แผ่นน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลายเร็วขึ้นช่วงฤดูร้อน

Sea ice melts on the Franklin Strait along the Northwest Passage in the Canadian Arctic Archipelago, July 22, 2017. Because of climate change, more sea ice is being lost each summer than is being replenished in winters. Less sea ice coverage also means th

ฤดูร้อนในขั้วโลกเหนืออาจจะไร้น้ำแข็งในอนาคตอันใกล้เพราะภาวะโลกร้อน

Your browser doesn’t support HTML5

แผ่นน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลายเร็วขึ้นช่วงฤดูร้อน

ในภาพข่าวโทรทัศน์ของวีโอเอ หมีขาวตัวหนึ่งกำลังติดอยู่บนแผ่นน้ำเเข็งขั้วโลกเหนือที่กำลังลอยอยู่เหนือน้ำทะเลสีฟ้า เมื่อหลายปีก่อน เเม้เเต่ในช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณนี้ปกคลุมด้วยแผ่นน้ำเเข็งที่หนามากและน้ำทะเลเข้ามาไม่ถึง

เเต่มาตอนนี้ เรือขุดเจาะน้ำเเข็ง Nordica ฟินเเลนด์น้ำหนัก 13,000 ตัน สามารถเดินเรือผ่านบริเวณนี้ได้โดยไม่ต้องเจาะเเผ่นน้ำเเข็ง คนนำทางผ่านน้ำเเข็งที่ได้รับการว่าจ้างให้นำทางเเก่เรือขุดเจาะน้ำเเข็งผ่านน่านน้ำอันตราย บอกว่า น้ำเเข็งในบริเวณนี้เคยมีความหนาหลายเมตร

ดุค สไนเดอร์ ผู้นำทางเรือขุดเจาะน้ำเเข็ง กล่าวว่า ยกตัวอย่างเมื่อปีที่แล้ว จุดที่กำลังยืนอยู่นี้เคยมีน้ำแข็งหนาปกคลุม แต่ตอนนี้ได้ละลายไปจนหมดไม่มีน้ำแข็งหลงเหลือ แม้แต่ในช่องแคบ McClintock ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ภาพถ่ายทางดาวเทียมตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1979 เเสดงให้เห็นว่าเเผ่นน้ำเเข็งบนผิวหน้าทะเลในขั้วโลกเหนือได้ลดลงโดยเฉลี่ย 88,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี เทียบเท่ากับขนาดของประเทศเซอร์เบีย

บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การละลายของแผ่นน้ำเเข็งนี้ไม่สามารถกลับคืนได้ เเม้ว่าประเทศต่างๆที่ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยภาวะโลกร้อนปารีสเมื่อปี 2015 จะปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะรักษาอุณหภูมิของโลกให้อุ่นขึ้นต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสก็ตาม

แอนดรู วีฟเวอร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศโลก กล่าวว่า ขั้วโลกเหนือละลายในอัตรา 2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อสิบปีในเดือนพฤษภาคม และกำลังละลายเร็วขึ้นเป็น 10.4 เปอร์เซ็นต์ในเดือนสิงหาคมนี้

แต่หลายคนมองว่า การละลายของเเผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกเหนือเป็นประโยชน์
ทางเดินเรือทางตะวันตกเฉียงเหนือ ที่เชื่อมระหว่างทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกกับทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นน้ำเเข็งอยู่ตลอดเวลา ในตอนนี้ได้ละลายจนหมดในช่วงฤดูร้อน เปิดทางให้เรือท่องเที่ยว เรือประมงและเรือขนส่งสินค้าที่นำสินค้าไปส่งในชุมชนท้องถิ่น เเล่นผ่านได้ แต่ผลเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นผลเสียอย่างถาวร

ไมเคิ่ล ไบเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะโลกร้อน กล่าวว่า เรือท่องเที่ยวอาจจะสามารถนำนักท่องเที่ยวเช้าไปชมหมีขาวได้ในตอนนี้ เเต่หมีขาวจะไม่หลงเหลืออยู่ให้นักท่องเที่ยวได้ไปดูในอีก 20 ถึง 50 ปีข้างหน้า

เเละคนท้องถิ่นกล่าวว่า เเม้เเต่เด็กๆ ก็สังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีความรู้สึกทั้งตื่นเต้นเเละเสียใจ ชาวเอสกิโมบนเกาะ Baffin คนนี้บอกว่าแผ่นน้ำเเข็งในบริเวณอ่าวของเกาะ เวลาละลาย เด็กๆ จะสังเกตุเห็นทันทีเพราะจะมีเรือเข้ามาทอดสมอ ลูกชายตื่นเต้นมาเวลาเห็นเรือมาจอดหลายลำในอ่าว เเต่ลูกสาวจะเสียใจที่ทางเดินบนแผ่นน้ำเเข็งหายไป

บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าหากแผ่นน้ำเเข็งในขั้วโลกเหนือละลายอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูร้อนแบบนี้ต่อไป เด็กๆ ชาวเอสกิโมส่วนใหญ่จะมีฤดูร้อนที่ปราศจากน้ำเเข็ง หรืออาจจะมีฤดูหนาวที่ไร้น้ำเเข็งในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)