สายเลือด' ราชวงศ์อินเดีย' ปรับตัวไปดำเนินธุรกิจหลากหลาย

  • Faiza Elmarsy

Your browser doesn’t support HTML5

สายเลือดราชวงศ์อินเดียปรับตัวไปดำเนินธุรกิจหลากหลาย

ราชวงค์ที่ใหญ่ที่สุดเเละร่ำรวยที่สุดจำนวนมากหายไปจากสายตาสาธารณชน แต่ยังมีหลายราชวงศ์อินเดียที่อยู่รอดเเละดำเนินธุรกิจ

Your browser doesn’t support HTML5

สายเลือดราชวงศ์อินเดียปรับตัวไปดำเนินธุรกิจหลากหลาย

ก่อนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1947 Maharaja Umaid ทรงมีแนวคิดที่จะสร้างที่ประทับส่วนพระองค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เเละได้สร้างพระราชวัง Umaid Bhawan ในเมือง Jodhpur ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ในปี 1943 ถือเป็นพระราชวังแห่งสุดท้ายที่สร้างขึ้นก่อนที่อินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ

พระราชวังเเห่งนี้มี 347 ห้องเเละเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย มาในปัจจุบันกลายเป็นบ้านพักของ Gaj Singh หลานชายของ Maharaja Umaid โดยมี Shivranjani Rajya ลูกสาวของ Gu-J Singh เป็นผู้จัดการธุรกิจของครอบครัว

Shivranjani Rajya กล่าวว่า บิดายังเชื่อว่าเขายังเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองอยู่ เเละได้ใช้เวลาส่วนมากกับประชาชนของเมือง Jodhpur สนับสนุนการศึกษาโครงการน้ำ

หลังจากอินเดียได้รับเอกราช บรรดามหาราชายังคงรักษายศฐาบรรดาศักดิ์เอาไว้ ตลอดจนอำนาจปกครองตนเองส่วนหนึ่ง เเต่ในปี 1971 อินเดียได้เเก้ไขกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้ราชวงศ์ต่างๆ ของอินเดียหมดสิ้นฐานันดรศักดิ์และความมั่งคั่ง

การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ Gu-J Singh หลานชายของ Maharaja Umaid มีอสังหาริมทรัพย์มากมายเเต่ไม่มีเงินสด ดังนั้น เขาจึงปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างของราชวงค์ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ เเละนำกำไรที่ได้ไปลงทุนด้านการอนุรักษ์ศิลปวัตถุเเละพระราชวัง

ด้านลูกสาว Shivranjani Rajya กำลังผลักดันให้ธุรกิจของครอบครัวเปิดกว้างมากขึ้น โดยเพิ่มประเภทของธุรกิจที่ลงทุน โดยเน้นที่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและการอนุรักษ์ ที่ดินที่เป็นสมบัติของครอบครัวเป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยา มีความหลากหลายทางพันธุ์พืชและนกหลายร้อยชนิด

Shivranjani Rajya กล่าวว่า มีการเปลี่ยนแปลงของราชวงค์อินเดียเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในรุ่นบิดาของตน เธอรู้ดีว่าภาพลักษณ์ของราชวงศ์ในอดีตไม่ดีนัก เเต่มาปัจจุบัน คนทั่วไปมองว่าลูกหลานของราชวงศ์ก็ทำงานหนักเหมือนกับคนทั่วไป เเละทำสิ่งดีๆ ให้เเก่สังคม

Shivranjani Rajya หวังว่าลูกหลานรุ่นต่อๆ ไปของครอบครัวจะช่วยสืบทอดงานเหล่านี้ต่อไปในอนาคต

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)