‘นิวยอร์กยุคโควิด’ นักศึกษาไทยแบ่งปันประสบการณ์การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่

Thai students at Columbia University, Baruch College and NYU

Your browser doesn’t support HTML5

Thai Students in NYC During Pandemic


เมื่อพูดถึงนครนิวยอร์กก่อนการระบาดของโควิด-19 หลายคนก็จะนึกถึงบรรยากาศที่คึกคัก สถานที่ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยแสงสีและผู้คนที่พลุกพล่าน เดินสวนกับไปมาด้วยความเร่งรีบ อย่างย่านไทมส์ สแควร์ แต่สิ่งเหล่านั้นได้หายไปจากนิวยอร์กเป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เข้มงวด

ในโลกที่เปลี่ยนแปลง วิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในสหรัฐ ก็ถูกปรับตามไปด้วย ในรายงานพิเศษวันนี้ วีโอเอ ไทย ได้พูดคุยกับนักศึกษาไทยสามคนในนิวยอร์กถึงประสบการณ์ในรูปแบบที่ต่างออกไป

ใช้ชีวิตสไตล์ ‘New Normal’

ชมพูนุท โชตมั่นคงสิน หรือ เคเค นักศึกษาไทยในนิวยอร์กจาก Baruch College คณะการตลาดดิจิตอล เล่าให้ฟังว่าความสนุกของการใช้ชีวิตในเมืองนั้นลดลงอย่างมากในยุคโควิด-19

“เมื่อก่อนมันจะทำอะไรสะดวก แต่พอโควิดมา มันก็ต้องล็อกดาวน์ มันก็ทำอะไรลำบากมากๆ ก็คืออยู่แต่บ้าน เราว่า experience ก็หายไป 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์เลยแหละ เพราะว่าร้านอาหารก็ปิด โน่นนี่นั่นก็ปิด ไปช้อปปิ้งร้านก็ปิดเร็วขึ้น”

Your browser doesn’t support HTML5

เปิดประสบการณ์ชีวิตนักศึกษาไทยในนิวยอร์ก ยุคโควิด-19

มหานครนิวยอร์กเป็นถือเป็นอีกจุดหนึ่งในสหรัฐฯที่เกิดเหตุการใช้ความรุนเเรงหรือการเหยียดชาวเอเชียหลายครั้ง ท่ามกลางวาทะกรรมที่โยงคนเอเชียกับการระบาดของโควิด-19 ตั้งเเต่เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งชมพูนุทก็เจอเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวกับตัวเองครั้งหนึ่งในขณะที่ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินครั้งหนึ่ง

Nagorn Promma sits on the steps in front of NYU Stern School of Business.

“จริงๆ เรื่องการเหยียดผิวคนเอเชียก็มีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วนะ แต่พอมาเป็นโควิดเนี่ย เรารู้สึกว่ามันแรงขึ้น ส่วนตัวนะ ไม่เคยเจออะไรรุนแรง แต่ว่าล่าสุดเรานั่งรถไฟใต้ดิน ก็จะมีคล้ายๆ homeless (คนเร่ร่อน) เค้าก็มาสะกิดๆแล้วก็มาถามว่าเราอยากจะไปฆ่าเค้าเหรอ ทั้งๆที่เราเล่นก็มือถืออยู่เฉยๆ เราก็พยายามไม่สนใจ เพราะเราก็ไม่อยากจะไปตอบโต้ เค้าสติไม่ดี แล้วคือทุกคนก็มองมาทางเราแต่ก็ไม่มีใครช่วย...เพราะว่าเราหน้าตาจีนๆ เป็นเอเชีย เค้าก็แยกไม่ออกหรอก เธอไทย เธอเวียดนาม อะไรอย่างยี้ เป็นคนเอเชียก็คือโดนเหมา”

แต่สำหรับ ถิรคุณ รติรัตนานนท์ หรือ ถิ นักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัย Columbia สาขาวิชาการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ความสวยงามของนครนิวยอร์กยังคงมีให้หลายคนสัมผัสอยู่...แม้จะเป็นในอีกรูปแบบหนึ่งก็ตาม

