นักวิชาการชี้ อาเซียนไม่เชื่อจีนที่อ้างไม่ต้องการครองอำนาจในทะเลจีนใต้ 

In this photo released by Xinhua News Agency, Chinese President Xi Jinping waves as he chairs the ASEAN-China Special Summit to commemorate the 30th Anniversary of ASEAN-China Dialogue Relations via video link from Beijing, China on Monday, Nov. 22, 2021.

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า คำมั่นของจีนที่จะไม่ครองอำนาจในทะเลจีนใต้ถือว่าออกมาช้าเกินที่จะโน้มน้าวกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นคู่พิพาทในทะเลดังกล่าว หลังจากที่จีนขยายอิทธิพลในบริเวณนี้มานานหลายปี

เมื่อวันจันทร์ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กล่าวระหว่างการประชุมสุดยอดออนไลน์อาเซียน- จีน ครั้งที่ 30 ว่า จีนจะหลีกเลี่ยงไม่ “รังแก” ประเทศที่เล็กกว่า ต่อประเด็นการอ้างกรรมสิทธิ์เหนืออาณาเขตทะเลพื้นที่ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตรนี้

โดยปกติแล้ว นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง มักเป็นผู้เข้าร่วมการประชุมกับอาเซียน แต่ครั้งนี้ ปธน. สี กล่าวกับผู้นำชาติอาเซียนผ่านการประชุมออนไลน์ด้วยตนเอง

ทั้งนี้ จีน บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปินส์ ไต้หวัน และเวียดนาม ต่างอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่บางส่วนของทะเลจีนใต้ตั้งแต่ฮ่องกงจนถึงเกาะบอร์เนียว จีนได้ถมทะเลเพื่อสร้างเกาะขนาดเล็กในบริเวณทะเลจีนใต้หลายจุด โดยบางส่วนเพื่อประโยชน์ทางการทหาร จนทำให้ประเทศต่างๆ รู้สึกกังวล

กองทัพเรือ หน่วยยามฝั่ง และเรือประมงของจีนมักแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศคู่พิพาทอื่นๆ ที่มีศักยภาพทางทหารน้อยกว่าจีน โดยแล่นเรือผ่านบริเวณที่เป็นกรณีพิพาทซึ่งมีทรัพยากรด้านการประมงและพลังงานมูลค่ามหาศาล

ท่าทีจากอาเซียน

เจย์ บาทองบาคัล ศาสตราจารย์ด้านกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ในเมืองเกซอนซิตี ระบุว่า ประเทศอาเซียนต่างเคยรับทราบท่าทีในลักษณะนี้จากจีนมาก่อนแล้ว แต่จีนก็ยังดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดความกังวลต่อไป ความเห็นของผู้นำจีนครั้งนี้จึงทำให้ประเทศอาเซียนเกิดความกังขา

ส่วนอเล็กซานเดอร์ วูวิง ศาสตราจารย์ประจำศูนย์ Daniel K. Inouye Asia-Pacific Center for Security Studies ในฮาวาย ระบุว่า จีนจะยังคงรักษาท่าทีของตนในทะเลจีนใต้ต่อไป โดยเมื่อปีค.ศ. 2015 ประธานาธิบดีสีเคยกล่าวกับอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาว่า จีนจะไม่ดำเนินกิจกรรมทางทหารในทะเลจีนใต้ แต่สุดท้ายก็ดำเนินการอยู่ดี

FILE - Protesters hold slogans during a rally in front of the Chinese Consulate in Makati city, Philippines, July 12, 2021. Chinese coast guard ships blocked and used water cannons on two Philippine supply boats heading to a disputed shoal occupied by Fil


อาจารย์วูวิงเห็นว่า เวียดนามจะไม่เชื่อถือท่าทีจากจีนในครั้งนี้ ในขณะที่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียยังคงกังขา ทั้งนี้ อินโดนีเซียไม่ได้แข่งขันกับจีนเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะต่างๆ แต่ขัดแย้งกับจีนเรื่องเส้นทางเดินเรือ

