นักวิจัยคิดค้นการทำพันธุวิศวกรรมให้ยุงออกลูกเป็นตัวผู้ทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะของมาลาเรีย

Your browser doesn’t support HTML5

malaria

นาย Peter Hotez คณบดีแห่งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยการเเพทย์เบเล่อร์ กล่าวว่า มีเหตุผลสนับสนุนมากมายว่าทำไมเราควรหาทางกำจัดยุงให้สิ้นซาก เขากล่าวว่ายุงถือเป็นสัตว์ที่อันตรายที่สุดในโลกเพราะมีคนเสียชีวิตจากโรคที่ยุงเป็นพาหะมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคชนิดอื่นๆ

การฉีดสารเคมีฆ่ายุงเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง แต่การใช้สารเคมีฉีดฆ่ายุงมีผลเสียตามมา เพราะยังฆ่าผึ้งและแมลงที่มีคุณชนิดอื่นๆด้วย ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งเเวดล้อม และในที่สุด ยุงจะพัฒนาตนเองให้ทนทานต่อยาฆ่าเเมลง ทำให้สารเคมีไม่ได้ผลอีกต่อไป

แต่ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Imperial College กรุง London ชี้ว่าพวกเขาค้นพบวิธีกำจัดยุงที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งเเวดล้อมและเเมลงขนิดอื่นๆ

คุณ Nikolai Windbichler ชี้ว่าทีมงานได้ค้นพบวิธีกำจัดยุงอย่างไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยเป็นการแทรกแซงโครโมโซมของยุงที่มีบทบาทในการผลิตลูกยุงตัวเมีย

ยุงตัวเมียเป็นยุงที่กัดและเป็นตัวเเพร่พันธุ์ ทีมนักวิจัยที่นำโดยคุณ Nikolai Windbichler ได้คิดค้นวิธีทำพันธุวิศวกรรมยุงด้วยการแทรกแซงโครโมโซมของยุงโดยใช้โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีผลให้ยุงผลิตเฉพาะลูกยุงตัวผู้เท่านั้นและเมื่อไม่มียุงตัวเมีย ยุงก็ไม่สามารถเเพร่พันธุ์ได้และจะหมดไปในที่สุด

คุณ Windbichler ชี้ว่าวิธีนี้จะช่วยกำจัดยุงโดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมกับแมลงชนิดอื่นๆ เขากล่าวว่าหากลองเปรียบเทียบวิธีกำจัดยุงด้วยวิธีนี้กับการฉีดยาฆ่ายุงจะเห็นว่าวิธีการแทรกแซงทางโครโมโซมให้ยุงผลิตเฉพาะลูกยุงตัวผู้เป็นวิธีที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงเพราะมุ่งเป้าไปที่ยุงเท่านั้น

ทีมนักวิจัยยังต้องทำการทดลองอีกหลายครั้งเพื่อทดสอบความปลอดภัยของวิธีกำจัดยุงที่คิดค้นขึ้น พวกเขาได้ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับการคิดค้นวิธีกำจัดยุงนี้ในวารสาร Nature Communication เมื่อเร็วๆนี้

ทางด้านนาย Peter Hotez คณบดีแห่งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยการเเพทย์เบเล่อร์ กล่าวว่า การวิจัยนี้น่าสนใจมากแต่ยังยังอยู่ในขั้นแรกเริ่ม นาย Hotez กล่าวว่าการกำจัดมาลาเรียให้ได้ผล ต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน นอกเหนือจากการทำพันธุวิศวกรรมยุงเพื่อให้ผลิตเฉพาะลูกยุงตัวผู้

เขากล่าวว่าจำเป็นต้องมีการคิดค้นยารักษามาลาเรียชนิดใหม่และวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียเพื่อใช้ควบคู่กับวิธีป้องกันแบบดั้งเดิม เช่น การนอนกางมุ้ง การทำลายเเหล่งเพาะพันธุ์ยุงและเเหล่งน้ำขัง