Your browser doesn’t support HTML5
บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการในกรุงไทเป ต้องการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว การค้า เเละการศึกษาให้มากขึ้น กับ 18 ชาติทั่วเอเชียใต้เเละเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนออสเตรเลียเเละนิวซีเเลนด์
ในทางทฤษฎี การมีความสัมพันธ์ที่เเน่นเเฟ้นกับชาติเหล่านี้จะลดบทบาทของจีนลง ซึ่งในขณะนี้ จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไต้หวันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายยังขัดแย้งกันด้านความเเตกต่างทางการเมือง
นโยบายใหม่ล่าสุดของไต้หวันที่เรียกว่า “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” (New Southbound Policy) อนุญาตให้ชาวฟิลิปปินส์เดินทางท่องเที่ยวในไต้หวันโดยไม่มีวีซ่าได้นาน 14 วัน ในช่วงระยะเวลาการทดลองที่เริ่มในเดือนพฤศจิกายนนี้จนถึงเดือนกรกฏาคมปีหน้า
ก่อนหน้านี้ ไต้หวันได้ยกเลิกวีซ่าแก่ชาวบรูไน และชาวไทย ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว
ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน เเห่งไต้หวัน กล่าวในสุนทรพจน์วันชาติไต้หวันตอนต้นเดือนตุลาคมว่า เป้าหมายของ “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” คือต้องการให้ไต้หวันสร้างบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในสังคมโลก
ผู้นำหญิงของไต้หวันกล่าวว่า ไต้หวันต้องการบอกกับประชาคมโลกว่าไต้หวันพร้อมเเล้วที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความรุ่งเรืองเเละมั่นคงเเก่ภูมิภาค
หน่วยงานคลังสมองอเมริกัน Council on Foreign Relations รายงานว่าบรรดานักธุรกิจชาวไต้หวันมักเลือกลงทุนในจีนเพราะค่าลงทุนค่อนข้างต่ำ จีนมีเเรงงานมีฝีมือเเละวัฒนธรรมที่เหมือนกัน มีบริษัทไต้หวันลงทุนทางธุรกิจในจีนมากกว่า 93,000 ระหว่างปี ค.ศ. 1988 ถึง 2016
เเต่ว่าการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนไต้หวันของจีน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นเกาะที่ปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นสาเหตุที่อาจนำไปสู่การยกเลิกการเจรจากันระหว่างจีนกับไต้หวันภายใต้การนำของประธานาธิบดีไช่
รัฐมนตรีกิจการต่างประเทศของไต้หวันได้ตั้งสำนักงานเพื่อการลงทุนในอินโดนีเซีย พม่า ไทย เวียดนาม เเละฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยนักลงทุนไต้หวันค้นหาโครงการลงทุนในประเทศเหล่านี้อย่างเหมาะสม
ประธานาธิบดี ไช่ กล่าวว่า การค้าของไต้หวันกับ 18 ชาติที่ระบุในนโยบายใหม่นี้ได้เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้เทียบกับปีที่แล้ว เเต่ผู้นำไต้หวันไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่ชัดเจน
ตัวเลขทางการชี้ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจากชาติเอเชียตามนโยบายใหม่นี้กำลังเพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง เเละจำนวนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในไต้หวันจากประเทศเอเชียใต้เเละเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ตั้งเเต่เดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
คณะกรรมมาธิการการลงทุนของไต้หวันได้อนุมัติใบร้องขอไปลงทุนในโครงการของจีนจากบริษัทไต้หว้น 252 เเห่ง ลดลง 21.5 เปอร์เซ็นต์จากปี 2015 เเต่จีนยังคงเป็นคู่ค้าหลักของไต้หวันอยู่ เพราะมีตลาดผู้บริโภคที่กำลังเติบโต เเละจีนมีความมั่นคงด้านระบบการผลิตสินค้าเเก่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีเเละเครื่องยนต์กลไก โดยมีมูลค่าการส่งออกเเละนำเข้า 117,900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่กิจการทางเศรษฐกิจในไทเป กล่าวเมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่า อินโดนีเซียกำลังเป็นแหล่งลงทุนที่ได้รับความสนใจมาก โดยเฉพาะในด้านการเกษตรกรรม เเละประเทศไทยได้อนุมัติใบสมัครขอลงทุนจากบริษัทไต้หวันเเล้ว 274 เเห่ง มีมูลค่ารวม 139,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากปี 2010 ถึง 2015
มีนักลงทุนชาวไต้หวันประมาณ 3,500 คนที่ได้ลงทุนในเวียดนามตั้งเเต่ปี 2011 เพราะค่าลงทุนเริ่มสูงขึ้นในจีน ในขณะที่เวียดนามเสนอผลประโยชน์ที่น่าใจเพื่อดึงดูุดนักลงทุนต่างชาติ
Jonathan Ravelas หัวหน้านักนโยบายด้านการตลาดเเห่ง ธนาคาร Banco de Oro UniBank ในกรุงมะนิลา กล่าวว่า ฟิลิปปินส์กำลังพยายามหาทางดึงดูุดนักลงทุนจากไต้หวัน เเละบริษัทอิเลคทรอนิคส์ไต้หวันมองฟิลิปปินส์ว่าเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก ส่วนบริษัทด้านการรักษาพยาบาลอาจมองหาผู้ร่วมลงทุน อาทิ โรงพยาบาล เป็นต้น ในขณะที่ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของฟิลิปปินส์ช่วยดึงดูดนักลงทุนอื่นๆ
เเต่กัมพูชาเกรงว่าจะทำให้จีนไม่พอใจ หากร่วมมือใกล้ชิดกับไต้หวันมากเกินไป
กรุงปักกิ่งห้ามประเทศพันธมิตรของตนไม่ให้สร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไต้หวัน นโยบายเดียวกันนี้ในช่วงผู้นำคนก่อนๆ ของไต้หวัน อาทิ ประธานาธิบดี ลี เต็ง ฮุย ในปี 1993 เเละประธานาธิบดี เฉิน ฉุย เปี่ยน หลังปี 2000 ล้มเหลวมาเเล้ว เพราะจีนในตอนนั้นเป็นฐานการลงทุนที่ถูกเเละเป็นที่ดึงดูดเเก่นักลงทุนไต้หวัน เพราะมีคู่เเข่งน้อย
บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า นโยบายการลงทุนใหม่ของไต้หวัน อาจจะประสบกับอุปสรรคได้ เพราะไต้หวันจะเจอกับการเเข่งขันที่รุนเเรงมากขึ้นใน 18 ชาติเอเชียที่อยู่ในเป้าหมาย โดยคู่เเข่งได้เเก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เเละเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ไต้หวันยังเสียเปรียบด้านวัตถุดิบอิกด้วย
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)