พบ ‘ทางหลวงไดโนเสาร์’ ที่อังกฤษ อายุ 166 ล้านปี

ภาพรอยเท้าไดโนเสาร์ทางเหนือของเมืองออกซ์ฟอร์ด ที่นักบรรพชีวินวิทยาเอ็มมา นิโคลส์ ร่วมกับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดนำมาเผยเเพร่ 2 ม.ค. 2025

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์เกือบ 200 รอย และสิ่งที่เรียกว่า “ทางหลวงไดโนเสาร์” อายุ 166 ล้านปี ทางภาคใต้ของอังกฤษ

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ระบุว่า คณะทำงานกว่า 100 ชีวิตร่วมขุดค้นทางโบราณคดีที่เหมืองแห่งหนึ่งในเมืองออกฟอร์ดเชียร์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน และพบหลักฐานแนวรอยเท้าไดโนเสาร์จากยุคมิดเดิลจูราสสิก ซึ่งบางแนวมีความยาวกว่า 150 เมตร

แนวรอยเท้า 4 รอยเป็นของไดโนเสาร์กินพืชคอยาวขนาดใหญ่ในกลุ่มซอโรพอดส์ ที่เชื่อว่าเป็นพันธุ์ “เซทิโอซอรัส” ซึ่งอาจมีความยาวถึง 18 เมตร

ส่วนแนวรอยเท้าที่ 5 เป็นของ “เมกะโลซอรัส” ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีนิ้วเท้าขนาดใหญ่สามนิ้วและมีกรงเล็บยาว

แนวรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อและกินพืชที่ตัดผ่านกันเหมือนถนน 4 แยกนี้ ทำให้เกิดคำถามว่าไดโนเสาร์สองกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรในยุคหลายร้อยล้านปีก่อน

ริชาร์ด บัตเลอร์ ศาสตราจารย์ด้านบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่แค่แนวรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในอังกฤษเท่านั้น แต่ยังใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่งด้วย”

  • ที่มา: รอยเตอร์