล้อมเป็นเครื่องมือพิสูจน์หาหลักฐานทางพันธุกรรมได้ เเม้ว่าจะมองไม่เห็นตัวสัตว์ก็ตาม หรืออาจเป็นสัตว์ชนิดที่มองเห็นตัวได้ยาก นักวิทยาศาสตร์สามารถจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากสภาพเเวดล้อมเพื่อนำไปวิเคราะห์และยืนยันได้ว่ามีสัตว์สายพันธุ์นั้นๆ อาศัยอยู่ในจุดใดบ้าง โดยเฉพาะในเเหล่งน้ำที่ไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน

เทรซี่ ไซมอน กล่าวอีกว่า วิธีการศึกษาพันธุกรรมสัตว์ในสิ่งเเวดล้อมนี้สร้างความหวังว่าอาจจะช่วยค้นพบตะพาบยักษ์แยงซีเกียงเพิ่มเติม ซึ่งจะนำไปสู่การหาทางกอบกู้สัตว์ชนิดนี้จากการเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

การเข้าใจหลักฐานทางดีเอ็นเอที่สัตว์ทิ้งเอาไว้ในสิ่งเเวดล้อมที่มีขนาดเล็กมาจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนี้ อาจช่วยนักวิทยาศาสตร์สามารถพิทักษ์สัตว์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ในอนาคต

(ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน ถ่ายทอดรายงาน)