เปิดกรุ 'คลังของขวัญแห่งสยาม' ที่สมิธโซเนียน

Curator, Dr. Paul Michael Taylor (Left) and Ethnomusicologist, Tyler A Kramlich (Right)opening the cabinet with the Thai Khon mask collection

สถาบันสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตัน เป็นหนึ่งในองค์กรที่สนับสนุนการจัดแสดงนิทรรศการ 'ของขวัญแห่งมิตรภาพ' ในโอกาสฉลองวาระครบ 2 ศตวรรษความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันยังมีของขวัญแห่งกรุงสยามที่องค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกแห่งนี้เก็บรักษาไว้หลายพันชิ้น และยังไม่เคยเปิดให้ชมมาก่อน​


พอล ไมเคิล เทย์เลอร์ (Paul Michael Taylor) ภัณฑารักษ์และผู้อำนวยการแผนกมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์เอเชีย แห่งสถาบันสมิธโซเนียน กล่าวถึงสิ่งของสะสมหลายพันชิ้นจากประเทศไทยที่ได้รับการเก็บรักษาอย่างดีร่วมกับสิ่งของจัดแสดงจากทั่วโลกที่เก็บไว้ภายในอาคารศูนย์ปฏิบัติการและเก็บรักษา สถาบันสมิธโซเนียน หรือ Smithsonian Museum Support Center ที่เชต Suitland ในรัฐแมรีแลนด์ชานกรุงวอชิงตัน

Director of the Smithsonian's A.C.H.P.,Dr. Paul Michael Taylor carries a Thai Khon mask 'Thotsakan' at the Smithsonian Museum Support Center, Suitland, MD. June 28, 2018.

'หากพูดถึงสิ่งของสะสมจากเมืองไทย ทุกคนจะนึกถึงสิ่งของสำคัญที่อยู่ในการดูแลในฐานะภัณฑรักษ์ นั่นคือของขวัญพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทยที่มีอยู่รวมกันประมาณ 2,000 ชิ้น ขณะที่มีราวๆ 1,600 ชุด ที่มีหมายเลขลงทะเบียนกำกับไว้ ซึ่งของขวัญในแต่ละชุดก็มักจะมีสิ่งของล้ำค่ามากกว่า 1 ชื้นรวมกัน

ดร.พอล เทย์เลอร์ เป็นชาวอเมริกันไม่กี่คน ที่คุ้นเคยและรู้จักกับศิลปะวัตถุและสิ่งของสะสมจากเมืองไทย หรือ ไทย คอลเลคชั่น ในฐานะผู้ดูแลสิ่งของล้ำค่าจากแดนสยามมานานหลายสิบปี

ภัณฑารักษ์จากสถาบันสมิธโซเนียน บอกว่า หนึ่งในของขวัญพระราชทานที่เก็บรักษาไว้อย่างดี คือ ชุดหัวโขน ตัวละครในมหากาพย์รามเกียรติ์ ที่มีรวมกันทั้งหมด 9 ชิ้น จากทั้งหมด 71 ชื้นรับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งส่งไปร่วมจัดแสดงในนิทรรศการนานาชาติ หรือ เวิร์ลแฟร์ ที่จัดเฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีของสหรัฐอเมริกา ที่นครฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนียเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ.1876) หรือ ราว 140 ปีก่อน

Interior view of the Siamese Pavilion, Philadelphia Centennial Exposition (1876).

​ผู้อำนวยการแผนกมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์เอเชีย แห่งสถาบันสมิธโซเนียน บอกว่า ปกติหัวโขนที่เมืองไทยมักจะใช้ในการแสดงอยู่เป็นประจำ และผ่านการซ่อมแซมจากการชำรุดครั้งแล้วครั้งเล่าจนทำให้ลักษณะดั้งเดิมสูญหายไปแต่หัวโขนชุดนี้ได้รับการจัดไว้อย่างดี เพราะเป็นของขวัญพระราขทานทางการทูตที่ไม่เคยผ่านการแสดงที่ไหนมาก่อน ทำให้เกือบทุกชิ้นอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ราวกับเก็บไว้ในห้องกาลเวลา ที่สามารถรักษามรดกงานฝีมือของช่างไทยสมัยเมื่อกว่าศตวรรษก่อนเอาไว้อย่างสมบูรณ์แบบ

Your browser doesn’t support HTML5

เปิดกรุคลังของขวัญแห่งสยาม ที่สมิธโซเนียน

สิ่งของพระราชทานจากราชอาณาจักรสยาม ส่งเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นหลายครั้งในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 19 มีมากมายหลายพันชิ้นขณะที่ในปัจจุบันสิ่งของที่เป็นของขวัญระหว่างประเทศจากเมืองไทยส่วนใหญ่จะถูกส่งให้มาเก็บรักษาไว้ที่สถาบันสมิธโซเนียนแห่งนี้

