"อายุจริง vs อายุภายนอก" ผลวิจัยบ่งบอกกระบวนการแก่ตัวของแต่ละคนไม่เท่ากัน

A group of elderly men take a rest on their wheelchairs at a park in Beijing, (File photo).

นักวิจัยพบว่ากระบวนการชราภาพของคนเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมกับลักษณะการใช้ชีวิตมีผลมากกว่าพันธุกรรม

Your browser doesn’t support HTML5

Human Aging

ทีมนักวิจัยระหว่างประเทศของสหรัฐฯ อังกฤษ อิสราเอล และนิวซีแลนด์ศึกษากลุ่มตัวอย่างราว 1,000 คนเริ่มจากเมื่ออายุ 26 ปีและติดตามศึกษาอีกครั้งเมื่อมีอายุได้ 32 กับ 38 ปีตามลำดับ และพบว่ากระบวนการแก่ตัวของแต่ละคนนั้นเกิดขึ้นไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากัน

โดยนักวิจัยได้อาศัยเครื่องบ่งชี้ทางชีวภาพ หรือ Biomarkers 18 ตัว เช่น ความสมบูรณ์ของเส้นโลหิต การทำงานของตับและไต ระบบการย่อยอาหารและภูมิต้านทาน ความจำ ฯลฯ เพื่อบ่งชี้และเปรียบเทียบความแก่ชราทางกายภาพหรือตามอายุปฏิทิน กับความชราทางชีวภาพ หรือความสามารถในการทำเรื่องต่างๆ เช่นในด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การยกของหนัก การเดินขึ้นบันได และความจำ เป็นต้น

นักวิจัยได้พบว่ากระบวนการชราภาพของแต่ละคนนั้นเป็นไปไม่เท่ากัน และมักจะเริ่มตั้งแต่สมัยที่เยาว์วัยในช่วงอายุประมาณ 20 ปีโดยผลของเรื่องนี้จะสะสมไปเรื่อยๆ

นักวิจัยกล่าวด้วยว่า แม้เหตุผลเรื่องพันธุกรรมจะมีส่วนในกระบวนการชราภาพของคนราว 20 % ก็ตาม แต่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกกับลักษณะการใช้ชีวิตจะมีผลมากกว่า

โดยนักวิจัยได้ชี้ว่าลักษณะการใช้ชีวิตหรือ Lifestyle เช่น การควบคุมน้ำหนักตัว การไม่สูบบุหรี่ การควบคุมระดับความเครียด การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรักษาระดับวิตามิน D ในเลือดไม่ให้บกพร่อง และการทานผักผลไม้รวมทั้งอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพและลดน้ำตาลกับไขมัน ล้วนแต่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยชะลอกระบวนการแก่ชราของเราได้ทั้งสิ้น