นักวิจัยอเมริกันชี้ว่าสีบางสีจากแสงบางสีที่คนเรามองเห็นในช่วงกลางคืนมีผลให้เกิดอาการซึมเศร้า การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพิ่มเติมจากผลการศึกษาก่อนหน้าที่พบว่าคนที่ได้รับเเสงสลัวๆในช่วงกลางคืน อาทิ แสงจากจอโทรทัศน์ มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้
ทีมนักวิจัยเกิดความสงสัยว่าสีของแสงสีใดมีผลให้คนเราเกิดอาการซึมเศร้าได้ พวกเขาทดลองใช้แสงสีต่างๆกับหนูแฮมสเตอร์ ทีมนักวิจัยเลือกทดลองกับหนูแฮมสเตอร์เพราะเห็นว่าเป็นสัตว์ที่นอนกลางวันและตื่นในตอนกลางคืน
ทีมนักวิจัยได้จัดให้หนูแฮมสเตอร์กลุ่มแรกนอนหลับอยู่ในกรงที่มืดสนิทตลอดช่วงกลางคืน อีกกลุ่มหนึ่งนอนหลับใต้เเสงสีฟ้า ส่วนกลุ่มที่สามได้รับแสงไฟสีขาวและหนูกลุ่มที่สี่ได้รับแสงสีแดง หลังจากนั้นสี่สัปดาห์ นักวิจัยบันทึกปริมาณน้ำที่หนูทดลองดื่ม โดยในน้ำมีน้ำตาลผสม หากหนูเกิดอาการซึมเศร้ามากขึ้นก็จะยิ่งดื่มน้ำชนิดนี้น้อยลง
คุณเเรนดี้ เนลสัน หัวหน้าภาควิชาประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University ซึ่งเป็นผู้ร่วมร่างผลการศึกษานี้ กล่าวว่าหนูแฮมสเตอร์ที่นอนหลับภายใต้แสงสีฟ้าและแสงสีขาวปรากฏอาการซึมเศร้ามากที่สุด
คุณเนลสันกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่านักวิจัยพบว่าสัตว์ในการทดลองยังนอนหลับภายใต้แสงไฟสีต่างๆได้ตามปกติแต่พบว่าแสงสีฟ้ากับแสงสีขาวมีผลกระทบต่อระบบนาฬิกาชีวิตในสมองของสัตว์ทดลองและก่อให้เกิดความซึมเศร้า
คุณเนลสันอธิบายว่าเซลล์ในเรตีน่าที่มีความไวต่อแสง แม้จะไม่มีบทบาทอะไรต่อการมองเห็น แต่เซลล์ดังกล่าวสามารถจับเเสงและส่งสัญญาณไปยังระบบนาฬิกาชีวิตซึ่งอยู่ในสมองที่ควบคุมวงจรการตื่นและหลับตามธรรมชาติ
คุณเนลสันชี้ว่าในเเสงสีขาวมีแสงสีฟ้าอยู่ในระดับสูง ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมหนูแฮมสเตอร์ที่นอนหลับใต้แสงสีฟ้าและแสงสีขาวจึงมีอาการซึมเศร้ามากกว่าหนูกลุ่มที่นอนหลับใต้เเสงสีแดงและกลุ่มที่นอนท่ามกลามความมืืด
คุณเนลสันเเนะนำปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากคุณทำงานในช่วงกลางวันและพักผ่อนในตอนกลางคืน คุณควรจำกัดเวลาในการชมโทรทัศน์ที่จะปล่อยแสงที่มีสีค่อนไปทางสีฟ้า นี่รวมทั้งคอมพิวเตอร์ด้วยหรือคุณควรใช้แผ่นกรองเเสงติดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อปรับแสงที่ปล่อยออกมาทางหน้าจอกลายเป็นสีค่อนไปทางสีแดง
ทีมนักวิจัยเกิดความสงสัยว่าสีของแสงสีใดมีผลให้คนเราเกิดอาการซึมเศร้าได้ พวกเขาทดลองใช้แสงสีต่างๆกับหนูแฮมสเตอร์ ทีมนักวิจัยเลือกทดลองกับหนูแฮมสเตอร์เพราะเห็นว่าเป็นสัตว์ที่นอนกลางวันและตื่นในตอนกลางคืน
ทีมนักวิจัยได้จัดให้หนูแฮมสเตอร์กลุ่มแรกนอนหลับอยู่ในกรงที่มืดสนิทตลอดช่วงกลางคืน อีกกลุ่มหนึ่งนอนหลับใต้เเสงสีฟ้า ส่วนกลุ่มที่สามได้รับแสงไฟสีขาวและหนูกลุ่มที่สี่ได้รับแสงสีแดง หลังจากนั้นสี่สัปดาห์ นักวิจัยบันทึกปริมาณน้ำที่หนูทดลองดื่ม โดยในน้ำมีน้ำตาลผสม หากหนูเกิดอาการซึมเศร้ามากขึ้นก็จะยิ่งดื่มน้ำชนิดนี้น้อยลง
คุณเเรนดี้ เนลสัน หัวหน้าภาควิชาประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University ซึ่งเป็นผู้ร่วมร่างผลการศึกษานี้ กล่าวว่าหนูแฮมสเตอร์ที่นอนหลับภายใต้แสงสีฟ้าและแสงสีขาวปรากฏอาการซึมเศร้ามากที่สุด
คุณเนลสันกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่านักวิจัยพบว่าสัตว์ในการทดลองยังนอนหลับภายใต้แสงไฟสีต่างๆได้ตามปกติแต่พบว่าแสงสีฟ้ากับแสงสีขาวมีผลกระทบต่อระบบนาฬิกาชีวิตในสมองของสัตว์ทดลองและก่อให้เกิดความซึมเศร้า
คุณเนลสันอธิบายว่าเซลล์ในเรตีน่าที่มีความไวต่อแสง แม้จะไม่มีบทบาทอะไรต่อการมองเห็น แต่เซลล์ดังกล่าวสามารถจับเเสงและส่งสัญญาณไปยังระบบนาฬิกาชีวิตซึ่งอยู่ในสมองที่ควบคุมวงจรการตื่นและหลับตามธรรมชาติ
คุณเนลสันชี้ว่าในเเสงสีขาวมีแสงสีฟ้าอยู่ในระดับสูง ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมหนูแฮมสเตอร์ที่นอนหลับใต้แสงสีฟ้าและแสงสีขาวจึงมีอาการซึมเศร้ามากกว่าหนูกลุ่มที่นอนหลับใต้เเสงสีแดงและกลุ่มที่นอนท่ามกลามความมืืด
คุณเนลสันเเนะนำปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากคุณทำงานในช่วงกลางวันและพักผ่อนในตอนกลางคืน คุณควรจำกัดเวลาในการชมโทรทัศน์ที่จะปล่อยแสงที่มีสีค่อนไปทางสีฟ้า นี่รวมทั้งคอมพิวเตอร์ด้วยหรือคุณควรใช้แผ่นกรองเเสงติดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อปรับแสงที่ปล่อยออกมาทางหน้าจอกลายเป็นสีค่อนไปทางสีแดง