วิเคราะห์: ผู้นำบางประเทศปรับเทคนิค “คุมสื่อ” อย่างไรในยุคดิจิทัล

Protesters march against internet shutdown in Rakhine state in Yangon, Myanmar, February 23, 2020. Picture taken February 23, 2020 . REUTERS/Stringer NO RESALES. NO ARCHIVES - RC2Z6F9ZRRJI

ในอดีตผู้นำเผด็จการจะเข้าควบคุมสถานีวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อต้องการช่วงชิงความได้เปรียบด้านข่าวสาร แต่ในปัจจุบันเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ คือการตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆ คือการตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตในเมียนมา เมื่อทหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางออง ซาน ซูจี และเมื่อพิจารณาเหตุการณ์ในประเทศต่าๆ เช่น ยูกันดา เอธิโอเปีย และอินเดียก็มีการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ

อัลป์ โทเคอร์ ผู้ก่อตั้งองค์กร Netblocks ซึ่งเก็บข้อมูลการตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตกล่าวกับสำนักข่าวเอพี (The Associated Press) ว่า การดำเนินการดังกล่าวโดยรัฐเกิดขึ้นบ่อย แต่ไม่ค่อยตกเป็นข่าว

เมื่อปีที่แล้วมีการตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตครั้งใหญ่ทั้งหมด 93 ครั้ง ใน 21 ประเทศ ตามข้อมูลของ Top10VPN ซึ่งเป็นองค์กรวิเคราะห์และวิจัยด้านดิจิทัลที่อังกฤษ

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่สวนทางกับประเทศตะวันตกที่มีพยายามคานอิทธิพลของบริษัทโซเชียลมีเดีย จากการที่บริษัทเหล่านี้ เล่นบทกรองข้อมูลที่ถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อสังคม โดยบทบาทดังกล่าวของบริษัทสื่อออนไลน์เหล่านี้ ทำให้เกิดความกังวลถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

สำหรับประเทศที่รัฐเป็นผู้ปิดกั้นข้อมูล สำนักข่าวเอพีรายงานถึงสถานการณ์ต่างๆดังนี้

เมียนมา

สัญญาณอินเตอร์เน็ตในเมียนมาถูกตัดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อสุดสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ซึ่งดูเหมือนว่า เป็นความพยายามสะกัดแผนนัดรวมตัวประท้วงของประชาชนหลังจากที่กองทัพยึดอำนาจรัฐบาลของนางซูจี แต่ในเวลาต่อมา ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ประชาชนมีอินเตอร์เน็ตกลับมาใช้ได้อีกครั้งบนโทรศัพท์

Police fire a water cannon at protesters demonstrating against the coup and demanding the release of elected leader Aung San Suu Kyi, in Naypyitaw, Myanmar, February 8, 2021.

บริษัทสัญชาตินอร์เวย์ “เทเลนอร์” ผู้ให้บริหารเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในเมียนมา กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมาสั่งผู้ประกอบการเอกชนว่าต้องตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพราะเกิดการเผยเเพร่ข่าวเท็จ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

ทั้งนี้การตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องใหม่ของเมียนมา รัฐบาลเคยตัดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นเวลากว่าหนึ่งปี ในเเคว้นยะไข่ เพราะต้องการสร้างความยากลำบากต่อปฏิบัติการของกองกำลังติดอาวุธที่ท้าทายรัฐบาลกลาง

อินเตอร์เน็ตในบริเวณดังกล่าวถูกปิดกั้นมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนสองปีก่อน และเพิ่มกลับมาใช้ได้เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์

เอธิโอเปีย

พื้นที่การสู้รบจากความขัดเเย้งในเขตทิเกรย์ของเอธิโอเปียไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน สำนักข่าวเอพีรายงานว่าเขตดังกล่าวน่าจะยังคงไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ต่อไปในระยะนี้ และนั่นทำให้ประชาคมโลกไม่สามารถทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของพลรือนจากการสู้รบได้

SEE ALSO: กองทัพคุมเมืองหลวงเอธิโอเปีย หลังเหตุจลาจลคร่าไปกว่า 80 ชีวิต

ยูกันดา

รัฐบาลยูกันดาจำกัดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊กและยูทิวบ์ ก่อนถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดี 14 มกราคม และหนึ่งวันก่อนการเลือกตั้ง ประชาชนไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตใช้ทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่กล่าวว่าที่ต้องตัดสัญญาณเพราะต้องการป้องกันการประท้วงที่รุนแรงจากผู้สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาล

เบลารุส

สัญญาณอินเตอร์เน็ตของประเทศถูกตัดเป็นเวลา 61 ชั่วโมง หลังการเลือตั้งวันที่ 9 สิงหาคม ถือเป็นการปิดการติดต่อสื่สารทางอินเตอร์เน็ตครั้งเเรกในยุโรป

ชัยชนะของการเลือกตั้งตกเป็นของประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ผู้นำเผด็จการของประเทศ และการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองว่ามีทุจริตเกิดขึ้น โดยประชาชนจำนวนมากออกมาเดินขบวนประท้วง

เป็นเวลาหลายเดือนเเล้วที่สัญญาณอินเตอร์เน็ตยังคงไม่ปกติ ในเบลารุศโดยจะเกิดปัญหาติดขัดเมื่อมีการเดินขบวนประท้วงในช่วงสุดสัปดาห์

FILE - Law enforcement officers detain two men as opposition supporters rally to protest against police violence and the Belarus presidential election results in Minsk, Nov. 29, 2020.

อินเดีย

การปิดระบบอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นในประเทศประชาธิปไตย อย่างอินเดียเช่นกัน ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดิ

หน่วยงานตรวจสอบการตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตแห่งหนึ่งระบุว่ารัฐบาลของอินเดียสั่งตัดการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตระดับภูมิภาคหลายครั้ง โดยเเคว้นเเคชเมียร์ ที่เกิดปัญหาความขัดเเย้ง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ไร้สายความเร็วสูงยาวนานถึง 18 เดือน ก่อนเพิ่งกลับมาใช้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้

นักวิเคราะห์กล่าวว่าเทคนิคการควบคุมการสื่อสารของรัฐบาลอินเดียยังเห็นได้ในการรัมือกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่นกลุ่มเกษตรกรผู้ประท้วงท้าทายอำนาจนายกรัฐมนตรีโมดิ ในปีนี้

ดาร์เรล เวสต์ แห่งสถาบัน Brookings Institution กล่าวว่า การที่ประเทศประชาธิปไตยอย่างเช่นอินเดียปิดกั้นการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ถือเป็นตัวอย่างที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ว่าประเทศอื่นๆอาจใช้วิธีเดียวกันนี้ต่อประชาชนของตน