ปัญหาหมอกควันจากอินโดนีเซียคุกคามประเทศอื่นและอาจสร้างความเสียหายเศรษฐกิจหลายพันล้านดอลลาร์

A BASE jumper leaps from the 300-metre high Kuala Lumpur Tower during the International Tower Jump in which more than 100 people take part, on a hazy day in Kuala Lumpur, Malaysia, Oct. 2, 2015.

มลพิษทางอากาศที่เกาะสุมาตราเลวร้ายถึงขั้นเด็กทารกต้องย้ายเข้าไปอยู่ในที่ทำการของรัฐ

Your browser doesn’t support HTML5

ปัญหาหมอกควันจากอินโดนีเซียลุกลามสู่ประเทศอื่น

ตามปกติเกษตรกรและนักพัฒนาที่ดินในอินโดนีเซียจำนวนมาก เผาป่าเพื่อปรับพื้นที่ในช่วงนี้ของปี ปัญหาลุกลามมากขึ้นหลังจากการเผาป่าเพื่อทำไร่ปาล์มน้ำมันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ล่าสุดหมอกควันแผ่ขยายไปยังประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โรงเรียนหลายแห่งรวมทั้งการแข่งกีฬาและกิจกรรมตามที่สาธารณะหลายงานถูกยกเลิกเพราะปัญหาหมอกควันที่ลามไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์

A fireman prepares to extinguish forest fire in Ogan Ilir, South Sumatra, Indonesia, Sept. 17, 2015.

Helena Varkkey รองผู้อำนวยการบริหารสถาบัน Asia-Europe ของ University of Malaysia กล่าวว่าผลประโยช์ทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาพื้นที่ที่ถูกเผา กับโยงใยกับนักการเมืองและนักธุรกิจในอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์

เธอกล่าวว่าคนจำนวนหนึ่งที่เคยอยู่ในรัฐบาล เมื่อเกษียณออกมาก็ได้ตำแหน่งที่บริษัทต่างๆ และยังสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและรัฐบาล ทำให้การแก้ปัญหาควันจากการเผาป่าไม่สามารถเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN ซึ่งรวมประเทศต่างๆ ในภูมิภาค มีข้อตกลงกันว่าจะร่วมกันแก้ปัญหามลพิษจากหมอกควัน แต่ในทางปฏิบัติ ASEAN ยังไม่มีกระบวนการปราบปรามและลงโทษที่ได้ผล

A view of the vehicles plying the causeway to Malaysia shrouded by haze in Singapore September 29, 2015.

หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมเช่น World Wide Fund for Nature หรือ WWF สนับสนุนโครงการที่สถาบันการเงินร่วมรณรงค์การพัฒนาที่ยั่งยืนในกิจการป่าไม้ ปาล์มน้ำมัน และการผลิตเยื่อกระดาษ

สถาบันการเงินสามารถมีส่วนร่วมได้ด้วยการสร้างเงื่อนไขเงินกู้สำหรับโครงการในธุรกิจต่างๆ เหล่านี้ ว่าต้องออกทำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งธนาคารใหญ่ๆ บางแห่งของสิงคโปร์กำลังพิจารณาอยู่

หน่วยงาน WWF กล่าวว่ามีเพียงธนาคารใหญ่สี่แห่งในอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงโปร์ เท่านั้นที่คิดถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจากภาคธุรกิจ เมื่อพิจารณาการออกเงินกู้ของอุตสาหกรรมต่างๆ

Jeanne Stampe จาก WWF กล่าวว่า วีธีที่น่าจะได้ผลดีคือการตัดเงินให้กู้สำหรับบริษัทที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เธอบอกว่าแนวทางนี้น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้มากกว่าการไล่เอาโทษโดยเจ้าหน้าที่บังคับกฎหมาย

A mother adjusts her daughter's mask as they head home from school in Kertapati district in Palembang, on the Indonesian island of Sumatra, Sept. 18, 2015.

และที่เกาะสุมาตรา มลพิษทางอากาศเลวร้ายถึงขั้นเด็กทารกต้องย้ายเข้าไปอยู่ในที่ทำการของรัฐ ขณะเดียวกันผู้ดูแลลูกลิงอุรังอุตังบนเกาะบอร์เนียวเป็นห่วงว่าสัตว์เหล่านี้ที่ศูนย์พักพิงของเขาจะป่วยและอาจตายได้

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่อินโดนีเซียกำลังพยายามจำกัดวงของไฟป่า 1,800 แห่ง แต่ประสบปัญหาขาดอุปกรณ์และน้ำ

คาดว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากวิกฤติหมอกควันครั้งนี้อาจสูงกว่า 9 พันล้านดอลลาร์ พิจารณาจากเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน



(รายงานโดย Steve Herman / เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)