Domino Park in Brooklyn

“ผังเมือง ทั้งย่านต่างๆอะไรอย่างเงี้ยะ คือต่อให้คนน้อยลงมันก็ยังเป็นตัวของมันอยู่ ก็คิดว่าจุดตรงนี้แหละที่ยังดึงดูดให้คนเข้ามาในเมืองอยู่ อย่าง Central Park อะไรพวกนี้ คนก็ยังออกไปปกติ ด้วยความที่เป็นปารค์ มันเป็น open space (พื้นที่เปิดกว้าง) คนก็ค่อนข้าง social distancing (เว้นระยะห่างทางสังคม) เค้าก็ไม่ได้ worry(กังวล) อะไรตรงนี้มาก พวก Chelsea West Village ก็คนก็น้อยลงน่าจะเยอะ ตอนกลางคืน วันเสาร์อาทิตย์ก็ค่อนข้างเงียบ แต่มันก็มีคาแร็กเตอร์ในแบบของมัน

ประสบการณ์เรียนออนไลน์กับมหาวิทยาชั้นนำในนิวยอร์ก

เมื่อพูดถึงด้านการเรียนออนไลน์ ณกรณ์ พรหมมะ หรือ กรณ์ นักศึกษาไทย สาขาวิชาการป้องกันการคุกคามทางอาชญากรรมออนไลน์ จากมหาวิทยาลัย New York University หรือ ที่หลายๆ คนรู้จักในชื่อ NYU ได้มองว่าคุณภาพการศึกษายังเข้มข้นอยู่ โดยอธิบายว่า การปรับรูปแบบชั้นเรียนเป็นออนไลน์นั้นได้สร้างความท้าทายให้คิดวิธีแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง

“ขอบคุณอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย เพราะอาจารย์มีความสามารถมาก มีการปรับรูปแบบการเรียนให้มีประสิทธิภาพมาก โดยมีการปรับใช้เทคโนโลยีเข้ามา อย่างเช่น ในบางครั้งอาจารย์จะให้โจทย์มาว่าเราเป็นหน่วยงานที่ต้องให้ความช่วยเหลือประเทศนึง แต่เราทำงานอยู่อีกประเทศนึง เพราะฉะนั้นมันเป็นการประยุกต์สถานการณ์...เราก็จะเห็นภาพมากยิ่งขึ้นว่าตัวเราอยู่จุดนึง แล้วสถานที่จริงๆมันอยู่อีกที่นึงเนี่ย เราจะต้องรับมือยังไง"

ซึ่งทั้ง ถิรคุณและชมพูนุท ก็เห็นถึงประโยชน์ในการเรียนออนไลน์เช่นกัน โดยถิรคุณชอบที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่มหาวิทยาลัย ทำให้มีเวลาทบทวนหนังสือมากขึ้น สามารถเรียนผ่านแล็ปท็อปที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย แต่ข้อเสียของคลาสออนไลน์คือเรื่องสมาธิในการเรียน

“จริงๆตอนแรกก็กังวลเหมือนกันครับว่าจะเรียนคลาสออนไลน์ส่วนใหญ่จะไหวรึเปล่า ซึ่งพอเอาเข้าจริงๆแล้วมันก็มีข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือเราไม่ต้อง commute (เดินทาง) มาก เรียนที่ห้อง เรียนที่บ้านได้ workload (การบ้าน) มันก็ยังเหมือนเดิมอยู่ อาจจจะหนักไปหน่อย ข้อเสียอย่างหนึ่งคือเรียนออน์ไลน์คลาสมันก็ค่อนข้างจะโฟกัสลำบาก”

ส่วนชมพูนุทบอกว่าการเรียนออนไลน์ช่วยให้เธอทำวิจัยได้สะดวกขึ้น แต่ก็ลดโอกาสที่จะได้สานสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องเรียนไปพอสมควร

“เราเรียนคลาสที่เป็น marketing research (วิจัยข้อมูลการตลาด) เราต้องทำโฟกัสกรุ๊ป ถ้าเป็นช่วงที่ไม่มีโควิคเราอาจจะต้องลำบาก ต้อง gather (รวบรวม) คนที่จะมาสัมภาษณ์ แต่พอมันเป็น Zoom มันก็ง่ายขึ้น...แต่การที่เรามาในห้องเร็วแล้วจะได้คุยกับเพื่อน คือตอนนี้ก็ไม่มีแล้วไงค่ะ พอเวลาคลาสสตารท์ ก็คือสอนอย่างเดียว เสร็จแล้วพอคลาสจบก็คือทุกคนก็แยกย้าย”

สนใจมาเรียนที่นิวยอร์ก?

