องค์กรเอกชนจากหลายประเทศร่วมยกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงจัดกิจกรรม “วันแม่น้ำโขง” หรือ Mekong Days ในกรุงวอชิงตันตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือการเปิดรอบฉายภาพยนตร์สารคดีชุด “แม่โขง” ที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของสายน้ำและชีวิตในลุ่มแม่โขง
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “แม่โขง” ฝีมือของผู้กำกับ Douglas Varchol ที่ทำงานผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศแถบเอเชียมานานกว่า 20 ปี ได้รับเชิญนำจัดแสดงและเปิดฉายรอบพิเศษในพิธีเปิดงานกิจกรรม “วันแม่น้ำโขง” หรือ Mekong Days ที่สถาบันเกอเธ่ (Goethe Institut) และองค์กรเอกชนนานาชาติหลายแห่งร่วมกันจัดขึ้นตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่กรุงวอชิงตัน
สารคดีเรื่อง “แม่โขง” สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งแต่การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งทางตอนบนในประเทศจีน ต่อเนื่องถึงโครงการสร้างเขื่อน ไซยะบุรี ของรัฐบาลลาว กั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตไฟฟ้า รวมไปถึงแผนก่อสร้างเขื่อนอีกกว่า 150 แห่งกั้นแม่น้ำสายนี้ ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อมหลายประเทศลุ่มแม่โขงทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทยอีกหลายสิบล้านคน สารคดีชุดนี้ยังแปลและเผยแพร่ในหลายภาษาอีกด้วย
Douglas Varchol ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีแม่โขง บอกว่า ทีมงานใช้เวลากว่า 1 ปีเพื่อถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับผู้คนใน 4 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และการถ่ายทำก็ยังดำเนินต่อในประเทศเวียดนามที่ในเรื่องวิถีของผู้คนบริเวณปากอ่าวแม่น้ำโขงหรือ แม่โขงเดลต้าในเวียดนาม
Giselinde Tuten ผู้ร่วมในพิธีเปิดกิจกรรมวันแห่งแม่น้ำโขง ที่สถาบันเกอเธ กรุงวอชิงตัน บอกว่า เธอให้ความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และนี่คือครั้งแรกๆที่ได้ทราบความเป็นไปในแม่น้ำโขง และ หลังจากได้ชมภาพยนตร์ทำให้รู้สึกถึงเสียงเรียกร้องของผู้คนในลุ่มแม่น้ำโขงที่ต้องการความช่วยเหลือ และสนับสนุน โอกาสในการดำรงชีวิต โอกาสในการรักษาวิถีของตัวเองที่มีความสำคัญ ไม่ด้อยไปกว่าอุตสาหกรรม
เช่นเดียวกับ Russell Belcher ผู้ชมชาวอเมริกัน ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าจะทำอย่างไรที่จะปกป้องธรรมชาติของโลกใบนี้ ซึ่งก็เท่ากับการปกป้องตัวเราเอง และผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติทราบดีว่า การทำลายชีวิต ทำลายสิ่งแวดล้อมก็เท่ากับทำลายตัวเราเอง
นอกจากการจัดแสดงภาพยนตร์แล้ว สถาบันเกอเธ ยังจัดแสดงภาพถ่ายผลงานของศิลปินจากเวียดนาม กัมพูชา และไทย ที่สะท้อนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนกับแม่น้ำโขงให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ชมอีกด้วย
Wilfried Eckstien ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ สำนักงานกรุงวอชิงตัน บอกว่า การจัดกิจกรรมนำเสนอเรื่องราวของศิลปะ ที่มีมุมมองของประสบการณ์แปลกใหม่จากอีกส่วนหนึ่งของมุมโลกถือเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันด้วยการเลือกจัดนิทรรศการของศิลปินต่างๆเพื้อได้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดเห็นต่างๆให้ผู้คนในอเมริกาและทั่วโลกได้รับรู้ เข้าใจ และตัดสินใจ
