นักวิเคราะห์แนะจีนปรับนโยบายในตะวันออกกลางก่อนกระทบโครงการ 'เส้นทางสายไหมยุคใหม่'

Map illustrating China's "One Belt, One Road" megaproject at the Asian Financial Forum in Hong Kong.

Your browser doesn’t support HTML5

ข่าวธุรกิจประจำวันที่ 9 มิถุนายน 2560

หลังจากเกิดความบาดหมางของกาตาร์กับนานาชาติในตะวันออกกลางที่ยกระดับขึ้น หลังซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน และอียิปต์ ตัดสัมพันธ์ทางการทูต และปิดกั้นเส้นทางขนส่งทั้งหมดกับกาตาร์ ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนเป็นต้นมา

บรรดานักวิเคราะห์ด้านการต่างประเทศ ประเมินว่า จีนอาจต้องปรับนโยบายจากเดิมที่ไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่นๆ ให้เป็นมาตรการเชิงรุกมากขึ้น ท่ามกลางวิกฤตทางการทูตในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

เพื่อให้การเดินหน้าโครงการหนึ่งถนนหนึ่งวงแหวน หรือ "เส้นทางสายไหมยุคใหม่" เมกกะโปรเจคสำคัญของจีน ที่ครอบคลุมการค้าการลงทุนกว่า 65 ประเทศ ในเอเชีย แอฟริกา และยุโรป เป็นไปอย่างราบรื่น

ที่ผ่านมา จีนให้น้ำหนักกับการค้าด้านพลังงานกับตะวันออกกลาง และตอนนี้ได้เปลี่ยนมากระชับความสัมพันธ์กับตะวันออกกลางในด้านการค้าการลงทุนในการผลิตสินค้ามากขึ้น

โดยเฉพาะแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางสายไหมยุคใหม่ในคูเวต มูลค่า 1 แสน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในโปรเจค Northern Silk city ให้เป็นจุดเชื่อมโยงยุโรปและเอเชีย ตามเมกกะโปรเจคนี้

แต่ถือว่าเม็ดเงินลงทุนยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ

โดยข้อมูลเมื่อ 2 ปีก่อน จีนได้ลงทุนทางตรงในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ทั้งคูเวต โอมาน และซาอุดิอารเบีย คิดเป็นมูลค่ารวม 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับ 5 เปอร์เซนต์ของเม็ดเงินที่จีนลงทุนในสิงคโปร์เท่านั้น

และคิดเป็น 0.4 เปอร์เซนต์ ของการลงทุนทางตรงในต่างประเทศของจีนในช่วงเวลาเดียวกันด้วย