Your browser doesn’t support HTML5
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขต Irvine ศึกษาสมองของแมลงหวี่ที่ได้รับจีนส์ของหิ่งห้อยจากการตัดแต่งทางพันธุกรรมบนจานทดลองเพื่อให้เข้าใจกลไกของอาการ Jet Lag ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เดินทางระยะไกลข้ามหลายเส้นแบ่งช่วงเวลา
โดยนักวิจัยฉายแสงต่อเซลล์สมองของแมลงหวี่เป็นเวลาสองชั่วโมงเพื่อจำลองการได้รับอิทธิพลจากแสงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนาฬิกาชีวะ หรือ Biological Clock ในร่างกายมนุษย์ และได้พบว่าภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวการทำงานและการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองต่างๆ จะเสียระบบไป
จากความรู้ที่ได้นี้นักวิจัยจึงสามารถใช้วิธีแสงส่องแสงเพื่อช่วยเตรียมนาฬิกาชีวะของคนเราล่วงหน้าก่อนการเดินทางเพื่อช่วยให้สามารถฟื้นตัวจากอาการ Jet Lag นี้ได้อย่างรวดเร็ว
Your browser doesn’t support HTML5