ผู้ที่อยู่ในซีกโลกเหนือเริ่มเห็นความสดใสของฝนดาวตก 'เพอร์เซอิดส์' ด้วยตาเปล่าในช่วงที่ชัดเจนที่สุดตอนรุ่งสางวันจันทร์
นักดาราศาสตร์ ดอน โพลเเลคโค แห่งมหาวิทยาลัยวอริค (University of Warwick) กล่าวว่าฝนดาวตกครั้งนี้จะจัดจ้านด้วยสีน้ำเงินเปล่งปลั่ง
'เพอร์เซอิดส์' เเวะเวียนมาทุกปี และเริ่มต้นเผยโฉมบนท้องฟ้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงวันที่ 1 กันยายน โดยมี ดาวตกกว่า 50 ดวงเคลื่อนผ่านทุก ๆ 1 ชั่วโมง
ตามปกติฝนดาวตกเกิดจากเศษของดาวหาง สำหรับฝนดาวตก 'เพอร์เซอิดส์' มีที่มาจากดาวตกที่ชื่อ 109พี/สวิฟต์-ทุตเติล (109/Swift-Tuttle)
เเสงของฝนดาวตกที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มาจากความร้อนที่วัตถุเสียดสีกับอากาศเมื่อเคลื่อนเข้าใกล้โลก ขนาดของวัตถุเหล่านี้มีตั้งเเต่ฝุ่นเล็ก ๆ ไปจนถึงก้อนหินขนาดใหญ่
ฝนดาวตก 'เพอร์เซอิดส์' เป็นที่ถูกพูดถึงเพราะขนาดของเศษวัตถุที่ใหญ่ ซึ่ง บิล คุกแห่งองค์กรอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซ่า กล่าวว่ามันอาจมีลักษณะคล้าย "ลูกไฟขนาดใหญ่" หลาย ๆ ลูก
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ประชากรซีกโลกเหนืออยู่ในจุดที่เหมาะสมที่สุด และเวลาที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ชัดที่สุดปีนี้ เป็นตอนที่พระจันทร์เสี้ยว ที่ระดับเต็มดวงเพียง 44%
สำหรับคนที่รอคอยฝนดาวตกกลุ่มต่อไป ก็สามารถเเหงนขึ้นมองหาปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ในคืนก่อนช่วงวันฮัลโลวัน เพราะฝนดาวตก 'โอเรียนนิดส์' จะเเวะผ่านโลกตอนกลางเดือนตุลาคม
- ที่มา: เอพี