เปิดประสบการณ์นาทีวิกฤตรับมือโควิด กับ 'ดรุณี รัศมีเหลืองอ่อน' พยาบาลชาวไทยในอเมริกา

Members of the clinical staff wear personal protective equipment (PPE) as they care for a patient at the Intensive Care unit at Royal Papworth Hospital in Cambridge, on May 5, 2020. - NHS staff wear an enhanced level of PPE in higher risk areas such as cr

รายงาน ‘ถอดประสบการณ์รับมือโควิด’ ในวาระครบรอบ 1 ปีการระบาดใหญ่ของกับ ดรุณี รัศมีเหลืองอ่อน พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย แผนกโควิด ในรัฐเวอร์จิเนีย สะท้อนช่วงวิกฤตที่สุดในการรับมือกับผู้ป่วยโควิด-19 ช่วงเริ่มต้นการระบาดที่เต็มไปด้วยความสับสนและข้อจำกัดขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อล้นโรงพยาบาล

Your browser doesn’t support HTML5

Thai Frontline Health Workers Pt. 2


“ที่ close call (เฉียดมากๆ) สำหรับแจ็คกี้ที่จำได้ทุกวันนี้คือเคสแรกเลยนะที่เป็นคนแก่แล้วมาจากเนิร์สซิ่งโฮม แต่เขาไม่มีอาการเลยนะไม่มีอาการเลยสักนิดเลย แต่เราสังเกตว่าเขาไอเยอะ และเพื่อนเพื่อนที่สนิทกันก็บอกว่าคนไข้คนนี้ โควิดแน่เลย มาจากใน เนิร์สซิ่ง โฮม อายุอย่างนี้ แต่อาจจะไม่มีอาการ รอดู .. “

บทเรียนครั้งสำคัญ ของ ดรุณี หรือ แจ๊คกี้ รัศมีเหลืองอ่อน พยาบาลชาวไทย ในโรงพยาบาลเรสตัน รัฐเวอร์จิเนีย (Reston Hospital Center) ที่โชคดีรอดจากการติดเชื้อโควิด-19 จากผู้ป่วยรายหนึ่งไปอย่างหวุดหวิดในช่วงเริ่มต้นการระบาดใหญ่เมื่อ 1 ปีก่อน

“แต่เคสนั้นปรากฏว่า เคสนั้นคนไข้เสีย..คนไข้เสียชีวิต เสียชีวิตวันรุ่งขึ้น แล้วมันกลายเป็น เรื่องใหญ่ มากเลยเพราะว่าเพื่อนที่ติดก็ติดจากคนไข้คนนั้น เพื่อนตอนหลัง สองคนเพื่อนสนิท (พยาบาล) ก็ติดจากคนไข้คนนั้น และโชคดีตรงที่ปกติเราจะนั่งทานข้าวด้วยกัน 3 คนเป็นทีมกันเพราะว่าวันนั้นได้หยุดเลยไม่ได้เจอเพื่อน แล้วพอดี หลังจากนั้นเพื่อนติดเพื่อนหยุดต่อเลยไม่ได้เจอกันกับเพื่อนเราก็เลยรอดไป เรารอดอยู่คนเดียวคนอื่นโดนหมดทั้งนี้แผนก เรารอดคนเดียว กลับมาหนูสวดมนต์สวดมนต์มากตั้งแต่นั้นมา ก็เลยแบบไม่ไว้ใจเลยจะใส่ชุดป้องกัน หน้ากากเต็มยศตลอด ใส่จนทุกวันนี้ก็ใส่”

Registered nurses Kyanna Barboza, right, tends to a COVID-19 patient as Kobie Walsh puts on her PPE at St. Joseph Hospital in Orange, Calif. Thursday, Jan. 7, 2021. California health authorities reported Thursday a record two-day total of 1,042 coronaviru

โรคอุบัติใหม่ ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสที่ยังมีข้อมูลด้านการรักษาน้อยมากในขณะเริ่มต้นการระบาด ทำให้การรับมือในช่วงแรกเป็นไปด้วยความสับสน และเต็มไปด้วยข้อจำกัด ทั้งแนวทางคัดกรองผู้ป่วย การจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน หรือ การตรวจหาผู้ติดเชื้อ

“แล้วก็ตอนนั้นพวกชุดทดสอบไว้ให้คนไข้ก็ไม่เยอะ ดังนั้นเขาจะเลือกเป็นรายกรณีไป ถ้ามีไข้ หรือว่ามีอาการจริงๆ เขาถึงจะตรวจ แต่ว่าตอนนั้นเรายังไม่รู้เกี่ยวกับพวกโควิดเยอะ เพราะว่าบางคนไม่โชว์อาการ ดังนั้นคนที่เข้ามาแล้วไม่แสดงอาการก็ไม่ได้อยู่ในห้องคัดแยก (isolation) ใช่ไหมเราก็ไม่รู้จนกระทั่งเขามาอีกสัก 3-4 วันแล้วมาโชว์อาการนี้เขามา โอ้โห ! contaminate (ปะปน) ไปกี่คนแล้วเนี่ย พวกเราโดนไปกี่คนแล้ว..