กิจกรรม วันแม่น้ำโขง หรือ Mekong Days จัดต่อเนื่องหลายวันกระจายในสถานที่หลายแห่งทั่วกรุงวอชิงตัน นำเสนอในหลายรูปแบบ รวมไปถึงการจัดเสวนาเชิงวิชาการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากองค์กรเอกชน และภาครัฐต่างๆ ซึ่งถือเป็นการยกประเด็นเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงมาจัดกิจกรรมในกรุงวอชิงตันครั้งใหญอีกครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “แม่โขง” ฝีมือของผู้กำกับ Douglas Varchol ที่ทำงานผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศแถบเอเชียมานานกว่า 20 ปี ได้รับเชิญนำจัดแสดงและเปิดฉายรอบพิเศษในพิธีเปิดงานกิจกรรม “วันแม่น้ำโขง” หรือ Mekong Days ที่สถาบันเกอเธ่ (Goethe Institut) และองค์กรเอกชนนานาชาติหลายแห่งร่วมกันจัดขึ้นตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่กรุงวอชิงตัน
สารคดีเรื่อง “แม่โขง” สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งแต่การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งทางตอนบนในประเทศจีน ต่อเนื่องถึงโครงการสร้างเขื่อน ไซยะบุรี ของรัฐบาลลาว กั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตไฟฟ้า รวมไปถึงแผนก่อสร้างเขื่อนอีกกว่า 150 แห่งกั้นแม่น้ำสายนี้ ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อมหลายประเทศลุ่มแม่โขงทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทยอีกหลายสิบล้านคน สารคดีชุดนี้ยังแปลและเผยแพร่ในหลายภาษาอีกด้วย
Douglas Varchol ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีแม่โขง บอกว่า ทีมงานใช้เวลากว่า 1 ปีเพื่อถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับผู้คนใน 4 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และการถ่ายทำก็ยังดำเนินต่อในประเทศเวียดนามที่ในเรื่องวิถีของผู้คนบริเวณปากอ่าวแม่น้ำโขงหรือ แม่โขงเดลต้าในเวียดนาม
Giselinde Tuten ผู้ร่วมในพิธีเปิดกิจกรรมวันแห่งแม่น้ำโขง ที่สถาบันเกอเธ กรุงวอชิงตัน บอกว่า เธอให้ความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และนี่คือครั้งแรกๆที่ได้ทราบความเป็นไปในแม่น้ำโขง และ หลังจากได้ชมภาพยนตร์ทำให้รู้สึกถึงเสียงเรียกร้องของผู้คนในลุ่มแม่น้ำโขงที่ต้องการความช่วยเหลือ และสนับสนุน โอกาสในการดำรงชีวิต โอกาสในการรักษาวิถีของตัวเองที่มีความสำคัญ ไม่ด้อยไปกว่าอุตสาหกรรม
เช่นเดียวกับ Russell Belcher ผู้ชมชาวอเมริกัน ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าจะทำอย่างไรที่จะปกป้องธรรมชาติของโลกใบนี้ ซึ่งก็เท่ากับการปกป้องตัวเราเอง และผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติทราบดีว่า การทำลายชีวิต ทำลายสิ่งแวดล้อมก็เท่ากับทำลายตัวเราเอง
นอกจากการจัดแสดงภาพยนตร์แล้ว สถาบันเกอเธ ยังจัดแสดงภาพถ่ายผลงานของศิลปินจากเวียดนาม กัมพูชา และไทย ที่สะท้อนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนกับแม่น้ำโขงให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ชมอีกด้วย
Wilfried Eckstien ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ สำนักงานกรุงวอชิงตัน บอกว่า การจัดกิจกรรมนำเสนอเรื่องราวของศิลปะ ที่มีมุมมองของประสบการณ์แปลกใหม่จากอีกส่วนหนึ่งของมุมโลกถือเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันด้วยการเลือกจัดนิทรรศการของศิลปินต่างๆเพื้อได้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดเห็นต่างๆให้ผู้คนในอเมริกาและทั่วโลกได้รับรู้ เข้าใจ และตัดสินใจ
กิจกรรม วันแม่น้ำโขง หรือ Mekong Days จัดต่อเนื่องหลายวันกระจายในสถานที่หลายแห่งทั่วกรุงวอชิงตัน นำเสนอในหลายรูปแบบ รวมไปถึงการจัดเสวนาเชิงวิชาการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากองค์กรเอกชน และภาครัฐต่างๆ ซึ่งถือเป็นการยกประเด็นเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงมาจัดกิจกรรมในกรุงวอชิงตันครั้งใหญอีกครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา