ถอดประสบการณ์ล้ำค่าจากนาซาสู่วงการวิทยาศาสตร์ไทย

นักศึกษาไทยในโครงการ NASA DEVELOP

นักศึกษาไทยที่ผ่านการฝึกอบรมและศึกษาวิจัยในโครงการ NASA DEVELOP กับประสบการณ์อันล้ำค่าที่มีส่วนทำงานและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขององค์การนาซ่า

Your browser doesn’t support HTML5

NASA Develop

นางสาวชิสาพัชร์ สุปัญญาโชติสกุล นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัย Purdue ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าฝึกอบรมและศึกษาวิจัยในโครงการ NASA DEVELOP ที่ศูนย์วิจัยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NASA ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ ภาคภาษาไทย หลังถึงประสบการณ์การทำงานร่วมกับองค์การด้านวิทยาศาสตร์และอวกาศของสหรัฐฯ มานานกว่า 10 สัปดาห์

เช่นเดียวกับ คุณ วทัญญู สุขเสงี่ยม นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัย Claremont Graduate จากโครงการ NASA DEVELOP ที่เล่าถึงประโยชน์ และประสบการณ์การทำงานที่เขาได้รับจากการทำงานร่วมกับองค์การ NASA

ทั้ง 2 คนเป็นส่วนหนึ่งของนักเรียนไทย 10 คนที่ได้รับคัดเลือกฝึกอบรมและศึกษาวิจัยในโครงการ NASA DEVELOP ซึ่งได้มีส่วนร่วมกันทำโครงงานวิจัยแบบกลุ่มที่นำฐานข้อมูลอันมหาศาลของนาซ่ามาใช้ประโยชน์

คุณวทัญญู ซึ่งได้รับทุนรัฐบาลไทย มาศึกษาระดับปริญญาเอก เชื่อว่า กระบวนการเรียนรู้วิธีและระบบการทำงานในองค์การนาซ่าที่มีการทำงานเป็นทีมนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เมื่อกลับมารับราชการไทยในอนาคต

เช่นเดียวกับ คุณชิสาพัชร์ ที่เตรียมกลับไปทำงานกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน หรือ GISTDA ซึ่งเธอบอกว่าเป็นเหมือน องค์การนาซ่าของประเทศไทย ที่จะสามารถนำแนวทางการทำงานและวิธีการทำงานในองค์การนาซ่า สหรัฐฯ มาปรับใช้ได้อย่างแน่นอน

ด้านคุณ กฤษฎา ธาราสุข อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน เชื่อว่าการเข้าร่วมโครงการ NASA DEVELOP จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักเรียนไทยและวงการวิทยาศาสตร์ไทยในอนาคต โดยคาดหวังที่จะเห็นการสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างบุคลากรระดับหัวกระทิด้านวิทยาศาสตร์จากทั้ง 2 ประเทศได้ประสานงานร่วมกันรวมทั้งการนำความรู้จากองค์กรวิทยาศาสตร์และอวกาศระดับโลกมาต่อยอดพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ไทย

โครงการคัดเลือกเข้ารับการอบรมของนักศึกษาไทยทั้ง 10 คน ซึ่งมีนักศึกษาทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 6 คน และนักศึกษาทุนส่วนเอกชนและส่วนตัวอีก 4 คน ในโครงการ NASA DEVELOP ถือเป็นจุดเริ่มต้นในด้านความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งแรกๆ ระหว่างหน่วยงานของไทยกับองค์การนาซ่าเพื่อที่จะสามารถเสริมสร้างและพัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

Your browser doesn’t support HTML5

นักเรียนไทยใช้ฐานข้อมูลนาซ่าพบแนวทางแก้ปัญหาภัยแล้งและผลผลิตการเกษตร