วิเคราะห์: อนาคตการปลดนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ หากเกิดการประชุมสุดยอด 'ปูติน-คิม'

North Korean leader Kim Jong Un, right, and Choe Ryong Hae, vice-chairman of the central committee of the Workers' Party, arrive for the official opening of the Ryomyong residential area, in Pyongyang, North Korea, April 13, 2107.

Your browser doesn’t support HTML5

Putin Kim

โฆษกของรัฐบาลรัสเซียเดมิทริ เพสคอฟยืนยันในวันจันทร์ว่า ขณะนี้มีการเตรียมการจริงสำหรับการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย และผู้นำเกาหลีเหนือนายคิม จองอึน

และสื่อยอนฮับของเกาหลีใต้รายงานว่า ปูตินและคิมอาจพบกันในสัปดาห์หน้า

นักวิเคราะห์กล่าวว่าผู้นำทั้งสองต่างตระหนักดีว่า การพบกันครั้งนี้ถูกจับตามองจากสหรัฐฯ หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้พบกันแล้วกับคิม จองอึนสองครั้งในช่วงปีกว่าๆที่ผ่านมา

ทั้งเกาหลีเหนือและรัสเซียต่างทราบดีว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไรและทั้งคู่คำนึงถึงท่าทีของสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาตอบกลับต่อการประชุมสุดยอดของปูตินและคิม

สำหรับรัฐบาลเปียงยาง ประเด็นเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญหลังจากที่เกาหลีเหนือถูกมาตรการลงโทษจากสหรัฐฯ และนานาชาติ

นักวิเคราะห์กล่าวว่า นายคิม จองอึนอาจใช้โอกาสนี้ขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากประธานาธิบดีปูติน

และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดขึ้นกับรัสเซียอาจช่วยกรุงเปียงยางเพิ่มอำนาจต่อรองเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ

ส่วนรัสเซีย อาจมองหาประโยชน์จากการเจรจากับเกาหลีเหนือในด้านภาพลักษณ์ในเวทีระหว่างประเทศว่า รัสเซียไม่ได้ถูกลดทอนบทบาทในการหารือหัวข้อสำคัญนี้

แอนดรี เลนคอฟ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Kookmin ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้กล่าวว่า บทบาทของรัสเซียในเรื่องนี้ไม่น่าสร้างความปั่นป่วนให้กับการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ระหว่างประธานาธิบดีทรัมป์และผู้นำคิม

เขากล่าวว่าในเรื่องนี้ ผลประโยชน์แห่งชาติของรัสเซียและสหรัฐฯ ไม่ได้แตกต่างกัน กล่าวคือทั้งคู่ต้องการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ และรักษาภาพรวมความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือไว้คงเดิม

นักวิเคราะห์กล่าวว่ารัสเซียคงไม่ต้องการสร้างความแน่นแฟ้นกับกรุงเปียงยางมากเกินไป จนทำให้เกาหลีใต้ไม่พอใจ เพราะเกาหลีใต้เป็นคู่ค้าที่สำคัญของรัสเซีย

Russian President Vladimir Putin speaks during a meeting with a group of French politicians visiting Crimea, in Simferopol, March 18, 2019.

ผู้สันทัดกรณี แอนโธนี รินนา แห่ง หน่วยงานวิเคราะห์ Sino-NK กล่าวว่า ที่รัสเซียสนใจที่จะสร้างความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ มีเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของรัฐบาลเครมลินในการขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออก หลังสงครามเย็น

น่าสังเกตว่า รัสเซียเคยร่วมมืออย่างดีกับสหรัฐฯและประเทศอื่นๆในการใช้มาตรการลงโทษเกาหลีเหนือ แต่ในเวลาต่อมารัฐบาลเครมลินขอให้มีการผ่อนปรนการลงโทษ

และบริษัทรัสเซียหลายแห่งขายนำ้มันให้กับเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมาตรการลงโทษของนานาประเทศ

ส่วนในเรื่องกลาโหม หากพิจารณาถึงทหารอเมริกันที่ประจำการในเกาหลีใต้ 28,000 คน ความใกล้ชิดกับเกาหลีเหนือน่าจะช่วยรัสเซียคานอำนาจสหรัฐฯในภูมิภาคนี้ได้

นักวิเคราะห์มองว่าการข้องเกี่ยวกับกรุงเปียงยางโดยรัสเซียน่าจะทำให้รัสเซียแสดงบทบาทป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซำ้รอยที่เกาหลีเหนือและสหรัฐฯทำสงครามวาทะกันในช่วงปี พ.ศ. 2560 ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าอาจมีการใช้อาวุธร้ายแรงโจมตีกัน

U.S. President Donald Trump and North Korea's leader Kim Jong Un meet during the second U.S.-North Korea summit at the Sofitel Legend Metropole hotel in Hanoi, Feb. 28, 2019.

นอกจากเรื่องการรักษาดุลอำนาจแล้ว รัสเซียอยู่ในสถานะที่ไม่ง่ายที่จะสนับสนุนเกาหลีเหนือด้านเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจของรัสเซียเองก็เผชิญกับปัญหาในขณะนี้

และภายใต้กฎของนานาประเทศ การให้ความช่วยเหลือเกาหลีเหนือด้านเศรษฐกิจทำได้อย่างจำกัด

ตัวอย่างเช่น เกาหลีเหนือเคยเเสดงความสนใจที่จะซื้อเครื่องบินพาณิชย์จากรัสเซีย แต่มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อ 2 ปีก่อนห้ามการขายยานพาหนะแก่เกาหลีเหนือ

โฆษกของรัฐบาลรัสเซียเดมิทริ เพสคอฟได้กล่าวไว้แล้วว่า อาจมีการตั้งความหวังและเป้าหมายไว้หลายเรื่อง แต่ผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร และจะมีเรื่องใดบ้างที่ได้รับการสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ยังคงเป็นสิ่งเขาไม่ทราบ ณ ขณะนี้