สับปะรดไต้หวันเมินคำสั่งแบนจากจีน หลังผู้บริโภคในประเทศ-ต่างประเทศเข้าช่วยสนับสนุน

FILE - Farmers sell pineapples at a stall by the road in Kaohsiung, Taiwan February 27, 2021.

ผู้บริโภคในไต้หวันและผู้สนับสนุนไต้หวันจากทั่วโลกเร่งสั่งซื้อผลผลิตสับปะรดจากไต้หวันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนเกษตรกรที่ไม่สามารถส่งออกไปจีนได้ หลังรัฐบาลกรุงปักกิ่งออกคำสั่งห้ามนำเข้า จนทำให้ธุรกิจสับปะรดไต้หวันต้องสูญเงินถึงราว 50 ล้านดอลลาร์

กรมศุลกากรจีนประกาศห้ามนำเข้าสับปะรดจากไต้หวันเมื่อเดือนที่แล้ว โดยอ้างเหตุผลว่า พบ “แมลงศัตรูพืช” ในสินค้าที่นำเข้ามาหลายครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ผู้บริโภคไต้หวัน สงสัยว่า เหตุที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นการจีนพยายามใช้อิทธิพลด้านเศรษฐกิจเพื่อเตือนสติผู้นำไต้หวัน

ขณะที่จีนมองว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตนมาโดยตลอด การสำรวจความคิดเห็นที่รัฐบาลกรุงไทเปทำเมื่อปี ค.ศ. 2019 ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการคงความเป็นเอกราชมากกว่า

A vendor prepares pineapples at a fruit stall in a market in Taipei, Taiwan, March 5, 2021. REUTERS/Ann Wang

ชาวไต้หวันตื่นตัวช่วยเกษตรกร

อย่างไรก็ดี หลังมีข่าวดังกล่าวออกมา หลายฝ่ายได้ร่วมกันออกโครงการเพื่อสนับสนุนสับปะรดไต้หวันผ่านสื่อสังคมออนไลน์กันมากมาย ขณะที่ ธุรกิจทั้งหลายต่างยื่นมือออกมาช่วย เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ในกรุงไทเป ที่เปิดตัวรายการส่งเสริมการขายพิเศษสำหรับสับปะรดโดยเฉพาะ หรือ แม้แต่สื่อบางแห่งที่ออกมาเรียกขานผลไม้ชนิดนี้ว่าเป้น “สับปะรดแห่งเสรีภาพ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ระบอบประชาธิปไตยของไต้หวัน และมีผู้เช่าพื้นที่ป้ายขนาดใหญ่ตามถนนหนทาง ที่ระบุว่า “ผลิตในประเทศ --- ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า” เป็นต้น

ผู้ซื้อข่าวสัมภาษณ์ที่ออกไปสังเกตการณ์ในตลาด และสัมภาษณ์ เดวิด ไช่ ชาวไต้หวันวัย 55 ปี ที่ออกมาเข้าซื้อสับปะรด ซึ่งบอกว่า ปกติ เขาจะซื้อสัปดาห์ละ 2-3 ลูก แต่ตั้งใจจะซื้อเพื่อ 2 ลูกต่อสัปดาห์ตลอดเดือนมีนาคม แม้ว่า ราคาที่ขายลูกละ 2.8 ดอลลาร์ หรือราว 84 บาทนั้นเป็นราคาปกติ แต่ตนไม่มีปัญหา เพราะต้องการสนับสนุนเกษตรกร และกล่าวว่า คำสั่งห้ามนำเข้าของจีนนั้น “เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเลย”

FILE PHOTO: Pineapples grow in a field in Kaohsiung, Taiwan February 27, 2021. REUTERS

ความต้องการบริโภคจากต่างประเทศพุ่ง

ขณะเดียวกัน สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ญี่ปุ่นเพิ่มการสั่งซื้อสับปะรดจากไต้หวันไปแล้ว โดยผู้ค้าเข้าตั้งเป้าจะซื้อผลผลิตจากไต้หวันมากถึง 6,200 ตัน ซึ่งเป็นสถิติสูงสุด ภายในปีนี้ เพื่อช่วยชดเชยความสูญเสียจากการที่ไม่สามารถส่งออกไปจีนได้

นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่รัฐของสหรัฐฯ และแคนาดา ยังส่งสารผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อเรียกร้องให้บริโภคสับปะรดของไต้หวันมากขึ้น เช่น จอร์แดน รีฟส์ หัวหน้าสำนักงานการค้าแคนาดาประจำกรุงไทเป ที่โพสต์ภาพของตนพร้อมเพื่อนร่วมงานที่รุมล้อมพิซซ่าหน้าสับปะรด ทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือ สถาบันอเมริกาในไต้หวัน ที่ทำหน้าที่เป็นสถานทูตสหรัฐฯ ที่โพสต์ภาพสับปะรดมากมายในสำนักงานที่กรุงไทเป ขึ้นหน้าเฟสบุ๊คของตน เป็นต้น

ฌอน ซู ที่ปรึกษาอิสระด้านการเมือง ที่กรุงไทเป บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า เพียงไม่กี่วันหลังเรื่องนี้ตกเป็นข่าว ไต้หวันสามารถหาตลาดและอุปสงค์ใหม่ๆ ได้แล้ว ซึ่งทำให้จีนควรเริ่มทบทวนยุทธศาสตร์ระยะยาวของตน ในเรื่องการใช้ประเด็นการค้าเป็นอาวุธโจมตีผู้อื่นได้แล้ว

ความตึงเครียดทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไต้หวันนั้นย่ำแย่ลงมาอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2019 เมื่อประธานาธิบดี ไช่ อิง-เหวิน แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลกรุงปักกิ่ง และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนพยายามลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปไต้หวัน และชักชวนให้พันธมิตรทางการทูตของไต้หวันบางรายมาอยู่ข้างต้น รวมทั้ง ส่งเครื่องบินรบบินเฉียดน่านฟ้าไต้หวัน ด้วย

และกรณีการสั่งห้ามการนำเข้าสับปะรดจากไต้หวันนี้ ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองตึงเครียดมากขึ้น

ชิว ชุ่ย-เจิง โฆษกของสภากิจการจีนแผ่นดินใหญ่ของรัฐบาลไต้หวัน บอกกับวีโอเอว่า เกษตรกรและผู้ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่ในไต้หวัน มองว่า การสั่งห้ามนำเข้าจะสร้างความเสียหาย และความรำคาญใจให้ผู้คน แต่ยิ่งไปกว่านั้น จะไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ในระยะยาวระหว่างทั้งสองเลย

ข้อมูลจากสภาการเกษตรไต้หวันระบุว่า ในปีที่แล้ว ไต้หวันส่งออกสับปะรดทั้งแบบสดและแบบแช่เย็นไปจีนเป็นมูลค่าทั้งหมด 49.9 ล้านดอลลาร์ โดยผู้บริโภคในจีนแผ่นดินใหญ่มองว่า สับปะรดไต้หวันนั้นเป็นผลผลิตคุณภาพดี

และแม้ไต้หวันส่งออกสับปะรดที่ผลิตได้ในแต่ละปีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตรวม 95 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าส่งออกทั้งหมดนั้นถูกขายให้กับตลาดจีนเป็นหลัก