Virus Outbreak Washington

..ยากมากเพราะว่าดูไม่ออกเลยแล้วคนไข้ที่ไม่มีอาการเยอะมาก และบางทีเขาไม่ตรวจนะถ้าไม่มีอาการ นอกจากว่าบางคนจะต้องผ่าตัด หรือ ต้องมีอะไรสักอย่างเนี่ยเขาถึงจะตรวจโควิดให้ หรือถ้าไม่ใช่อาการนี้ บางคนบางคนเขาก็พูดพูดยากมากเลย เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเราจะคาดหวังอะไร เพราะไปกันหลายเพราะว่าเหมือนกับว่าเกณฑ์ (criteria) เปลี่ยนทุกวันน่ะ กฏมันเปลี่ยนทุกวัน เป็นไข้นะ แบบท้องเสียนะ หายใจไม่ออกนะอะไรอย่างนี้”

ดรุณี ยอมรับว่า การขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ PPE ในช่วงแรก แต่กลับต้องรับมือกับผู้ป่วยโควิดล้นโรงพยาบาล มีส่วนทำให้เจ้าหน้าที่หลายคนทำงานด้วยความกลัว และความกังวล

“มันกลัวค่ะ ลึกๆ ก็ยังกลัว ถ้าจะบอกว่าไม่กลัวก็คงยังไม่ใช่ ก็ยังมีกลัวเพราะว่าขึ้นชื่อว่าติดแล้วเราเห็นกับเพื่อนสนิทที่ติดมาแล้วเพื่อน ไปนอนห้องไอซียูเกือบไม่รอด เพื่อนหลายคนที่สนิทอ่ะ แล้วเขาเป็น เขาก็พูดเหมือนกันเลยว่าเขาไม่คิดว่าเขาจะรอด แล้วเราคิดว่า แล้วเราตอนช่วงนั้นก็อยู่คนเดียวถ้าเราเป็นอะไรขึ้นมาเราใครจะช่วยเราจะรอดไหมเนี่ยกลัวค่ะตอนนั้น...

Darunee (Jackie) Rasamelougon is a nurse technician at Reston Hospital Center in Virginia. (Courtesy Darunee (Jackie) Rasamelougon)

..มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เปลี่ยนทุกอย่างเลยก็คือตอนที่มีคนให้คนหนึ่งแล้วต้องช่วยเขาไปเข้าห้องน้ำ ใช่เพราะว่าเขาเดินไม่ไหว เพราะออกซิเจนเครื่องช่วยหายใจเป็นแบบแรงดันสูง (High Flow) แค่ลุกจากเตียงเลยเขาก็แทบจะเป็นลมเลย ..พอช่วยเขาไงเขาก็ช่วยเขากลับไปนั่งที่เตียง เขาก็เริ่มร้องไห้บอกว่าเขาจะรอดกลับไปไหม เขาจะได้เห็นครอบครัวอีกไหม เขากลัว เขาเหงา แบบนี้ค่ะ แบบเขากลัวจะไม่ได้เจอครอบครัวอีกแล้ว หายใจเขายังไม่ไหวเลย ทำความสะอาดตัวเองก็ยังทำไม่ได้เลยเนี่ยเขารู้สึกว่าท้อแท้มากรู้สึกเหมือนกับเป็นเรื่องน่าละอาย (degrading) รู้สึกไม่ค่อยดี..

