วิเคราะห์ผลกระทบข้อตกลงส่งเสริมการป้องกันประเทศ สหรัฐฯ - ฟิลิปปินส์ ในทะเลจีนใต้

FILE - The BRP Gregorio Del Pilar Philippine warship, at Manila's pier, Philippines, Dec. 17, 2014. The refurbished former U.S. Coast Guard Hamilton-class weather high endurance cutter is now the country's biggest and most modern warship.

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าการมีกำลังทหารสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ ช่วยสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้

Your browser doesn’t support HTML5

Philippines US

ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้สืบเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนของหลายประเทศเหนือหมู่เกาะและปะการังต่างๆ ในทะเลแห่งนี้ รวมทั้งประเทศจีน ทำให้สหรัฐฯ เริ่มส่งกำลังทางเรือเข้าไปในบริเวณน่านน้ำที่มีความขัดแย้งนี้ พร้อมทั้งการทำความตกลงเพื่อส่งเสริมการร่วมมือป้องกันกับฟิลิปปินส์ด้วย

ข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งศาลสูงของฟิลิปปินส์มีมติสนับสนุนเมื่อไม่นานมานี้ อนุญาตให้สหรัฐฯ ส่งทหารเข้าไปผลัดเปลี่ยนการประจำการในฟิลิปปินส์ พร้อมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย

ทางการทหารฟิลิปปินส์อธิบายว่า สหรัฐฯ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ต่างๆใกล้มือ สำหรับใช้ได้อย่างทันท่วงทีเพื่อตอบรับวินาศภัย โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ซึ่งประสบพายุไต้ฝุ่นโดยเฉลี่ยแล้วปีละประมาณ 20 ลูก

ส่วนทางการสหรัฐฯ อธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องส่งกำลังทหารไปหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนในฟิลิปปินส์ว่า ข้อตกลงฉบับดังกล่าวช่วยเพิ่มสมรรถนะสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการสนับสนุนโครงการปรับปรุงกองทัพฟิลิปปินส์ให้ทันสมัยด้วย

แต่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า การมีกำลังทหารสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ ช่วยสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งจีนได้กล่าวอ้างสิทธิ์ในทะเลแห่งนี้ไว้เกือบทั้งหมด

นอกจากจีนและฟิลิปปินส์แล้ว ประเทศอื่นๆในเอเชียที่กล่าวอ้างสิทธิ์เหนือบางส่วนของทะเลแห่งนี้ รวมถึง บรูไน มาเลเซีย ไต้หวันและเวียดนามด้วย

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา จีนได้ถมทะเลสร้างเกาะขึ้นมาใหม่อีกอย่างน้อยสองแห่ง ขณะที่สหรัฐฯได้ส่งเรือรบเข้าไปในบริเวณ 12 ไมล์ทะเล (22 กิโลเมตร) ของหมู่เกาะที่กำลังมีความขัดแย้งกัน

ความมุ่งหมายของสหรัฐฯ ในการส่งเรือรบเข้าไปในบริเวณดังกล่าว ก็เพื่อปกป้องเสรีภาพในการเดินเรือในน่านน้ำนานาชาติ