ข้อดี-ข้อเสีย ของข้อตกลงการค้าเสรี TPP ที่สหรัฐและอีก 11 ประเทศตกลงกันได้เมื่อเร็วๆ นี้

FILE - A protester shouts slogans during a rally against the Trans-Pacific Partnership (TPP) in Tokyo.

ในสหรัฐฯกำลังมีการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งข้อตกลงนี้ โดยเฉพาะในเรื่องที่อาจจะมีการสูญเสียตำแหน่งงานในประเทศ และผลกระทบเชิงลบด้านอื่นๆ

Your browser doesn’t support HTML5

TPP Pro Con

สหรัฐและบรรดาประเทศคู่สัญญา TPP (Trans Pacific Partnership หรือ TPP)​เริ่มการเจรจาในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 แล้ว และถ้าคู่สัญญาทุกประเทศให้ความเห็นชอบต่อข้อตกลงนี้ ก็หมายความว่า TPP ครอบคลุม 40% ของระบบเศรษฐกิจโลก

ในสหรัฐฯกำลังมีการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งข้อตกลงนี้ โดยเฉพาะในเรื่องที่อาจจะมีการสูญเสียตำแหน่งงานในประเทศ และผลกระทบเชิงลบด้านอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมา

ประเด็นหนึ่งที่นักวิชาการอย่างศาสตราจารย์ Ralph Gomory อดีตเจ้าหน้าที่ของบรรษัท IBM และเวลานี้สอนอยู่ที่ New York University ไม่เห็นด้วย คือกระบวนการตัดสินความขัดแย้งระหว่างประเทศคู่สัญญาของ TPP โดยกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีสมาชิก 3 คน

ศจ. Ralph Gomory ให้ความเห็นว่า กระบวนการที่ว่านี้ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะให้คนสองสามคนที่มาจากการแต่งตั้งเป็นผู้ตัดสิน

นักวิชาการผู้นี้ยกตัวอย่างเรื่องผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ซึ่งกฎหมายสหรัฐกำหนดให้ระบุแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์นี้ไว้ในฉลาก เช่นว่ามาจากประเทศเม็กซิโก แต่ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการในเรื่องนี้ ตัดสินว่าไม่ต้องระบุแหล่งที่มา รัฐสภาของสหรัฐก็จำต้องปล่อยให้เลิกใช้ฉลากระบุแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์นั้น ในขณะที่ประชาชนในประเทศเป็นจำนวนมากเรียกร้องให้ใช้ฉลากระบุแหล่งที่มา

Peter Costa นักค้าหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ในนครนิวยอร์ค มีความเห็นว่าข้อตกลงฉบับนี้ ให้ประโยชน์ประเทศคู่ค้าที่เล็กกว่า ในขณะที่สหรัฐจะไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในเรื่องการเงิน ซึ่งนักค้าหุ้นผู้นี้บอกว่า สถาบันการเงินใหญ่ๆของญี่ปุ่นจะได้รับประโยชน์อย่างมาก

ในอีกด้านหนึ่ง Peter Cardillo กรรมการผู้จัดการของ Rockwell Global New York บอกกับ Voice of America ว่า ข้อตกลงฉบับนี้เป็นข้อตกลงที่ดี เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งศาสตราจารย์ Minyaun Zhao ของมหาวิทยาลัย Pennsylvania, Wharton School เห็นด้วย

ศจ. Zhao ให้ความเห็นต่อไปด้วยว่า ถ้ามองจากแง่มุมการค้าแล้ว TPP เป็นการทดลองที่น่าสนใจ และโลกกำลังรอดูว่า จะนำข้อตกลงนี้มาใช้ในทางปฏิบัติกันอย่างไร นักวิชาการของมหาวิทยาลัย Pennsylvania ผู้นี้เชื่อด้วยว่า ในที่สุดแล้ว TPP จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดกันไว้

ส่วนกระบวนการให้ความเห็นชอบข้อตกลง TPP ของสหรัฐ มีความสลับซับซ้อนทีเดียว โดยจะต้องตีพิมพ์ข้อความในข้อตกลงให้สาธารณชนได้รับทราบ และประธานาธิบดีจะต้องแจ้งให้รัฐสภารับทราบความตั้งใจที่จะลงนามในข้อตกลงฉบับนี้

จากนั้นรัฐสภาและฝ่ายบริหารจะต้องเจรจากันในรายละเอียดทั้งทางกฎหมายและเชิงปฏิบัติในการนำข้อตกลงนี้มาบังคับใช้

เมื่อตกลงกันได้แล้ว รัฐสภาจึงจะลงคะแนนเสียงรับหรือไม่รับข้อตกลงทั้งฉบับ โดยจะขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆไม่ได้เลย

ประเทศที่เป็นสมาชิกอยู่ใน TPP คือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลย์เซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐ และเวียดนาม

ขอบข่ายของข้อตกลงรวมถึงสินค้าผู้บริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา กฎข้อบังคับสำหรับการค้าขายทางอินเทอร์เน็ต หรือ ecommerce การส่งเสริมสิทธิของแรงงาน โดยเฉพาะการกำจัดแรงงานเด็ก ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองมนุษย์ สัตว์ หรือพืช หรือสุขภาพอนามัย

TPP Countries and Other Global Trade Agreements