ระบบให้แสงสว่างตามท้องถนนแบบประหยัดไฟฟ้าช่วยลดแก๊สเรือนกระจก

  • George Putic

Street Light

ทีมนักวิทยาศาสตร์ในเดนมาร์กพัฒนาระบบโคมไฟถนนแบบอัจฉริยะช่วยประหยัดไฟฟ้าเพราะการใช้ไฟฟ้าน้อยลงช่วยลดแก๊สเรือนกระจก

Your browser doesn’t support HTML5

Climate Change Street Lighting

โลกเราเข้าสู่ความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้นทุกวันและต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมหาศาลแต่การผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบันยังเป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นเมื่อคริสต์ศวรรษที่ 19 อยู่นั่นก็คือโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่กว่าสองอย่างแรกแต่เทคโนโลยีผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดนี้ล้วนมีข้อเสีย

อย่างไรก็ดี มนุษย์เริ่มหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานที่สะอาดกว่าบ้างแล้ว อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพื่อลดปริมาณแก๊สเรือนกระจกลง

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเราสามารถชะลอภาวะโลกร้อนลงได้ด้วยการลดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการให้แสงสว่างตามท้องถนนลง

โคมไฟตามท้องถนนที่พบทั่วไปในเขตเมืองทั่วโลกต้องใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณมาก สำนักงาน U.S. Energy Information Administration ประมาณว่าในปีคริสตศักราช 2012 หรือ สองปีที่แล้ว สหรัฐใช้ไฟฟ้าถึง 274,000 กิโลวัตต์ในการให้แสงสว่างในตัวอาคารบ้านเรือน โคมไฟตามท้องถนนและไฮเวย์ทั่วประเทศ

ที่ประเทศเดนมาร์ก ทางการกำลังมุ่งพัฒนาให้กรุง Copenhagen กลายเป็นเมืองปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลกภายในปีคริสตศักราช 2025 ทีมนักวิทยาศาสตร์ในเมืองหลวงของเดนมาร์กติดตั้งเทคโนโลยีการให้แสงสว่างตามท้องถนนหลายประเภทด้วยกัน

คุณ Kim Brostrom เจ้าหน้าที่ chief technical officer ประจำที่สำนักงาน Danish Outdoor Lighting Lab กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าทีมงานกำลังเทคโนโลยีเหล่านี้บนถนนยาวทั้งหมด 9 กิโลเมตร มีการปักธง 280 จุด มีทางแก้ปัญหา 50 วิธี มีระบบจัดการ 10 ระบบและยังมีการติดตั้งตัวเซ็นเซ่อร์และอุปกรณ์อื่นๆ อีกจำนวนมากในพื้นที่เปิดโล่ง

ด้านคุณ Jacob Anderson เจ้าหน้าที่ chief science officer กล่าวว่าสามารถควบคุมการปิดและเปิดโคมไฟแต่ละจุดตามท้องถนนได้โดยใช้ tablet computer หรือโทรศัพท์มือถือรุ่นสมาร์ทโฟนเป็นตัวควบคุม

เขากล่าวว่าทีมงานสามารถเฝ้าติดตามดูระยะเวลาการทำงาน ประสิทธิภาพและปริมาณไฟฟ้าที่ใช้และสามารถคำนวณปริมาณการใช้แสงสว่างได้ตามความเป็นจริง

โครงการโคมไฟถนนอัจฉริยะในกรุง Copenhagen นี้มีเป้าหมายหลักเพื่อลดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ลงในช่วงที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แสงสว่าง โคมไฟถนนจะเปิดก็ต่อเมื่อตัวเซ็นเซ่อร์ได้รับสัญญาณว่ามีคนเดินเท้า คนปั่นจักรยานหรือยานยนต์กำลังเคลื่อนตัวเข้าไปใกล้ โคมไฟในบางจุดมีเครื่องปั่นไฟพลังงานลมหรือแผงโซล่าติดตั้งกำกับเอาไว้ด้วยเพื่อให้พลังงานเสริมในกรณีจำเป็น

ทีมนักวิทยาศาสตร์ในเมืองหลวงของเดนมาร์กชี้ว่าระบบโคมไฟถนนอัจฉริยะที่ติดตั้งทั่วเมืองหลวงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณในการให้แสงสว่างตามท้องถนนของกรุง Copenhagen งบปัจจุบัน