อียู-อังกฤษ ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% สู้เงินเฟ้อ

Signage is seen outside the European Central Bank (ECB) building, in Frankfurt, Germany, July 21, 2022.

ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารอังกฤษประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตนในระดับที่สูงกว่าของระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อหวังช่วยรับมือกับผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคตน ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี

ในวันพฤหัสบดี ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นอีก 0.5% หลังเพิ่งปรับขึ้นในอัตราเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังราคาสินค้าผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลกระทบหนักต่อประชาชนใน 20 ประเทศของยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร

European Central Bank (ECB) President Christine Lagarde speaks to reporters following the Governing Council's monetary policy meeting, in Frankfurt, Germany February 2, 2023. REUTERS/Kai Pfaffenbach

คริสตีน ลาการ์ด ประธาน ECB ระบุระหว่างร่วมการแถลงข่าวว่า ธนาคารกลางยุโรป “จะยังคงเดินหน้าปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอย่างสม่ำเสมอ” และกล่าวด้วยว่า ทางธนาคารจะรักษาต้นทุนการกู้ยืมมให้อยู่ในระดับ “ที่มีการจำกัดอย่างเพียงพอ” เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยกลับคืนสู่เป้าหมาย 2% ซึ่งเป็นระดับที่ดีที่สุดสำหรับเศรษฐกิจด้วย

ECB มีกำหนดประชุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอีกครั้งในเดือนมีนาคม

FILE PHOTO: General view of the Bank of England in London

ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางอังกฤษประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% เช่นกัน เพื่อรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงในระดับสองหลักซึ่งทำให้เกิดวิกฤตค่าครองชีพในประเทศ เกิดการประท้วงหยุดงานของพนักงานภาครัฐ และกระตุ้นให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

นักเศรษฐศาสตร์มองว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งนี้น่าจะเป็นการปรับในอัตราสูงครั้งสุดท้ายของอังกฤษ หลังอัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 10.5% ในเดือนธันวาคม ขณะที่ มีการคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะปรับลงไปจนถึงระดับ 4% ภายในสิ้นปีนี้

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เพิ่งขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% และส่งสัญญาณว่า จะมีการปรับขึ้นในอัตราเดียวกันนี้ในการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของระบบธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ครั้งหน้า พร้อมยืนยันว่า ฝ่ายกำหนดนโยบายการเงินสหรัฐฯ ยังคง “ระมัดระวังอย่างมากในด้านความเสี่ยงเงินเฟ้อ” เนื่องจากปัจจัยสงครามยูเครนยังคงผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจระดับโลก

  • ที่มา: เอพี