รัฐบาลเมียนมาตื่นตัวเร่งแก้ปัญหาค้ามนุษย์... หลังสหรัฐฯ ลดอันดับเมียนมาลงไปอยู่ "Tier 3"

FILE - 17-year old Rorbiza rests at home of Dapaing, North of Sittwe, western Rakhine state, Myanmar after escaping from a human trafficking boat.

การถูกลดระดับครั้งนี้ หมายความว่าปริมาณความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ที่ให้กับเมียนมาก็อาจลดลงไปด้วย

Your browser doesn’t support HTML5

Myanmar Human Trafficking

เจ้าหน้าที่และนักการเมืองเมียนมาต่างเห็นพ้องกันว่า เมียนมาควรเพิ่มบทบาทในการต่อสู้กับปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลังจากที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตัดสินใจลดระดับเมียนมาไปอยู่ที่กลุ่ม Tier 3 ในรายงานด้านสถานการณ์การลักลอบค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2016 ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้

ในรายงานด้านสถานการณ์การลักลอบค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2016 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เปิดเผยเมื่อเร็วๆนี้ ได้ลดระดับเมียนมาจากกลุ่ม Tier 2 Watch List ไปอยู่ที่กลุ่ม Tier 3 หรือระดับต่ำสุด ซึ่งหมายความว่าในมุมมองของสหรัฐฯ เมียนมายังไม่มีมาตรฐานด้านการปราบปรามปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์ที่เพียงพอ และยังไม่ได้แสดงให้เห็นว่าพยายามปราบปรามปัญหาดังกล่าว

การถูกลดระดับครั้งนี้ หมายความว่าปริมาณความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ที่ให้กับเมียนมา ก็อาจลดลงไปด้วย

FILE - Myanmar government officials and U.N. officials stand on a boat used for human trafficking at a jetty outside Sittwe, Myanmar.

นาย Zaw Htay โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเมียนมาที่มีนางออง ซาน ซูจี เป็นหัวหน้าพรรค ตั้งข้อสงสัยถึงความถูกต้องในรายงานดังกล่าว โดยบอกว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่เข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา และเชื่อว่าที่เมียนมาถูกลดระดับนั้น น่าจะเป็นเพราะไม่สามารถอยู่ในกลุ่ม Tier 2 Watch List เกินกว่า 4 ปีมากกว่า

นาย Zaw Htay ยืนยันว่า ด้วยนโยบายด้านการปราบปรามปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์ เมียนมาจะขยับขึ้นจากกลุ่ม Tier 3 อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังขามากมายว่ารัฐบาลชุดใหม่ของเมียนมา นำโดยนางออง ซาน ซูจี จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ในเมื่อกองทัพเมียนมายังเป็นผู้ครอบครองกำลังพลด้านการรักษากฎหมาย ขณะที่ผู้บัญชาการทหารของเมียนมาต่างถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย เช่น การนำเด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์มาเป็นทหาร การบังคับใช้แรงงานในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อย

ตลอดจนการความล้มเหลวในการป้องกันแรงงานข้ามพรมแดน รวมทั้งผู้ถูกบังคับใช้แรงงานทางเพศ เข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและไทย

สว. Khin Maung Myint ของพรรค NLD จากรัฐคะฉิ่น กล่าวว่าทางพรรค NLD ต้องการให้มีมาตรการที่เด็ดขาดมากกว่านี้ ในการต่อสู้กับขบวนการลักลอบส่งผู้หญิงเมียนมาข้ามพรมแดนเพื่อไปแต่งงานกับชายชาวจีนในแถบชนบท

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการละเมิดสิทธิของชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชาวมุสลิมโรฮิงจะในรัฐยะไข่ ซึ่งทำให้ชาวมุสลิมเหล่านั้นต้องหาทางหลบหนีออกจากประเทศ และเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลเมียนมาชุดใหม่ และนางออง ซาน ซูจี ตกเป็นเป้าวิจารณ์จากต่างชาติว่า ไม่ได้ใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาของชาวมุสลิมโรฮิงจะเท่าที่ควร

นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า การที่สหรัฐฯ ลดระดับเมียนมาให้ไปอยู่ในกลุ่ม Tier 3 จะทำให้เกิดแรงกดดันเพื่อให้รัฐบาลเมียนมาเร่งแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดกับชาวมุสลิมโรฮิงจะ

และว่า แม้การลักลอบขนส่งชาวโรฮิงจะข้ามพรมแดนได้ลดลงมากในปีนี้ เพราะประเทศปลายทางอย่างมาเลเซียและไทย ดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจัง แต่สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่กลับเลวร้ายลงภายใต้รัฐบาลชุดใหม่

FILE - In this May 20, 2015, file photo, migrants including Myanmar's Rohingya Muslims sit on the deck of their boat as they wait to be rescued by Acehnese fishermen on the sea off East Aceh, Indonesia. Myanmar called sad and regrettable a move by the Uni

แต่ สส. Win Myint Aung จากพรรค NLD หนึ่งในคณะกรรมาธิการด้านด้านสิทธิมนุษยชนของสภาผู้แทนราษฎรเมียนมา กล่าวว่าปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในเมียนมา ตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบทหาร โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความยากจน ความไร้เสถียรภาพ และการคอร์รัปชั่น

สส. ผู้นี้ยังชี้ด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในเมียนมานั้น มิได้ร้ายแรงดังที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุไว้ในรายงานชิ้นล่าสุดแต่อย่างใด

(ผู้สื่อข่าว Paul Vrieze รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)