สิ่งของหลายชื้นแสดงถึงฝีมืออันวิจิตรบรรจงของช่างศิลป์แห่งกรุงสยามผ่านศิลปะวัตถุทรงคุณค่า เช่น เครื่องถมเงินถมทอง พระราชทานจากรัชกาลที่ 4เครื่องดนตรีพระราชทานจากรัชกาลที่ 5ขณะเดียวกันก็มีสิ่งของประเภทเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ที่สะท้อนวิถีชีวิตผู้คนพื้นบ้านจากราชอาณาจักรสยามในศตวรรษก่อนจำนวนมากเช่นกัน

'Niello Betel set', a Gift of Phra Pin Klao (King Rama IV) from the 19th century (1856) in the Thai collection at the Smithsonian.

ผู้อำนวยการแผนกมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์เอเชีย แห่งสถาบันสมิธโซเนียน บอกว่า วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่นอุปกรณ์พื้นบ้าน และเครื่องด้านเกษตรกรรม ที่เคยจัดแสดงในนิทรรศการในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดเพื่อจะรักษาและคงสภาพเดิมไว้ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์ คือปล่อยให้สิ่งอยู่คงเดิมโดยไม่ต้องไปสัมผัสหรือ หลีกเลี่ยงวัสดุที่ไม่มีสภาพความเป็นกรดที่จะส่งผลต่อพื้นผิวของไม้ รวมทั้งเก็บไว้ในสถานที่จำกัดอุณหถูมิและแสงที่ต้องมืดตลอดเวลา

เงื่อนไขของการอนุรักษ์ วัตถุโบราณล้ำค่า ไม่ใช่เพียงการเก็บรักษาเท่านั้น แต่ยังหมายถึงงานด้านการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วย

'องค์ความรู้เกี่ยวกับเมืองไทยของเราที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไปในทุกขณะ แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการจัดนิทรรศการ เพราะสิ่งของที่ส่งไปจัดแสดงหากเสร็จสิ้นแล้วก็จะส่งกลับมาเหมือนเดิม แต่เป็นเพราะการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัตถุสิ่งของแต่ละชิ้นที่เราเก็บรักษาไว้มากกว่า และเรายังต้องการทำวิจัยค้นคว้ามากขึ้นเรื่อยๆ'

Curators, Dr. Paul Michael Taylor and Dr.Robert Pontsioen studying the Thai collection at the Smithsonian's Museum Support Center.Suitland, MD.

'ตัวผมเองเป็นภัณฑารักษ์ ที่ดูแลสิ่งของจัดแสดงจากที่อื่นๆด้วย นอกจากสิ่งของจากเมืองไทย แต่สำหรับผมแล้ว สิ่งของจากประเทศไทยนั้นถือเป็นสิ่งพิเศษสำหรับผม และแน่นอนว่ารวมไปถึงเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานนี้ด้วย เราต่างจับตามองไปยังความร่วมมือใหม่ๆในอนาคตที่จะทำร่วมกับมิตรสหาย และนักวิจัยจากที่ทำงานแบบเดียวกันจากประเทศไทยเพื่อหวังว่าเราจะร่วมจับมือวิจัยค้นคว้า และค้นหาการข้อค้นพบใหม่ๆในอนาคตที่จะถึงนี้' พอล ไมเคิล เทย์เลอร์ (Paul Michael Taylor)

ลมหายใจในงานมือแห่งแผ่นดินสยามที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปปรากฎตัวในฐานะของขวัญแห่งมิตรภาพจากแดนไกลในอีกซีกโลกในยุคศตวรรษก่อน ยังคงได้รับการรวบรวมและเก็บรักษาไว้อย่างทะนุถนอมในองค์กรด้านพิพิธภัณฑ์แห่งนครหลวงของสหรัฐฯ และยังรอคอยที่จะสืบสานและเชื่อมโยงเรื่องราวในของขวัญแต่ละชิ้นผ่านโครงการมรดกไทย หรือ Thai Heritage ที่ตัวแทนจากสถาบันสมิธโซเนียนแห่งนี้ยังต้องการเพิ่มพูนการเรียนรู้และความร่วมมือด้านวิชาการกับผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้จากเมืองไทยเพื่อสานต่อและหาคำตอบอีกมากมายร่วมกันในคลังสมบัติแห่งมิตรภาพระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่ยืนยาวมากว่า 200 ปี