ทีมนักวิจัยเดนมาร์กคิดค้นแอพวัดอารมณ์ของผู้ป่วย 'ไบโพลาร์'

  • George Putic

Your browser doesn’t support HTML5

ทีมนักวิจัยเดนมาร์กคิดค้นแอพวัดอารมณ์ของผู้ป่วย 'ไบโพลาร์'

Your browser doesn’t support HTML5

แอพพ์มือถือวัดอารมณ์ผู้ป่วยไบโพล่า

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าอาการของโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ มีตั้งเเต่อาการอ่อนๆ จนถึงขั้นรุนแรง แต่ผู้ป่วยทั้งหมดจะมีอารมณ์ที่สลับไปมาระหว่างอารมณ์ดีมากเกินปกติกับอารมณ์ซึมเศร้า

และในแต่ละช่วงของการแปรปรวนทางอารมณ์ ผู้ป่วยจะมีอาการที่แตกต่างกันไป

ในช่วงที่อารมณ์ดี หรืออาการเมเนีย ผู้ป่วยจะขยันมากผิดปกติ นอนน้อย เเละยังมีความกล้าเสี่ยงมากขึ้น บางคนอาจจะมีอารมณ์ร้าย และในช่วงที่เกิดอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยจะร้องไห้ ไม่ยอมลุกจากที่นอน หรือบางครั้งอาจคิดถึงเรื่องฆ่าตัวตาย

ปีเตอร์ เฮจเเลนด์ (Peter Hegeland) หนึ่งในผู้ป่วยไบโพลาร์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าสุดๆ นี้เอง ที่จะต้องมีคนคุยด้วย เขากล่าวว่าบางครั้งเขาจะรู้สึกซึมเศร้ามากจนไม่รู้จะบอกคนอื่นได้อย่างไรว่ากำลังต้องการความช่วยเหลือ

บริษัทมอนเสนโซ (Monsenzo) ในเดนมาร์ก ได้คิดค้นแอพมือถือสมาร์ทโฟน ที่สามารถวิเคราะห์อารมณ์และพฤติกรรมของผู้ใช้ เเละจะเตือนแพทย์ที่บำบัดผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว

หนึ่งในผู้ป่วยอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่กำลังทดลองใช้แอพนี้ แมดส์ ไทรเออร์-บลุม (Mads Trier-Blom) กล่าวว่า หากเขารู้สึกเครียด จิตแพทย์ที่ให้การบำบัดซึ่งคอยติดตามดูอาการของเขาเเบบทางไกลจะโทรศัพท์มาถามไถ่อาการทันที

ผู้ป่วยกล่าวว่า แอพพ์ แมดส์ ไทรเออร์-บลุม มีความพิเศษเพราะช่วยแจ้งผลการวัดระดับอารมณ์ของผู้ใช้กลับไปยังแพทย์บำบัด และนักบำบัดจะโทรมาคุยกับผู้ป่วย

นอกเหนือจากการวัดดูพฤติกรรมของผู้ป่วยเเละการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ที่อาจมีผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยเเล้ว ผู้ป่วยที่ใช้แอพนี้ยังต้องทำการประเมินตัวเอง และข้อมูลทั้งหมดจะนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่สำนักงานของจิตแพทย์ผู้ให้การรักษา

คริสโตเฟอร์ โซเดอร์สเตน (Kristoffer Sodersten) จิตแพทย์ชาวสวีเดน กล่าวว่า ข้อมูลที่ได้จากระบบเซ็นเซอร์แบบนี้ เมื่อใช้ร่วมกับการประเมินตัวเองของผู้ป่วย จะช่วยแพทย์ค้นพบว่าข้อมูลที่ได้ตรงกันหรือมีความต่างกัน

บรรดาผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่ได้ทดลองใช้แอพตรวจวัดระดับอารมณ์นี้ ชี้ว่า การตรวจพบการแปรปรวนอารมณ์ของพวกเขาเเต่เนิ่นๆ ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ในการจัดการกับอาการแปรปรวนทางอารมณ์ได้ทันทีที่เกิดขึ้น

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)