การเจรจานิวเคลียร์กับเกาหลีเหนือเผชิญความซับซ้อนจากประเด็นสิทธิมนุษยชน

FILE - A South Korean man reads a newspaper with the headline reporting North Korea's rocket launch while traveling on a subway in Seoul, South Korea, Dec. 13, 2012.

Your browser doesn’t support HTML5

US Korea Human Rights

หลังจากที่ถูกกดดันเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยทางการอเมริกัน กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือเตือนว่า มาตรการลงโทษกรุงเปียงยางอาจขวางกั้นการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี

กระทรวงต่างประเทศเกาหลีเหนือกล่าวเมื่อวันอาทิตยว่า การใช้มาตรการลงโทษเกาหลีเหนือโดยคิดว่าจะเกิดความคืบหน้าเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์ จะเป็นการคาดการณ์ผิดครั้งใหญ่หลวง

ท่าทีของเกาหลีเหนือล่าสุดนี้เป็นการตอบโต้การขึ้นบัญชีดำเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือสามรายโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนและปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร

หนึ่งในบุคคลที่ถูกขึ้นบัญชีดำคือผู้ช่วยคนสำคัญของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ

ภายใต้มาตรการลงโทษดังกล่าว ทั้งสามรายจะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆกับบุคคลหรือนิติบุคคลในสหรัฐฯ และทางการสหรัฐฯ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของคนเหล่านี้ในดินแดนที่อยู่ใต้ระบบกฎหมายอเมริกัน

ทูตเกาหลีเหนือประจำสหประชาชาติ นายคิม ซอง กล่าวว่า การใช้มาตรการลงโทษนี้เป็นแผนทางการเมือง และเป็นผลของอำนาจที่ไม่เป็นมิตรต่อเกาหลีเหนือ และเขาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านั้นต่อชาวเกาหลีเหนือสามรายในทุกประเด็น

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศอเมริกันรายหนึ่งบอกกับวีโอเอภาคภาษาเกาหลีว่า สหรัฐฯ จะยังคงนำเรื่องสิทธิมนุษยนชนมาเป็นประเด็นพิจารณาเรื่องเกาหลีเหนือต่อไป

แหล่งข่าวกล่าวว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ไ ด้ยกประเด็นนี้มาหารือกับนายคิม จอง อึน ที่การประชุมสุดยอดกับเกาหลีเหนือ เมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ และจะทำเช่นนี้ต่อไปในอนาคต

นักวิเคราะห์มีทัศนะที่ต่างกันเมื่อถูกถามว่าเรื่องสิทธิมนุษยนชนจะขัดขวางการหารือแผนปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลีหรือไม่

เคน กอส (Ken Gause) ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเคราะห์กิจการต่างประเทศของ Center for Naval Analyses กล่าวว่า ประเด็นสิทธิมนุษยนอาจสั่นคลอนการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ เพราะฝ่ายเกาหลีเหนือมุ่งหวังไว้ว่าการประชุมสุดยอดระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ และคิม จอง อึน ที่สิงคโปร์ ได้ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศดีขึ้น

เขาบอกว่าในสายตากรุงเปียงยาง การนำเรื่องสิทธิมนุษยชนมาเป็นประเด็น ถือว่าบั่นบอนความตกลงที่เกิดขึ้นที่สิงคโปร์

อย่างไรก็ตาม จอห์น เฟฟเฟอร์ (John Feffer) ผู้อำนวยการหน่วยงาน Foreign Policy in Focus เห็นว่าเรื่องสิทธิมนุษยนชนไม่น่าทำลายความคืบหน้าเรื่องการเจรจานิวเคลียร์

เขาอธิบายว่า ในที่สุดแล้วเกาหลีเหนือน่าจะสนใจมากกว่าที่จะดูว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะมีการอ่อนข้อในเรื่องใดบ้าง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี

ส่วนโรเบิร์ต แมนนิง (Robert Manning) แห่งสถาบัน Atlantic Council เห็นว่า รัฐบาลอเมริกันควรจะแยกเรื่องสิทธิมนุษยชนออกจากการเจรจานิวเคลียร์ตั้งแต่ต้น เพราะการต่อว่าเกาหลีเหนือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนหัวใจของความพยายามทางการทูต

เขากล่าวทิ้งท้ายว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุยชนเป็นเรื่องสำคัญและควรถูกนำมาพูดถึง แต่ควรเก็บไว้ในช่วงการเจรจาปรับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมากกว่าที่โต๊ะเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของ Christy Lee)