..เราก็แบบถึงจุดนั้นแล้วก็น่าสงสารนะเราไม่เคยรู้ว่าเขารู้สึกเป็นอย่างนี้นะ อย่างนี้ใช่ไหมแล้วเราก็ให้กำลังใจเขา บอกเขาคือไม่เป็นไร ไม่ได้มีคนเดียวนะยังมีเราอีกคน เลยให้กำลังใจอยู่ อย่างนี้เราต้องผ่านไปด้วยกัน อย่าท้อท้อแล้วเดี๋ยวมันชนะ เราต้องชนะมันด้วยกัน”

Darunee (Jackie) Rasamelougon is a nurse technician at Reston Hospital Center in Virginia. (Courtesy Darunee (Jackie) Rasamelougon)

แม้จะมีคำถามมากกว่าคำตอบในการรับมือโควิด แต่หน้าที่ของการดูแลผู้ป่วย คือสิ่งที่ดรุณีไม่สามารถละเลยได้ การปรับตัวให้คุ้นชินกับชุดป้องกันที่แน่นหนาจึงเป็นเรื่องจำเป็น มากพอๆกับการเตรียมเผชิญกับสถานการณ์ตรงหน้าให้ดีที่สุด

“โควิดมันพูดยากนะ บางที่เข้ามาอาการไม่มีอะไรเลย observation แค่ข้ามคืน พอเช้ามานี่ลงฮวบเลย หายใจไม่ไหว พลิกตัวไม่ได้ ต้องให้ออกซิเจน กันวุ่นวายเลย ..มันจะเหมือนกับว่าเหมือนคนที่จมน้ำ แรกๆ ยังลอยอยู่ยังหายใจได้อยู่ ยังคุยหัวเราะเล่น พอสักพักนึงแค่เหมือนกับว่าเราอาจจะแค่เดินไปเอายา เดินกลับมาเขาแบบ หายใจติด เขาบอกเขาหายใจไม่ไหวอยู่ดีๆ ก็รู้สึกหายใจไม่ได้เราก็เพิ่มออกซิเจน..

..แต่พอดูออกซิเจนเราก็ดูมอนิเตอร์มอนิเตอร์และ เฮ้ย! ทำไมตัวเลขมันยิ่งลง พอลงปุ๊บเราก็มีปุ่ม ฉุกเฉิน (Emergency) แล้วก็กดเลยกดแล้วเราก็มีเพื่อนมา เพื่อนมาแล้ว หมอมาเลยมา ชั่ววินาทีเดียว กลับกลายเป็นรหัสสีฟ้า (code blue) หรือ อาการหนักไปเลย ไม่หายใจก็มี ก็ต้องแบบปฐมพยาบาลกู้ชีพ (CPR) กันตรงนั้น บางทีก็ส่งไอซียูเลย เนี่ยอยู่ดีๆ ก็หนักไปเลย ที่เจอกับตัวเองก็ 2-3 เคส แต่ว่าถ้าเพื่อนๆก็คือจะได้ยิน Code อยู่บ่อยๆที่ตึกนั้นน่ะคือแบบได้ยินบ่อยมากมันเพราะว่าเรากดรหัส มันจะได้ยินกันทั้งโรงพยาบาล”

Your browser doesn’t support HTML5

ประสบการณ์1 ปี รับมือโควิด-19 กับ 'ดรุณี รัศมีเหลืองอ่อน’พยาบาลคนไทยในอเมริกา


"..​ช่วงคนไข้สูงสุด (peak) ก็จะมีช่วงตอนระบาดใหม่ๆ พีคอยู่ช่วงนึงแล้วก็มาเมื่อตอนมกราคมกุมภาพันธ์นี้ปีนี้. แล้วก็มาลงมาเรื่อยๆ พอตอนหลังที่เขาเริ่มปิดทำการ ทุกอย่าง ตอนที่สั่งปิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ( State of Emergency) อย่างนี้สั่งปิดทุกอย่างละถุงร้านอาหาร มันก็เลยแบบเริ่มลดลงแล้ว

แต่พอมาช่วยวันหยุดเทศกาลฮอลิเดย์ วันขอบคุณพระเจ้า ( Thanksgiving) วันคริสต์มาส(Christmas) คนเริ่มรวมตัว(gathering) กันเพราะหลังวันหยุดปุ๊บ ขึ้นพรวดเลย ตัวเลขขึ้นแบบ สองสามเท่า บางทีมาทั้งครอบครัวพ่อแม่ลูกเมีย มาแบบทั้งครอบครัวทั้งแบบสามีห้องนี้ ภรรยาห้องนี้ ลุงห้องนั้น ปู่ห้องนั้น มาทั้งครอบครัวคนละห้อง”

นี่คือส่วนหนึ่งของบุคลากรด้านสาธารณสุข เชื้อสายไทยในสหรัฐฯ ที่ร่วมทบทวน และถ่ายทอดประสบการณ์ รวมทั้งบทเรียนตลอด 1 ปี ที่ผ่านมาจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โรคติดต่อที่ทำให้ทั้งโลกต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไปโดยสิ้นเชิง