เวียดนามขัดแย้งกับจีนเรื่องเกาะต่างๆ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 และมีการปะทะจนมีผู้เสียชีวิตเมื่อปีค.ศ. 1974 และ ค.ศ. 1988 ในขณะที่มาเลเซียและฟิลิปปินส์มีท่าทีที่ชัดเจนขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน เรือยามชายฝั่งของจีนขวางทางไม่ให้เรือสินค้าของฟิลิปปินส์เข้าไปยังแนวสันทราย เซคันด์ โธมัส โชล (Second Thomas Shoal) ซึ่งฟิลิปปินส์อ้างสิทธิครอบครองอยู่และใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงยิงสะกัด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต้ ของฟิลิปปินส์ ระบุว่า ฟิลิปปินส์กังวลเป็นอย่างยิ่ง และเหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่ได้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี

เกรกอรี โพลิง ผู้อำนวยการโครงการ Asia Maritime Transparency Initiative ของศูนย์ Center for Strategic and International Studies. ระบุว่า ปัญหาของท่าทีจากจีนคือ ประเทศเพื่อนบ้านของจีนไม่เชื่อถือคำพูดของจีนมากขึ้นเรื่อยๆ จากการกระทำของจีนทั้งในประเด็นทะเลจีนใต้ ช่องแคบไต้หวัน ไปจนถึงปัญหาพรมแดนกับอินเดีย

เหตุใดผู้นำจีนจึงออกมาแสดงท่าที?

เอ็ดวาร์โด อารารัล รองศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ระบุว่า การที่ประธานาธิบดีของจีนออกมาแสดงท่าทีดังกล่าวด้วยตนเองต่อประเทศอาเซียนเป็น “เรื่องที่สมเหตุสมผล” สำหรับประเทศที่ต้องการแสดงความเป็นมหาอำนาจของโลก เนื่องจากประเทศอาเซียนต่างกังวลถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของประเทศที่ใกล้ชิดอย่างจีน ประเทศเหล่านี้จึงอาจคาดหวังท่าทีจากจีนเมื่อมีโอกาสได้หารือกับประธานาธิบดีสีโดยตรง

Malaysia China Southeast Asia

ทางด้านอาจารย์วูวิงกลับเห็นว่า ปธน. สี อาจแสดงท่าทีดังกล่าวเพื่อตอกย้ำความมั่นใจต่อประเทศอาเซียนที่อาจกังขาว่า การหารือครั้งล่าสุดระหว่างผู้นำจีนและสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงเรื่องข้อตกลงเทคโนโลยีทางการทหาร AUKUS ระหว่างสหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลีย ที่มีจุดประสงค์เพื่อรับมือกับการขยายอำนาจของจีนนั้น จะเปลี่ยนท่าทีทางภูมิรัฐศาสตร์ของจีนในภูมิภาคอาเซียนหรือไม่


ส่วนอาจารย์อารารัลระบุว่า จีนต้องการแผ่ขยายอิทธิพลของตนในภูมิภาคอาเซียนโดยไม่ให้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ด้านการค้า และอาจต้องการเข้ามามีอิทธิพลแทนที่สหรัฐฯ ที่ยังคงดำเนินกิจกรรมทางทหารเรือและขายอาวุธให้ประเทศอาเซียนอยู่ ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ หลายชุดให้การสนับสนุนโยบาย “อินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง” โดยมองว่า “การอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเหนือทรัพยากรนอกชายฝั่งในพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลจีนใต้เป็นการกระทำที่ไม่เคารพกฎหมาย และใช้การข่มเหงรังแกเพื่อควบคุมทรัพยากรดังกล่าว”

ทั้งนี้ ประเทศอาเซียนที่ไม่ได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา สิงคโปร์ และไทย