การทดลอง “เสียงร้องจระเข้” ติดโผรับรางวัลเสียดสีสังคม-วิทยาศาสตร์ Ig Nobel

In this photo taken Tuesday, Nov. 17, 2009, a Siamese crocodile peers out from the water at Phnom Tamao Wildlife Rescue Center in Phnom Tamao village, Takoe province, about 45 kilometers (28 miles) south of Phnom Penh, Cambodia. Conservationists searching

ทุกปี กลุ่ม Annals of Improbable Research ของมหาวิทยาลัย Harvard จะจัดการมอบ Ig Nobel Prizes แนวขำ ๆ เพื่อเรียกเสียงหัวเราะ และกระตุ้นความคิด ถือว่าเป็นการล้อเลียนรางวัลโนเบล และสร้างสีสันให้กับวงการวิทยาศาสตร์และผู้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง

ในปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ 29 ที่มีการจัดการมอบ Ig Nobel การจัดงานเกิดขึ้นแบบออนไลน์ เพราะการระบาดของโคโรนาไวรัส รางวัลที่ถูกพูดถึงอย่างมากคือการทดลองของนักวิจัยออสเตรเเละญี่ปุ่นที่อยากทราบว่าสัตว์จำพวกจระเข้ ส่งเสียงก้องเหมือนการตะโกนได้ดังมากน้อยตามขนาดของร่างกายหรือไม่ โดยการจับจระเข้ลงในแท้งค์ที่มีสารฮีเลียมอยู่

จุดประสงค์ของการทดลองนี้ก็เพื่อต้องการเข้าใจถึงการสื่อสารของจระเข้นั่นเอง

สำหรับรางวัลอื่น ๆ ประกอบด้วย การศึกษาคิ้วของคนเพื่อหาความสัมพันธ์กับการหลงตัวเอง

ส่วนผู้นำหลายปะเทศได้รับ Ig Nobel ด้วยเหตุผลที่ว่า “ใช้เหตุการณ์การระบาดของโควิด-19 ในการสอนให้โลกรู้ว่า นักการเมืองสามารถชี้ชะตาความเป็นความตายของมนุษย์ได้ปัจจุบันทันด่วนมากกว่านักวิทยาศาสตร์และแพทย์”

ผู้ที่ได้รางวัลนี้คือผู้นำของบราซิล อินเดีย อังกฤษ เม็กซิโก เบรารูส สหรัฐฯ ตุรกี รัสเซีย และเตอร์กเมนิสถาน

และยังมีการให้รางวัลเจ้าหน้าที่การทูตสองประเทศคู่ความขัดแย้ง คืออินเดียและปากีสถานที่ตกเป็นข่าว 2 ปีก่อนจากการแกล้งกันไปมา ด้วยวิธีกดกริ่งหน้าบ้านแล้ววิ่งหนี

การตั้งชื่อรางวัลนี้โดยมีคำว่า Ig อยู่ข้างหน้า Nobel น่าจะต้องการให้เกือบพ้องเสียงกับคำว่า ignoble ในภาษาอังกฤษที่อาจจะแปลว่าน่าอาย ไม่น่ายกย่อง

ทั้งนี้ตัวแทนไทยเคยได้ Ig Nobel เช่นกัน เมื่อ 7 ปีก่อน ที่ผ้จัดมอบ Ig Nobel แก่คณะแพทย์ไทยผู้ศึกษาเทคนิคการต่ออวัยวะเพศชายที่ถูกตัดเมื่อปี 2526

และเมื่อ 5 ปีที่เเล้ว นี้สำนักงานตำรวจนครบาลไทย ได้ Ig Nobel สาขาจากผลงานสร้างแรงจูงใจให้ตำรวจทำดี โดยที่ตำรวจด้วยกันเองให้รางวัลเงินสดแก่ตำรวจมือสะอาด