Your browser doesn’t support HTML5
ปัจจุบันผู้ใช้โซเชี่ยลมีเดียนิยมนำเครื่องหมาย hashtag (#) มาเพิ่มสีสันการแสดงความคิดเห็น บางครั้งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการตามทันกระแสใหม่ๆ ในเรื่องเบาๆ เช่น #slowlife แต่หลายครั้งก็เป็นประเด็นที่มีผลกระทบกว้างไกล อย่าง #IceBucketChallenge
เมื่อครั้งที่ Chris Messina นักคิดนักเขียนของวงการเทคโนโลยีส่ง Tweet แรกที่เขาพูดถึงการใช้ hashtag เมื่อ 8 ปีก่อน ดูเหมือนว่าเขาเองก็คงไม่คิดว่าลูกเล่นนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ใช้แพร่หลายทั่วไปอย่างในปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2007 Chris Messina ส่ง Tweet ไปว่า How you do feel about using # (pound) for groups. As in #barcamp [msg]? จึงดูเหมือนว่าเป็นเพียงการหยั่งเสียงนักท่องโลกโซเชี่ยลมีเดียว่าการจัดกลุ่มออนไลน์ด้วยการใช้ # ดีหรือไม่อย่างไร
แต่เมื่อการเวลาผ่านไป ไม่มีใครที่ไม่อยากตกเทรนด์จะปฏิเสธการใช้ #ได้ นักวิชาการกล่าวว่า hashtag เป็นเครื่องมือการแสดงความเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ที่แพร่หลาย เช่น #IceBucketChallenge ที่ช่วยให้คนรู้จักโรคระบบประสาท Lou Gehrig’s Disease
ในสหรัฐฯ hashtag สำหรับการรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพคนแอฟริกันอเมริกัน #BlackLivesMatter เป็นที่แพร่หลายมากในขณะนี้ ส่วน #NationalShutDown และ #FeesMustFall เป็นเครื่องมือของการเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยลดค่าเล่าเรียนในแอฟริกาใต้
ส่วนในแอฟริกา #BringBackOurGirls คือเสียงต่อต้านกลุ่มก่อการร้าย Boka Haram ที่ลักพาตัวนักเรียนหญิงเกือบสามร้อยคนเมื่อปีที่แล้วในไนจีเรีย ขณะที่ #ArabSpring สะท้อนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จในตะวันออกกลาง
(รายงานโดย ห้องข่าววีโอเอ / เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)