พิษไซโคลน “ฟานี” ขึ้นฝั่งอินเดีย คร่าชีวิตอย่างน้อย 3 คน

Damaged signage lies on a street in Puri district after Cyclone Fani hit the coastal eastern state of Odisha, India, May 3, 2019.

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน บาดเจ็บกว่า 160 คน จากไซโคลน ฟานี ที่พัดขึ้นฝั่งตะวันออกของอินเดีย ยังผลให้เกิดฝนตกหนักและลมกระโชกแรงในวันศุกร์

ก่อนหน้านี้ ทางการอินเดีย อพยพประชาชนราว 1 ล้านคนออกจากแนวชายฝั่งในรัฐโอริสสา ไปยังศูนย์ผู้ประสบภัยก่อนพายุจะขึ้นฝั่งในวันศุกร์ ขณะที่ทางการบังคลาเทศ ที่จะได้รับผลกระทบจากไซโคลน สั่งอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงไปแล้ว 2.1 ล้านคน

Locals move their goats in a boat to safer ground after Cyclone Fani hit the coastal eastern state of Odisha, on the river Brahmaputra in Gauhati, India, May 3, 2019.

ทางสำนักอุตุนิยมวิทยา ประเมินว่า ทิศทางพายุฟานี ความรุนแรงระดับ 4 จาก 5 เคลื่อนตัวไปยังรัฐเบงกอลตะวันตกในช่วงเย็นวันศุกร์ ซึ่งจะกระทบกับผู้คนกว่า 100 ล้านคนที่อยู่บนเส้นทางของไซโคลน โดยคาดว่าจะทำให้เกิดพายุทรายในรัฐราชสถาน และหิมะตกในหลายรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

A road is littered with fallen structures in Puri district after Cyclone Fani hit the coastal eastern state of Odisha, India, May 3, 2019.

ทางการอินเดีย ระบุว่า มีรถไฟอย่างน้อย 200 ขบวนยกเลิกทั่วประเทศ และสนามบินกอลกาตา รัฐเบงกอลตะวันตก ปิดทำการในบ่ายวันศุกร์และวันเสาร์

Path of Cyclone Fani

ไซโคลน ฟานี เป็นพายุไซโคลนลูกแรกจะพัดถล่มอินเดียในปีนี้ และเป็นไซโคลนที่มีความรุนแรงมากกว่าพายุไซโคลนนาร์กิส ที่คร่าชีวิตกว่า 100,000 คนในเมียนมา เมื่อปี พ.ศ. 2551

แต่พื้นที่ทางตะวันออกอินเดียเคยเผชิญกับพายุรุนแรงหลายครั้ง ตั้งแต่ซูเปอร์ไซโคลนที่พัดถล่มรัฐโอริสสา เมื่อปี พ.ศ. 2543 คร่าชีวิตกว่า 10,000 คน และไซโคลนไพลิน เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งตอนนั้นมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนแทนที่จะเป็นหลายพันคน เนื่องจากอินเดียพัฒนาระบบเตือนภัยและอพยพประชาชน 1.3 ล้านคนจากพื้นที่เสี่ยงได้ทัน