โรงงานทั่วโลกเร่งขยายการผลิต ขณะที่เริ่มมีความกังวลปัญหาด้านวัตถุดิบ เพราะ ‘โอมิครอน’

Shoppers walk at a store during Black Friday sales in the Manhattan borough of New York City, New York, U.S., Nov. 26, 2021.

Your browser doesn’t support HTML5

Business News

ขณะที่ปัญหาการติดขัดของห่วงโซ่อุปทานโลกยังไม่คลี่คลายดี โรงงานต่างๆ ทั่วโลกกลับเร่งเพิ่มระดับการผลิตเต็มที่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ตามรายงานการสำรวจภาคอุตสาหกรรมล่าสุดที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ออกมาในวันพุธ

ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวที่จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนั้น ไม่ได้คำนวณผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ ที่เพิ่งปรากฏขึ้นในช่วงปลายเดือน ซึ่งทำให้บรรดารัฐบาลทั้งหลายกังวลอย่างมาก ขณะที่กำลังพยายามดำเนินแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจของตน พร้อมๆ กับควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงอยู่

แซมมวล ทูมส์ จาก Pantheon Macroeconomics ให้ความเห็นว่า เชื้อไวรัส ‘โอมิครอน’ อาจกลายมาเป็นตัวพลิกสถานการณ์ (game changer) ที่นำมาซึ่งภาวะขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ ที่จะทำให้โรงงานต่างๆ ตกอยู่ในสภาพมีปัญหาหนัก โดยเฉพาะหากอังกฤษและหลายประเทศตัดสินใจกลับมาดำเนินมาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง

A man works at a manufacturing plant of Universal Electronics Inc. in Qinzhou in Guangxi Autonomous Region, China, April 12, 2021.

ล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับเศรษฐกิจในภาคพื้นยุโรป ที่จัดทำโดย IHS Markit ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 58.4 จุดในเดือนพฤศจิกายน จากระดับ 58.3 จุดในเดือนตุลาคม ซึ่งยังต่ำกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 58.6 แต่ถือว่า ไม่น่ากังวลเพราะยังสูงกว่าระดับ 50 จุดซึ่งเป็นช่วงแบ่งระหว่างการชี้วัดการขยายตัวและการหดตัว

ปัญหาการขาดแคลนอุปทานนั้นกลายมาเป็นโอกาสสำหรับผู้จัดหาวัตถุดิบ ขณะที่ บรรดาโรงงานต่างๆ จัดการส่งต่อภาระต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับลูกค้าไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในยุโรป ซึ่งตัวเลขล่าสุดชี้ว่า เพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4.9% ในเดือนที่แล้ว

ขณะเดียวกัน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคเอกชนของ Caixin/Markit แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมด้านการผลิตตามโรงงานต่างๆ ในจีนกลับมาหดตัวอีกครั้งในเดือนที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่อ่อนตัวลงและราคาสินค้าที่สูงขึ้น

แต่ตัวเลขดังกล่าวที่เป็นผลสำรวจโรงงานและธุรกิจขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ตามภูมิภาคติดทะเล กลับเสนอภาพที่ขัดแย้งกับรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของรัฐบาลที่เปิดเผยออกมาในวันอังคารและชี้ว่า กิจการด้านการผลิตกลับมาขยายตัวเกินคาดในเดือนพฤศจิกายน แม้จะไม่ได้เป็นการปรับขึ้นอย่างมากมายก็ตาม

นอกเหนือจากยุโรปและจีนแล้ว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจากภูมิภาคอื่นๆ ตั้งแต่ ญี่ปุ่น ไปจนถึง เกาหลีใต้ อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ แสดงให้เห็นถึงการกลับมาขยายตัวอีกครั้งบ้างแล้วเช่นกัน