ส่วนใครที่สนใจอยากวางแผนมาเรียนมหาวิทยาลัยที่นครนิวยอร์ก นักศึกษาไทยทั้งสามคนก็ได้แสดงความคิดเห็นจากมุมมองที่หลากหลาย โดย ถิรคุณ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Columbia แนะนำให้มาเลยเพราะว่าสถานการณ์โควิดดีขึ้นพอสมควรและประชาชนในสหรัฐก็เริ่มฉีดวัคซีนหลายล้านคนแล้ว

Thirakun Ratirattananont, a Columbia University graduate student

“อยากมาเรียนใช่ไหมครับ ก็มาเลยครับ ภาพที่เราได้รับจากสื่อหรือจากอยู่ในไทยกับแบบของจริงๆอ่ะครับ มันเหมือนอาจจะเป็นแบบแค่มุมมองเดียวที่ เหมือนตอนนั้นเราอาจจะกลัว แต่พอมาถึงจริงๆ มันก็ไม่แย่ขนาดนั้น เพราะงั้นถ้ารู้สึกว่าอยากมากเรียน อยากได้ experience (ประสบการณ์) อะไรใหม่ๆ ก็มาดีกว่าครับ ยิ่งปีนี้เริ่มดีขึ้นมากแล้วและก็เริ่มมีวัคซีนแจกจ่ายแล้ว ที่สังเกตมาคนที่นี่ก็เริ่มใช้ค่อนข้างปกติแล้ว แบบ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์​ ก็คิดว่าถ้าจะสมัครปีนี้หรือว่ารอบถัดไป ก็ยังคุ้มอยู่”

แต่ชมพูนุท จาก Baruch College แนะให้ชะลอการสมัครเข้าเรียนที่นิวยอร์กไปก่อน เธอให้เหตุผลว่าบรรยากาศที่คึกคักของนครนิวยอร์กนั้นยังไม่กลับมาร้อยเปอร์เซ็นต์

“เราไม่แนะนำที่จะมาที่นิวยอร์ก เพราะว่า ตอนนี้คนที่นี่เค้าก็ move out (ย้ายออก) กันไปเยอะมากแล้ว ถ้าอยากมาจริงๆ อยากมา NYU Columbia หรือว่าอะไรประมาณนี้ อยากมาสัมผัสนิวยอร์กซิตี้ไลฟ์อะไรอย่างงี้ อย่าเพิ่งมาเลย แต่มาได้ ปีนี้อย่าง เดือนกันยายนโรงเรียนเราก็จะเปิดเป็น in-person class แต่เรารู้สึกว่าว่าปีหน้าดีกว่านะ”

ส่วน ณกรณ์ จาก NYU แนะว่านิวยอร์กเป็นเมืองที่ยังน่ามาเรียนอยู่ เพราะ มีมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง และมีองคกร์นานาชาตินับร้อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้ที่มาสร้างสัมพันธ์และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากชาวต่างชาติในหลายๆ ประเทศได้

การที่มาที่นิวยอร์กมันมีโอกาสเยอะมาก มีผู้คนเยอะมาก มันมีองค์กรเยอะมาก ซึ่งเวลาเราอยู่เมืองไทย เราอาจจะไม่เห็นภาพว่าที่นี่มันมีโอกาส มันมีคอนเน็คชั่นเยอะมากแค่ไหน ถ้าเป็นไปได้ ถ้าใครมีโอกาสมานิวยอร์กได้ ก็ขอแนะนำให้มา เพราะมันเป็นเมืองที่มีทุกอย่าง ทั้งการศึกษาหรือว่าการผ่อนคลาย และก็มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ

ทั้งนี้ณกรณ์ทิ้งท้ายว่าการเดินเข้าสหรัฐนั้นยังมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโคโรนาไวรัสอยู่ เพราะฉะนั้นใครที่มาก็ควรจะรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งและสามารถดูแลตัวเองเป็น

สถิติการเรียนต่อในสหรัฐอเมริกา

Aerial look of New York's Lower Manhattan Skyline

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อในต่างประเทศ นาย เจมส์ เบอร์เน็ต จาก International Education Solutions (IES) ในประเทศไทยระบุว่า ในแต่ละปีมีนักเรียนไทยราว 15,000 คนเดินทางไปเรียนต่อในประเทศต่างๆ โดยร้อยละ 37 เลือกเดินทางไปสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม จำนวนนักเรียนไทยที่ศึกษาในอเมริกาได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ตามรายงานของสถาบัน Institute of International Education ของสหรัฐฯ