วิกฤติและโอกาสสำหรับการเยือนเอเชียของรองประธานาธิบดีแฮริส

Vice President Kamala Harris speaks about the bipartisan infrastructure bill from the East Room of the White House, Tuesday, Aug. 10, 2021, in Washington. With a robust vote after weeks of fits and starts, the Senate approved a $1 trillion bipartisan infr

รองประธานาธิบดีคามาลา แฮริสของสหรัฐฯ เริ่มออกเดินทางเยือนเอเชียคือสิงคโปร์กับเวียดนามในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคมซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการสร้างทั้งความเสี่ยงและโอกาส

โดยในแง่ของโอกาสนั้น การเยือนเอเชียดังกล่าวเป็นครั้งแรกในตำแหน่งรองประธานาธิบดีของนางคามาลา แฮริสจะเป็นการทดสอบความสามารถเรื่องกิจการต่างประเทศและการทูตของเธอ เพราะเท่าที่ผ่านมารองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้นี้มีประสบการณ์ในด้านกฎหมายจากการเป็นอัยการสูงสุดของรัฐแคลิฟอร์เนียและเป็นวุฒิสมาชิกแต่ไม่มีบทบาทหรือผลงานเรื่องการทูตและนโยบายต่างประเทศมาก่อนเลย

อย่างไรก็ตามการไปเยือนเวียดนามของรองประธานาธิบดีแฮริสอาจทำให้เกิดปัญหาจากการเปรียบเทียบเรื่องการถอนทหารสหรัฐฯ ออกจากเวียดนามอย่างฉุกละหุกในปี 1975 กับเหตุการณ์โกลาหลวุ่นวายที่เห็นในรายงานภาพข่าวเรื่องความพยายามของชาวอัฟกานิสถานที่ต้องการอพยพออกจากประเทศในช่วงหลายวันที่ผ่านมาได้ เพราะเป็นที่เชื่อกันว่าที่เวียดนามซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับสหรัฐฯ

ในแง่การเป็นพันธมิตรเพื่อต้านทานอำนาจอิทธิพลของจีนนั้น รองประธานาธิบดีคามาลา แฮริสอาจจะพบกับคำถามและการเปรียบเทียบสิ่งที่ประธานาธิบดีไบเดนเคยกล่าวไว้ว่าการถอนทหารของสหรัฐฯ ออกจากอัฟกานิสถานจะไม่เหมือนการถอนทหารออกจากเวียดนามในปี 1975 แต่อย่างใด นอกจากนั้นคาดว่ารองประธานาธิบดีคามาลา แฮริสยังจะต้องช่วยย้ำยืนยันจุดยืนและค่านิยมหลักของสหรัฐฯ ในเรื่องสิทธิมนุษยชนรวมทั้งสิทธิของสตรีและเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัฟกานิสถานด้วย

แต่คุณ Brett Bruen อดีตนักการทูตของสหรัฐฯ ในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาได้เปรียบเทียบการเยือนเอเชียของรองประธานาธิบดีแฮริสครั้งนี้ว่าเหมือนกับการเดินเข้ารังแตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เมื่อเดือนมิถุนายน รองประธานาธิบดีแฮริสได้เดินทางไปเยือนกัวเตมาลาและเม็กซิโกทั้งยังกล่าวเตือนคนต่างชาติไม่ให้ลักลอบข้ามพรมแดนเข้าไปในสหรัฐฯ ด้วย

ที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศแรกสำหรับการเดินทางเยือนเอเชียของรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เธอมีกำหนดจะพบหารือกับนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุงของสิงคโปร์และจะกล่าวปราศรัยแสดงวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียทั้งยังมีกำหนดจะพบกับผู้นำทางธุรกิจเพื่อหารือในเรื่องซัพพลายเชนด้วย

นักวิเคราะห์เชื่อว่า รองประธานาธิบดีแฮริสจะหยิบยกประเด็นเรื่องโอกาสด้านการค้าขึ้นหารือ เพราะขณะนี้ทำเนียบขาวได้พิจารณาจะทำข้อตกลงการค้าในระบบดิจิตัลฉบับใหม่กับบางประเทศในเอเชียเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของข้อมูลอย่างเปิดกว้างและเสรีและจะเป็นโอกาสให้กับธุรกิจอเมริกันรวมทั้งเพื่อสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคกับประเทศในเอเชียในเรื่องเทคโนโลยีเกิดใหม่ด้วย ซึ่งก็น่าจะเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคดังกล่าว

The United States has just donated 1.5 million doses of Pfizer’s COVID-19 vaccine to Thailand

แต่ประเด็นที่น่าจะมีความโดดเด่นและได้รับความสนใจมากที่สุดจากกลุ่มประเทศในสมาคมอาเซียนจากการเยือนครั้งนี้คือบทบาทความร่วมมือของสหรัฐฯ เพื่อแก้ปัญหาโรคระบาดใหญ่โควิด-19 เท่าที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ ได้บริจาควัคซีนโควิด-19 ให้กับประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนไปแล้วกว่า 23 ล้านโดสรวมทั้งบริจาคชุด PPE และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ มูลค่าอีกหลายสิบล้านดอลลาร์ด้วย

ระหว่างที่อยู่ในเวียดนาม รองประธานาธิบดีคามาลา แฮริสจะประชุมออนไลน์ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของกลุ่มประเทศอาเซียนและจะพูดถึงการเปิดศูนย์ระดับภูมิภาคของ CDC ของสหรัฐฯ

นักวิเคราะห์อย่างเช่นคุณ Gregory Poling นักวิจัยอาวุโสด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Center for Strategic and International Studies กล่าวว่าเรื่องนี้จะเป็นโอกาสสำคัญเพื่อแสดงความมุ่งมั่นผูกพันของสหรัฐฯ ในการแก้ปัญหาโควิดจากการเยือนเอเชียของรองประธานาธิบดีแฮริสด้วย และว่าหากสหรัฐฯ ไม่สามารถทำให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนมองเห็นความสำคัญและบทบาทของสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ได้แล้วเรื่องอื่นๆ ที่วอชิงตันพยายามจะทำในเอเชียนั้นก็คงแทบจะไม่มีความหมายแต่อย่างใด

(ที่มา: AP)