นักวิจัยสร้างสรรค์หนังสือเด็กแนวคลาสสิกแบบ 3 มิติ ดึงดูดนักอ่านรุ่นเยาว์

Your browser doesn’t support HTML5

นักวิจัยอังกฤษสร้างสรรค์หนังสือเด็กแนวคลาสสิก 3 มิติ

โลกแห่งความลึกลับซับซ้อนในหนังสือเด็กแนวคลาสลิกเรื่อง "Treasure Island" กลายเป็นเรื่องราวที่มีชีวิตบนหน้าจอ iPad ของดีแลน นักอ่านวัย 9 ขวบ

“หนังสือมีชีวิต” เป็นส่วนหนึ่งในโครงการของทีมนักวิจัยอังกฤษที่นำเสนอเรื่องราวในหนังสือเด็กในรูปแบบ 3 มิติ บนหน้าจอสื่อสมัยใหม่

ด็อกเตอร์ เจมส์ บัทเลอร์ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ในอังกฤษ กล่าวว่า นี่เป็นความพยายามแนวสร้างสรรค์ของทีมนักวิจัย เพื่อนำหนังสือเด็กยุคคลาสสิกที่แสนยอดเยี่ยมมาเสนอให้ผู้อ่านรุ่นใหม่ ทีมงานมองว่าควรใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรเทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมมากที่สุด รวมทั้งแหล่งทรัพยากรด้านซอฟเเวร์ อย่างที่ใช้ใน Minecraft เพื่อทำให้เรื่องราวในหนังสือเด็กมีชีวิต

ทีมนักวิจัยใช้โปรแกรมซอฟเเวร์ที่ใช้กับเกมส์คอมพิวเตอร์เพื่อผสมผสานเรื่องราวแนวแฟนตาซีเข้ากับความเหมือนจริงเพื่อทำให้โลกในจินตนาการในหนังสือมีชีวิต

ศาสตราจารย์ ซัลลี่ บุชเชล นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ กล่าวว่า หากออกแบบเรื่องราวของโลกจริง อาจจะต้องเรียบเรียงเนื้อหาของวรรณกรรมให้ต่อเนื่องกันเพียงเเค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เพราะเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสืออาจจะเกิดขึ้นในสถานที่แตกต่างกัน ไม่เหมือนกับเรื่องจริงในชีวิต

โครงการนี้ปรับเปลี่ยนแนวการนำเสนอเรื่องราวทางวรรณกรรมอย่างมากเเละเป็นการพัฒนาแนวการนำเสนอเรื่องราวที่เป็นตัวหนังสือกับภาพที่มีความเหมือนจริง

บรรดาผู้เชี่ยวชาญหวังว่า การผสมผสานเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือเข้ากับภาพที่ตอบสนองกับผู้อ่านได้ จะช่วยให้นักอ่านรุ่นใหม่รักหนังสือนวนิยายเเนวคลาสสิกมากขึ้น

ศาสตราจารย์บุชเชล กล่าวว่า แทนที่จะมองเห็นเฉพาะภาพในส่วนที่เป็นเกมส์คอมพิวเตอร์ โครงการนี้นำข้อความเเละภาพมาโยงเข้าด้วยกันเเละเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน โดยจะเริ่มต้นที่ตัวหนังสือเล่าเรื่องราว เเล้วปรับไปเป็นสภาพเเวดล้อมเเบบเกมส์ที่ผู้อ่านเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย เเล้วกลับมาเป็นตัวหนังสือให้อ่านอีกครั้ง โดยผสมผสานเข้าด้วยกันตลอดทั้งเรื่อง

เเละสำหรับเด็กอย่าง ดีแลน การอ่านหนังสือเสมือนจริงที่ได้ประสบการณ์แบบใหม่ที่ช่วยเปิดกว้างโลกแห่งความเป็นไปได้

ดีแลนกล่าวว่า เรื่องราวในหนังสือนำเสนอเหมือนกับเกมส์คอมพิวเตอร์ ที่ตัวเองสามารถเลือกได้ว่าต้องการทำอะไรในเนื้อเรื่องที่กำลังอ่าน

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)