ชาวกัมพูชารุ่นใหม่เริ่มมีบทบาทในการเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ

FILE - Mu Sochua, a member of the opposition Sam Rainsy Party, says Cambodian women, regardless of political affiliation, often decide not to stand for office because they are not sure of their ability.

USAID เปิดเผยว่าบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ของนักการเมืองหญิงในกัมพูชากลายเป็นแรงผลักดันแก่ชาวกัมพูชารุ่นใหม่ให้มีบทบาทในการเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ

Your browser doesn’t support HTML5

Cambodian Women

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ หรือ USAID ออกรายงานที่เรียกว่า Women’s Leadership as a Route to Greater Empowerment ชี้ว่าถึงแม้นโยบายของกัมพูชาจะบังคับว่ารัฐบาลกัมพูชาจะต้องมีตัวแทนผู้หญิงเข้าทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายในตำแหน่งผู้นำของคณะกรรมการต่างๆ แต่นักการเมืองชายกัมพูชาก็ยังกำบังเหียนตำแหน่งสำคัญๆ ในหน่วยงานภาครัฐบาลอยู่

รายงานชิ้นนี้เปิดเผยว่าปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของผู้หญิงกัมพูชาเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวกับชุมชน แม้ว่าแรงสนับสนุนจากผู้ชายโดยทั่วไปและจากรัฐบาลกัมพูชากำลังเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต ขนบธรรมเนียมท้องถิ่นของกัมพูชาไม่ส่งเสริมผู้หญิงให้ยึดอาชีพทางการเมืองหรือเข้าทำงานในตำแหน่งผู้นำทางการเมือง

คุณ Darcy Ashman ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ program evaluator แก่รายงานของ USAID ชิ้นนี้อธิบายว่าขนบธรรมเนียมนี้ยังคงเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของผู้หญิงชาวกัมพูชา

คุณ Ashman กล่าวว่าเนื่องจากวัฒนธรรมที่ระบุว่าผู้หญิงต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนและผู้ชายเป็นคนออกไปทำงาน นี่จึงทำให้ผู้หญิงกัมพูชาขาดความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถทำงานในบทบาทของผู้ชายได้

บรรดานักการเมืองหลายคน รวมทั้ง Mu Sochua สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างเห็นด้วยว่าการขาดความเชื่อมั่นในตนเองเป็นอุปสรรคสำคัญแก่ความก้าวหน้าของผู้หญิงกัมพูชา

สมาชิกรัฐสภาหญิงชาวกัมพูชาคนนี้กล่าวว่าผู้หญิงกัมพูชามักจะตัดสินใจไม่เข้าทำงานในทางการเมืองเพราะไม่เชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถ เธอกล่าวว่านี่ไม่้เกี่ยวข้องกับนโยบายของพรรคการเมือง นอกจากนี้ โอกาสในตำแหน่งทางการเมืองสำหรับผู้หญิงกัมพูชามีน้อยเนื่องจากบทบาทดั้งเดิมของผู้หญิงในกัมพูชาคือการดูแลและหาเลี้ยงครอบครัว

ด้านคุณ Sopheap Chak ผู้อำนวยการแห่ง Cambodia Center for Human Rights เห็นด้วยว่าโครงสร้างทางสังคมของกัมพูชาทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบกว่าผู้ชาย แต่เธอกล่าวว่าสำหรับตนเอง แรงสนับสนุนจากครอบครัวเป็นแรงผลักดันหลักที่ทำให้ตนเองเข้าทำงานในระดับผู้นำขององค์กร

ส่วนนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชนชาวกัมพูชาที่เป็นที่รู้จักกันดี ด็อกเตอร์ Chhiv Kek Pung ผู้อำนวยการแห่ง Cambodian League for the Promotion and Defense of Human Rights (LICADHO) กล่าวว่าแรงสนับสนุนจากครอบครัวของตนเองช่วยให้เธอสามารถทำหน้าที่ภรรยาและนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้อย่างราบรื่นไปพร้อมๆ กัน เธอกล่าวว่าเธอโชคดีที่สามีเข้าใจและสนับสนุนงานของเธอในบทบาทนี้

บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าและความเป็นผู้นำทางการเมืองมักโทษว่านี่เป็นผลมาจากผู้หญิงกัมพูชาขาดโอกาสในการศึกษาในระดับสูงที่มีคุณภาพ มีผลให้ผู้หญิงไม่มีบทบาททางสังคมและการเมือง โดยเฉพาะในชุมชนห่างไกล