ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ เผยภาพถ่าย “หลุมดำ” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

An image of the black hole at the center of Messier 87, a massive galaxy in the nearby Virgo galaxy cluster. This black hole resides 55 million light-years from Earth and has a mass 6.5-billion times that of the Sun.

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ เผยภาพถ่ายหลุมดำของจริงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นับเป็นความสำเร็จก้าวใหญ่ของวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ที่ช่วยยืนยันการมีอยู่ของหลุมดำในจักรวาล

คณะนักวิทยาศาสตร์จาก 6 ชาติ จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จครั้งนี้พร้อมกัน ใน 6 เมืองใหญ่ ได้แก่ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา กรุงบรัสเซลส์ เบลเยี่ยม กรุงซันติอาโก ชิลี นครเซี่ยงไฮ้ จีน กรุงไทเป ไต้หวัน และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันแสดงภาพถ่ายแรกของหลุมดำ บริเวณใจกลางกาแล็คซี่ Messier 87 ไม่ไกลจากกลุ่มกาแลคซี่เวอร์โก ซึ่งห่างออกไปจากโลกราว 55 ล้านปีแสง และมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 6,500 ล้านเท่า ซึ่งภาพถ่ายชิ้นแรกเผยให้เห็นวงแหวนที่ส้มล้อมรอบหลุมดำมืดตรงกลาง

ทั้งนี้ สหรัฐฯ เบลเยียม ชิลี จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็น 6 ประเทศที่ร่วมในโครงการ Event Horizon Telescope ที่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 มีเป้าหมายเพื่อสำรวจหลุมดำ 2 แห่ง ใจกลางกาแลคซี่ที่แตกต่างกัน โดยทีมนักวิจัยมากกว่า 200 คนในโครงการ รวบรวมภาพถ่ายจากกล้องโทรทัศน์ในเครือข่าย 6 ประเทศ เพื่อการนี้

นายโรเจอร์ ไฮฟิลด์ ผู้อำนวยการ London Science Museum บอกว่า นักวิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่าหลุมดำพัฒนามาจากดวงดาวที่หมดอายุขัย ที่ดูดกลืนดวงดาว ดาวเคราะห์ ฝุ่นผงอวกาศ และตามทฤษฎีแล้วหลุมดำจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่จะเห็นเพียงแต่วัตถุที่มีปฏิกิริยาต่อหลุมดำเมื่อเข้าใกล้เท่านั้น และนักวิทยาศาสตร์ต่างเชื่อว่า กาแล็คซี่ของเราก็มีหลุมดำอยู่ใจกลางกาแล็คซี่ด้วยเช่นกัน