รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ปีนี้จุดประเด็นเรื่องการยืนยันคุณค่าของยาจีนแผนโบราณ

FILE - Pharmacologist Tu Youyou joined William Campbell and Satoshi Omura in winning the 2015 Nobel prize for medicine or physiology for their work against parasitic diseases.

FILE - Pharmacologist Tu Youyou joined William Campbell and Satoshi Omura in winning the 2015 Nobel prize for medicine or physiology for their work against parasitic diseases.

แพทย์แผนโบราณในจีนต่างตื่นเต้นยินดีกับรางวัลโนเบลที่ ดร. Tu Youyou ได้รับครั้งนี้

Your browser doesn’t support HTML5

Nobel Chinese Medicine

นักวิทยาศาสตร์จีน ดร. Tu Youyou ซึ่งเกษียณแล้วจากงานที่ China Academy of Chinese Medicine Sciences เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ในปีนี้

บทความในหนังสือพิมพ์ New York Times กล่าวว่าในขณะที่ฝ่ายแพทย์แผนโบราณของจีนให้ความเห็นว่ารางวัลครั้งนี้แสดงให้เห็นคุณค่าของยาจีน แต่คณะกรรมการโนเบลได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การมอบรางวัลนี้ไม่ได้เป็นการยกย่องยาจีน

แต่เป็นรางวัลสำหรับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ ดร. Tu Youyou ใช้โดยเฉพาะเจาะจง ในการสกัดสารสำคัญ Artemisinin จากต้น Sweet Wormwood หรือ Artemisia annua มาทำเป็นยารักษาโรคไข้จับสั่น หรือมาเลเรีย และอาการไข้อื่นๆ

ตำรายาจีนใช้ตัวยาสำคัญนี้อย่างต่อเนื่องมาหลายศตวรรษแล้ว และ ดร. Tu Youyou เองได้กล่าวไว้ว่า เธอเรียนรู้เทคนิคการสกัดตัวยานี้จากการศึกษาตำรายาแผนโบราณ

ในขณะเดียวกัน นักวิชาการจีนจำนวนมากเห็นว่า ควรปรับปรุงการแพทย์ในจีนให้ทันสมัยเหมือนในโลกตะวันตก รวมทั้งการค้นหาตัวยาจากพืชมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่การใช้ตามแผนโบราณ

เวลานี้ จีนมีแพทย์สมัยใหม่ 1.1 ล้านคน และแพทย์แผนโบราณ 186,947 คน มีโรงพยาบาลรวม 23, 095 แห่ง โดยในจำนวนนี้ 2,889 แห่งให้บริการการแพทย์แผนโบราณ

อย่างไรก็ตาม แพทย์แผนโบราณในจีนตื่นเต้นยินดีกับรางวัลโนเบลที่ ดร. Tu Youyou ได้รับครั้งนี้

เพราะเป็นการยืนยันว่ายาแผนโบราณของจีนมีความเป็นวิทยาศาสตร์ และพิสูจน์ได้ว่าประสบความสำเร็จในการใช้บำบัดรักษาโรค