จับตา! รายงานเผยจีนติดตั้งแท่นยิงจรวดขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศบนเกาะในทะเลจีนใต้

A satellite view of the recent build up on Woody Island.

นักวิเคราะห์กล่าวว่าจีนกำลังถูกทดสอบเรื่องความสามารถในการรักษาอิทธิพลของปักกิ่งในเอเชีย

Your browser doesn’t support HTML5

China US South China Sea

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และไต้หวันกล่าวว่า จีนนำแท่นยิงจรวดจากพื้นสู่อากาศเข้าพื้นที่เกาะแห่งหนึ่งในเขตทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งรัฐบาลเวียดนามและไต้หวันก็อ้างกรรมสิทธิ์เช่นกัน

เหตุการณ์เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่ประธานาธิบดีโอบามาเรียกร้องให้ประเทศคู่กรณีในความชัดแย้งบริเวณทะเลจีนใต้หาทางออกอย่างสันติ

รายงานข่าวที่ได้รับการยืนยัน แสดงภาพเครื่องยิงจรวดสองชุด ชุดละ 8 เครื่อง พร้อมด้วยระบบเรดาร์บนเกาะ Woody ซึ่งจีนเรียกว่าเกาะ “ยงจิง” และเวียดนามเรียกว่าเกาะ “พูลาม” ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะพาราเซล เกาะ Woody ถูกอ้างกรรมสิทธิ์โดยจีนตั้งแต่เมื่อ 60 ปีก่อน และถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของเกาะไห่หนาน

Woody Island, in the Paracel Island chain

รัฐมนตรี หวัง ยี่ แห่งกระทรวงต่างประเทศจีน กล่าวตอบโต้ว่าสื่อตะวันตกควรให้ความสนใจเรื่องอื่นๆ เช่น งานที่สถานีอุตุนิยมและประภาคารของจีนในทะเลจีนใต้ และว่ารายงานข่าวเกี่ยวกับการนำอาวุธขึ้นเกาะ Woody เป็นความพยายามที่จะสร้างข่าวโดยสื่อตะวันตก

เขาบอกด้วยว่าจีนมีสิทธิ์ที่จะปกป้องตนเองตามกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นไม่ควรมีใครตั้งคำถามในเรื่องนี้

ด้านอาจารย์ Alexander Huang ที่มหาวิทยาลัย Tankang แห่งไต้หวัน กล่าวว่าท่าทีของจีนในการนำอาวุธเข้าพื้นที่ ส่งสัญญาณที่สำคัญถึงความตั้งใจของจีนในอนาคต แม้ว่าสัญญาณดังกล่าวขัดกับสิ่งที่จีนเคยสื่อไปแล้วในอดีต

เขาบอกว่าจีนเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ทำให้บริเวณที่มีปัญหาเป็นเขตทหาร และแม้ว่าความขัดแย้งเรื่องเกาะ Woody เป็นเรื่องของจีนและเวียดนาม แต่สหรัฐฯ น่าจะจับตาสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด เพราะอาจนำไปสู่การยกระดับให้กองทัพจีนเกี่ยวข้องมากขึ้นกับหมู่เกาะ Spratly

เขากล่าวว่า จีนกำลังถูกกดดันครั้งใหญ่จากการประชุมสุดยอดระหว่างประเทศ ASEAN และสหรัฐฯ รอบพิเศษที่รัฐแคลิฟอร์เนียในสัปดาห์นี้ และจากการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้เรื่องความสัมพันธ์ทางทหารภายใต้กรอบ THAAD

ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่การประชุม ASEAN และสหรัฐฯ ประธานาธิบดีโอบามา บอกว่าสหรัฐฯ และ ASEAN มีพันธะร่วมกันในการรักษากฎระเบียบในภูมิภาคให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมา ซึ่งเป็นไปตามสิทธิ์ของทุกชาติไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่หรือเล็ก

ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่าได้พูดคุยกับผู้นำใน ASEAN เรื่องความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อลดความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ รวมถึงการหยุดยั้งไม่ให้มีการถมทะเล และการนำอาวุธเข้าพื้นที่ความขัดแย้ง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการสานต่อเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เพราะขณะที่ประเทศ ASEAN ต้องการสานความสัมพันธ์ที่จริงใจกับสหรัฐฯ แต่อิทธิพลของจีนมีผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาในภูมิภาคนี้

นักวิเคราะห์ Ross Darrell Feigngold จากสถาบันวิเคราะห์ความเสี่ยง DC International Advisory กล่าวว่า จีนกำลังเจอกับประเด็นต่างที่รุมเร้าหลายด้านที่ทดสอบความสามารถในการรักษาอิทธิพลของปักกิ่งในเอเชีย

Ross Darrell Feigngold พูดถึงสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นว่า มีทั้งเรื่องการทดลองอาวุธของเกาหลีเหนือ การเลือกตั้งในไต้หวัน และการประชุมสุดยอด ASEAN ในสหรัฐฯ

เขากล่าวว่า แม้จะถูกรุมล้อมด้วยปัจจัยท้าทายเหล่านี้ ดูเหมือนว่ารัฐบาลกรุงปักกิ่งแสดงให้เห็นว่ามีความมั่นในในการรับมือกับปฏิกิริยาของนานาประเทศ หลังจากที่จีนนำจรวดเข้าเขตของเกาะ Woody ในครั้งนี้

(รายงานโดย Bill Ide / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)