‘ไอบีเอ็ม’ เผยชิปควอนตัมอาจทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น  

FILE - A seven cubit quantum device is seen at the IBM Thomas J. Watson Research Center in Yorktown Heights, N.Y., Feb. 27, 2018.

Your browser doesn’t support HTML5

Business News


บริษัทเทคโนโลยี ไอบีเอ็ม (IBM) กล่าวว่าบริษัทได้ผลิตหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบควอนตัม หรือชิปควอนตัมที่ทรงพลัง ซึ่งจะทำให้อีกภายในสองปีข้างหน้า ระบบประมวลผลแบบควอนตัมจะทำงานบางอย่างได้รวดเร็วกว่าระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ทั่วไป

ไอบีเอ็มกล่าวว่า ชิปควอนตัมที่ชื่อว่า “อีเกิล” ของบริษัทมี 127 คิวบิต ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดที่ใช้วัดปริมาณข้อมูลควอนตัม ในขณะที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้ บิต เป็นตัววัดข้อมูล ซึ่งใช้เลข 1 หรือ เลข 0 เป็นสัญลักษณ์ แต่ คิวบิต สามารถใช้ทั้งเลข 1 และเลข 0 ได้ในเวลาเดียวกัน

คิวบิตนี้อาจจะทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำงานได้รวดเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป อย่างไรก็ตาม การสร้างคิวบิตก็เป็นเรื่องยากและจำเป็นต้องอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ไอบีเอ็มกล่าวว่า ชิปอีเกิลนี้เป็นชิปควอนตัมแรกที่จะมีมากกว่า 100 คิวบิต

บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันยังกล่าวอีกว่าระบบการทำความเย็นและระบบการควบคุมที่บริษัทนำมาใช้ในการผลิตชิปอีเกิลนี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถผลิตชิปที่มีคิวบิตสูงขึ้นได้ในอนาคต โดยวางแผนที่จะผลิต ชิปออสเปรย์ (Osprey) ในปีหน้า ที่มี 433 คิวบิต และ ชิปคอนดอร์ (Condor) ที่มีถึง 1,121 คิวบิต ไอบีเอ็มยังกล่าวด้วยว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัทคาดหวังว่าจะเข้าใกล้การมี “ความได้เปรียบทางควอนตัม” ซึ่งหมายถึงเมื่อควอนตัมคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดีกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป

อย่างไรก็ตาม นายดาริโอ กิล รองประธานของไอบีเอ็ม กล่าวว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ทดแทนคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งหมดเลยทีเดียว เขาคิดว่าในอนาคต การประมวลผลบางอย่างของคอมพิวเตอร์จะใช้ชิปทั่วไปและบางงานจะใช้ควอนตัมชิป