เมืองใหญ่เอเชียใต้เรียงหน้าติดอันดับอากาศสกปรกสุดในโลก

FILE PHOTO: Man rides a motor tricycle, loaded with sacks of recyclables, amid dense smog in Lahore

เมืองละฮอร์ เมืองใหญ่อันดับสองของปากีสถาน ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลกประจำปี 2022 จากข้อมูลของ ไอคิวแอร์ (IQAir) ผู้ผลิตเครื่องฟอกอากาศจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่จัดทำรายงานเป็นประจำทุกปี

รายงานของไอคิวแอร์ได้รับความเชื่อถือจากนักวิจัยและหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลก โดยจะวัดจากระดับของฝุ่น PM2.5 ในอากาศของเมืองต่าง ๆ ใน 131 ประเทศทั่วโลก

ไอคิวแอร์ระบุว่า ในปี 2022 เมืองละฮอร์ของปากีสถานมีปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่ 97.4 ไมโครกรัม / หนึ่งตารางเมตร เพิ่มจากระดับ 86.5 เมื่อปี 2021 โดยมีเมืองโฮตัน ในมณฑลซินเจียงของจีน ตามมาเป็นอันดับสอง ที่ระดับ 94.3 ไมโครกรัม / หนึ่งตารางเมตร

อันดับสามและสี่ คือกรุงนิวเดลีและเมืองพิวาดีของอินเดีย ซึ่งมีปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่ 92.7 และ 92.6 ไมโครกรัม ตามลำดับ ส่วนอันดับ 5 ได้แก่เมืองเปชะวาร์ในบังกลาเทศ ที่ 91.8 ไมโครกรัม

เมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ประเทศชาดในแอฟริกามีระดับ PM2.5 เฉลี่ยสูงที่สุดที่ 89.7 รางลงมาคือ อิรัก และปากีสถาน ส่วนบังกลาเทศที่เคยครองอันดับหนึ่งเมื่อปี 2021 ตกลงมาอยู่ที่ 5 ในปี 2022

รายงานของ IQAir ระบุด้วยว่า 10% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศคุกคามสุขภาพ

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า เมืองต่าง ๆ ควรมีระดับ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัม / ลูกบาศก์เมตร ซึ่งหมายความว่าเมืองที่มีอากาศสกปรกที่สุดในโลกนั้นมีปริมาณฝุ่น PM2.5 เกินกว่า WHO กำหนดไว้ถึง 20 เท่า

สำหรับกรุงเทพฯ ปีที่แล้วมีระดับ PM2.5 เฉลี่ยที่ 36.2 ไมโครกรัม สูงที่สุดในประเทศไทย รองลงมาคือที่จังหวัดน่าน ที่ 30.4 ไมโครกรัม

  • ที่มา: รอยเตอร์