กลุ่มผู้จัดงานมหกรรม “วันแม่น้ำโขง” หรือ Mekong Days ที่กรุงวอชิงตัน คาดหวังประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงจะได้รับความสนใจมากขึ้นในเวทีระดับนานาชาติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงผลักดันเชิงอนุรักษ์และความเท่าเทียมในการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมในแม่น้ำนานาชาติแห่งเอเชียอาคเนย์
งานมหกรรม “วันแม่น้ำโขง” หรือ Mekong Days ซึ่งจัดต่อเนื่องหลายวันกระจายในหลายสถานที่ทั่วกรุงวอชิงตันตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับความเป็นไปด้านสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำโขงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีการจัดขึ้นในกรุงวอชิงตันโดยเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชนนานาชาติหลายแห่งที่ต้องการยกระดับประเด็นเรื่องแม่น้ำโขงให้ได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้น
Robert Mather หัวหน้ากลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงเฉียงใต้ องค์การ ระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN หนึ่งในวิทยากรที่เข้าร่วมเสวนาเชิงวิชาการหัวข้อ การพัฒนาการใช้พลังงานน้ำในแม่น้ำโขงอย่างสมดุล (Balacing Act on the Mekong : Building Linkages for More Sustainable Hydropower Development) ที่ Woodrow Wilson Center บอกถึงความสนใจในเรื่องแม่น้ำโขงที่มีมากขึ้นว่าการที่รัฐบาลสหรัฐให้ความสนใจในประเด็นนี้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะนำเสนอประสบการณ์ บทเรียนมาในแวดวงที่กว้างกว่าเดิม ทั้งผู้คนในกรุงวอชิงตัน เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐ ธนาคารโลก องค์กรทางวิชาการต่างๆได้รับรู้ข้อมูลที่รอบด้านมากขึ้น
ด้าน Douglas Varchol ผู้กำกับที่ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “แม่โขง” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอในกิจกรรมครั้งนี้บอกว่า สิ่งสำคัญและละเอียดอ่อนที่สุดในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงคือความโปร่งใสในการเข้าถึงและให้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงไปตรงมา เพราะประสบการณ์จากการลงพื้นที่ถ่ายทำสารคดีในแม่น้ำโขงพบปัญหาคือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนในลุ่มน้ำในสิ่งที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง และไม่ว่าจะเห็นด้วยกับการนำเสนอเนื้อหาของสารคดีหรือไม่แต่เหตุผลสำคัญคือต้องการนำประเด็นในสิ่งที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงให้กว้างขวางออกไปเพื่อให้เกิดการพูดถึงมากขึ้น
ด้าน Wilfried Eckstien ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ สำนักงานกรุงวอชิงตัน หนึ่งในองค์กรที่ร่วมจัดงาน เชื่อว่าการจัดมหกรรม Mekong Days เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเกิดขึ้นเพราะ องค์กรที่จัดงานจะมีส่วนในการโน้มน้าวให้สาธารณชนได้มีส่วนแสดงพัฒนากระบวนการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ และนโยบายทางใดทางหนึ่ง
กิจกรรม วันแม่น้ำโขง หรือ Mekong Days จัดกิจกรรมหลากรูปแบบทั้งในด้านการนำเสนองานศิลปะ ภาพยนตร์สารคดี การจัดเสวนาเชิงวิชาการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น ให้กว้างขวางในระดับนานาชาติมากขึ้นซึ่งถือเป็นการยกระดับประเด็นสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงมากขึ้น
งานมหกรรม “วันแม่น้ำโขง” หรือ Mekong Days ซึ่งจัดต่อเนื่องหลายวันกระจายในหลายสถานที่ทั่วกรุงวอชิงตันตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับความเป็นไปด้านสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำโขงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีการจัดขึ้นในกรุงวอชิงตันโดยเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชนนานาชาติหลายแห่งที่ต้องการยกระดับประเด็นเรื่องแม่น้ำโขงให้ได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้น
Your browser doesn’t support HTML5
Robert Mather หัวหน้ากลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงเฉียงใต้ องค์การ ระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN หนึ่งในวิทยากรที่เข้าร่วมเสวนาเชิงวิชาการหัวข้อ การพัฒนาการใช้พลังงานน้ำในแม่น้ำโขงอย่างสมดุล (Balacing Act on the Mekong : Building Linkages for More Sustainable Hydropower Development) ที่ Woodrow Wilson Center บอกถึงความสนใจในเรื่องแม่น้ำโขงที่มีมากขึ้นว่าการที่รัฐบาลสหรัฐให้ความสนใจในประเด็นนี้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะนำเสนอประสบการณ์ บทเรียนมาในแวดวงที่กว้างกว่าเดิม ทั้งผู้คนในกรุงวอชิงตัน เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐ ธนาคารโลก องค์กรทางวิชาการต่างๆได้รับรู้ข้อมูลที่รอบด้านมากขึ้น
ด้าน Douglas Varchol ผู้กำกับที่ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “แม่โขง” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอในกิจกรรมครั้งนี้บอกว่า สิ่งสำคัญและละเอียดอ่อนที่สุดในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงคือความโปร่งใสในการเข้าถึงและให้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงไปตรงมา เพราะประสบการณ์จากการลงพื้นที่ถ่ายทำสารคดีในแม่น้ำโขงพบปัญหาคือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนในลุ่มน้ำในสิ่งที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง และไม่ว่าจะเห็นด้วยกับการนำเสนอเนื้อหาของสารคดีหรือไม่แต่เหตุผลสำคัญคือต้องการนำประเด็นในสิ่งที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงให้กว้างขวางออกไปเพื่อให้เกิดการพูดถึงมากขึ้น
ด้าน Wilfried Eckstien ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ สำนักงานกรุงวอชิงตัน หนึ่งในองค์กรที่ร่วมจัดงาน เชื่อว่าการจัดมหกรรม Mekong Days เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเกิดขึ้นเพราะ องค์กรที่จัดงานจะมีส่วนในการโน้มน้าวให้สาธารณชนได้มีส่วนแสดงพัฒนากระบวนการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ และนโยบายทางใดทางหนึ่ง
กิจกรรม วันแม่น้ำโขง หรือ Mekong Days จัดกิจกรรมหลากรูปแบบทั้งในด้านการนำเสนองานศิลปะ ภาพยนตร์สารคดี การจัดเสวนาเชิงวิชาการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น ให้กว้างขวางในระดับนานาชาติมากขึ้นซึ่งถือเป็นการยกระดับประเด็นสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงมากขึ้น