วิเคราะห์: อุปสรรคอะไรบ้างขวางกั้นการสร้าง ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ สู้โควิดในยุโรป

A person walks past pictograms in the vaccination center at the football stadium in Duesseldorf, western Germany, Dec. 1, 2020. Preparations are under way to install a vaccine facility amid the novel coronavirus pandemic.

Your browser doesn’t support HTML5

Mass Covid 19 Immunization Plans Raise Huge Challenges


เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาอังกฤษอนุมัติให้เริ่มใช้วัคซีนต้านโคโรนาไวรัสของบริษัท Pfizer ได้ในสัปดาห์หน้า

เเม้ว่า กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษจะกล่าวว่าเป็น “ข่าวที่ดียิ่ง” แต่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน กล่าวถึงสิ่งท้าทายเรื่องการจัดส่งวัคซีนเหล่านี้ไปสู่ประชากรหมู่มาก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

นอกจากนั้น รัฐบาลในยุโรปยังกำลังเผชิญกับความไม่มั่นใจในประชากรบางกลุ่ม ต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ท่ามกลางการเเพร่ข่าวสารที่ไม่ถูกต้องจากกลุ่มต่อต้านวัคซีน

ก่อนเกิดการระบาดของโคโรนาไวรัสในปีนี้ คนยุโรปเป็นกลุ่มประชากรที่กังขามากลำดับต้นๆ ของโลก เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่แล้ว กล่าวคือในการสำรวจ ที่ประกอบด้วยผู้ตอบแบบสอบถาม140,000 รายใน กว่า 140 ประเทศ ก่อนการระบาดของโควิด ประชาชนในประเทศฝรั่งเศส ออสเตรีย สวิตเซอร์เเลนด์ รัสเซียและเบลเยียม ไม่มั่นใจในการใช้วัคซีนในระดับที่อาจสูงถึง หนึ่งในสามของประชากรในประเทศ และในยูเครนมีเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรที่เชื่อในความปลอดภัยของวัคซีน

Ukrainian law enforcement officers block demonstrators during a rally held by entrepreneurs and representatives of small businesses near the parliament building amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak in Kyiv, Ukraine November 17, 2020.

ในการสำรวจอีกชิ้นหนึ่ง โดยบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล Kanta ชี้ว่า แม้คนส่วนใหญ่ในฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลีและอังกฤษ​ กล่าวว่าพวกตน “น่าจะ” ไปรับการฉีดวัคซีน แต่มีคนส่วนน้อยในประเทศเหล่านี้ ที่บอกว่าจะไปรับการฉีดวัคซีน “อย่างแน่นอน”

แรงต้านการใช้วัคซีนยิ่งมีมากขึ้นในปีนี้ เมื่อ ผู้ที่กังขาในประสิทธิภาพของวัคซีน ใช้สื่อสังคมออนไลน์รณรงค์ให้คนไม่เชื่อในประสิทธิภาพของวัคซีนมากยิ่งขึ้น

บริษัท Kanta กล่าวในรายงานว่า รัฐบาลกำลังเจองานใหญ่ในการโน้มน้าวประชาชน หากประเทศของตนมีประชากรส่วนใหญ่ที่ยังไม่ระบุว่าจะไปรับการฉีดวัคซีน “อย่างแน่นอน”

ทั้งนี้ความไม่เเน่ใจของประชาชนเกิดขึ้น ท่ามกลางปรากฏการณ์ที่ว่าวัคซีนถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในขั้นวิจัยและขั้นทดสอบความปลอดภัย

นั่นยังไม่นับเรื่องที่ว่าวัคซีนได้กลายมาเป็นประเด็นการเมืองที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในหลายประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเเพร่ข้อมูลเท็จเพื่อสร้างความไม่มั่นใจต่อวัคซีนต้านโควิด-19 อาจทำให้รัฐบาลบางประเทศเกิดอุปสรรคในการฉีดวัคซีนต่อประชากรได้ตามเป้าอย่างน้อยร้อยละ 55 ซึ่งเป็นขั้นต่ำที่นักระบาดวิทยาบางรายเชื่อว่าจะสามารถการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

ส่วนนักวิชาการบางคนเชื่อว่า ต้องมีประชากรร้อยละ 82 ได้รับวัคซีน เพื่อจัดการกับโคโรนาไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและนักจิตวิทยาการเมืองกังวลว่า การเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องวัคซีนเพียงอย่างเดียวยังคงไม่พอที่จะทำให้คนลดความสงสัยต่อประสิทธิภาพของวัคซีน

พวกเขากล่าวว่าสิ่งที่รัฐบาลควรทำเพิ่มเติมคือ ให้เจ้าหน้าที่การเเพทย์ที่น่าเชื่อถือเเละผู้นำชุมชนนำข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องไปสู่ประชาชน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าวิธีนี้น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการถ่ายทอดข่าวสารจะผู้นำประเทศหรือผู้บริหารกระทรวงต่างๆ

French President Emmanuel Macron, French Prime Minister Jean Castex and members of the new government attend their Cabinet meeting at the Elysee Palace in Paris, July 7, 2020.

ในฝรั่งเศส ประธานวุฒิสภา นายเจราร์ด ลาร์แชร์ เรียกร้องให้ประชาชนต้องฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 แนวทางดังกล่าวถูกคัดค้านโดยประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาคร็อง เพราะเขาเห็นว่าการบังคับอาจนำมาซึ่งแรงต้านที่รุนเเรงขึ้น

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในฝรั่งเศสระบุว่า ร้อยละ 59 ของประชากรกล่าวว่าพวกเขาจะปฏิเสธที่จะรับวัคซีน

นอกเหนือจากทัศนะคติที่ประชาชนมีต่อวัคซีนเเล้ว ความท้าทายอีกประการหนึ่งที่จะให้ประชากรหมู่มากได้รับวัคซีนคือการบริหารจัดการในระดับปฏิบัติการ หรืองานด้านโลจิสติก เช่นการขนส่ง การจัดเก็บวัคซีนในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการเตรียมบุคลากรการแพทย์ให้เพียงพอต่อจำนวนผู้รับวัคซีน ไปจนถึงระบบข้อมูลการรับวัคซีนเข็มแรกและเข็มต่อไปตามสูตรที่พัฒนาโดยบริษัทยา

รัฐบาลต่างๆ ในยุโรปมีรูปแบบการบริหารจัดการเรื่องนี้ที่เเตกต่างกัน โดยบางประเทศมีการจัดการเเบบรวมศูนย์ บางประเทศเน้นการกระจายอำนาจสู่หน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น

แต่อย่างน้อยประเทศเหล่านี้ได้เรียนรู้ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นของการระบาดของโควิด-19 ที่มีการดำเนินการอย่างไม่ราบรื่น ในการจัดหาและแจกจ่ายอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ หน้ากาก และยาต่างๆ แล้วว่างานโลจิสติก เป็นสิ่งที่กำหนดความสำเร็จด้านสาธารณสุข ที่สำคัญมากเช่นกัน