'ฟิลิปปินส์-มาเลเซีย' หารือแนวทางสร้างความมั่นคงทางทะเลในน่านน้ำอันตราย

Malaysian Prime Mahathir Mohamad and Philippine President Rodrigo Duterte

Your browser doesn’t support HTML5

Philippines Malay

ประเด็นเรื่อง 'ความมั่นคงทางนาวี' เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซียทำงานร่วมกันมานาน และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงระหว่างการเยือนฟิลิปปินส์ ของนายกมาเลเซีย มหาธีร์ โมฮาหมัด

ในระหว่างการพบกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ผู้นำฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่า การหาทางออกให้กับประเด็นความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัญหาการก่อการร้าย โจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นประเด็นที่ทั้งสองประเทศควรเดินหน้าปรับปรุงด้วยกัน

ดินแดนทางทะเลบริเวณหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งท้าทายสำคัญของทั้งสองประเทศ คือ ทะเลซูลู (Sulu Sea) ระหว่างจังหวัดซาบาห์ของมาเลเซียและกลุ่มเกาะด้านใต้สุดของฟิลิปปินส์

อาจารย์ มาเรีย เอลา อะเทียนซา จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การลาดตระเวณเพื่อดูเลความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าวเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง และพื้นที่นี้ไม่มีเขตแดนชัดเจน

Indonesia, The Philippines, and the Sulu Sea

ประเด็นหนึ่งที่ช่วยอธิบายถึงความยากลำบากในการตรวจลาดตระเวณ คือ พื้นที่ทางทะเลตรงนั้นเป็นบริเวณอิทธิพลของกลุ่มมุสลิมที่ต้องการความเป็นอิสระ และมีอดีตเกี่ยวโยงกับระบบการปกครองภายใต้สุลต่าน ที่เคยมีมา 400 กว่าปีก่อน แต่ถูกถอดถอนการยอมรับโดยฟิลิปปินส์เมื่อคริสต์ทศวรรษที่ 70

นักวิชาการกล่าวว่า บริเวณดังกล่าวเป็นเขตระอุของปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด ค้าอาวุธเถื่อน โจรสลัดและการก่อการร้าย

เมื่อเดือนมกราคม โบสถ์ชาวคริสต์แห่งหนึ่งในจังหวัดซูลู ถูกโจมตีด้วยระเบิด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 รายและบาดเจ็บ 111 คน ในเวลาต่อมา กลุ่มกบฏที่มีขบวนการรัฐอิสลามไอเอสหนุนหลังอ้างความรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้

A soldier views the inside of the Roman Catholic cathedral in Jolo, the capital of Sulu province in the southern Philippines, after two bombs exploded, Jan. 27, 2019, in this photo provided by WESMINCOM Armed Forces of the Philippines.

อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้การตรวจตราพื้นที่ดังกล่าวทำได้ยาก เกี่ยวข้องกับความพร้อมของกองทัพเรือ

อาจารย์ มาเรีย เอลา อะเทียนซา กล่าวว่า กองทัพเรือของประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซียไม่เเข็งเเกร่งในแง่ความพร้อมของงบประมาณและการซ่อมบำรุง

ข้อมูลของสถาบัน ReCAAP Information Sharing Center ระบุว่ามีเหตุการณ์ 7 ครั้งที่เป็นทั้งความพยายามที่สำเร็จและไม่สำเร็จ ในการก่อสถานการณ์อันตรายบริเวณทะเลซูลู ช่วงปี พ.ศ. 2560 และ 2561

ทำให้น่านน้ำแห่งนี้เป็นน่านน้ำสากลที่มีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชีย ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว

ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจ คือปัจจัยทางการเมือง คุณซอง เซน วุน นักวิเคราะห์เศรษฐกิจของธนาคาร CIMB ที่ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า การเมืองภายในของเเต่ละประเทศก็ที่ส่วนต่อการจัดการกับปัญหานี้ เพราะบางครั้งปัจจัยการเมืองอาจเข้ารุมเร้ารัฐบาล จนไม่สามารถทำงานด้านความมั่นคงทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของผู้สื่อข่าว Ralph Jennings ที่ไทเป)