บรูไน เรียกประชุมผู้นำอาเซียนด่วนเพื่อถกสถานการณ์ในเมียนมา

Anti-coup protesters gesture with a three-fingers salute, a symbol of resistance during a demonstration during by police crack down in Thaketa township Yangon, Myanmar, Saturday, March 27, 2021.

บรูไน ในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ เรียกประชุมผู้นำประเทศสมาชิกเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา หลังมีรายงานการใช้มาตรการรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มต่อเนื่อง ขณะที่นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมาเปิดตัวรายการวิทยุใหม่เพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับระบบการปกครองแบบสมาพันธรัฐ

ในแถลงการณ์ร่วมของบรูไนและมาเลเซีย ทั้งสองประเทศยังเรียกร้องให้รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสของตนดำเนินการ “การเตรียมตัวที่จำเป็นสำหรับการประชุมที่จะจัดขึ้นที่ที่ทำการใหญ่อาเซียนในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย” ด้วย

Sultan of Brunei Hassanal Bolkiah arrives at the ASEM leaders summit in Brussels

แถลงการณ์ดังกล่าวมีออกมาหลังการหารือระหว่าง นายกรัฐมนตรี มูห์ยิดดิน ยัสซิน ของมาเลเซีย และสุลต่านฮัสซานนาล โบเกียห์ นายกรัฐมนตรีของบรูไน

ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียพยายามเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกผลักดันให้มีการเจรจาในเมียนมา แม้ว่าอาเซียนจะมีนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกก็ตาม

นับตั้งแต่การก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์มา มีรายงานว่า ผู้ชุมนุมประท้วงในเมียนมาเสียชีวิตไปแล้วกว่า 557 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 2,750 คน แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ได้ทำให้ผู้ประท้วงย่อท้อ แต่กลับพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการเดินหน้าต่อต้านรัฐบาลทหารตลอดมา

รายงานข่าวระบุว่า เมื่อคืนวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ผู้ชุมนุมประท้วงกระจายตัวออกชุมนุมตามจุดต่างๆ ของเมืองใหญ่ เช่น นครย่างกุ้ง และร่วมกันแสดงท่าทางแบบใหม่ที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ที่ของ “องค์กรติดอาวุธของชนกลุ่มน้อยเพื่อต่อต้านรัฐบาล” ด้วย

Anti-coup protesters hold a Chinese flag before burning it down during a demonstration against China in Yangon, Myanmar, April 5, 2021.

ขณะเดียวกัน มีรายงานข่าว กลุ่มนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมาเปิดตัวคลื่นวิทยุที่ไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ และออกอากาศในวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์ ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ ที่หวังจะมาล้มล้างการปกครองแบบเผด็จการของรัฐบาลทหาร

สมาชิกผู้ก่อตั้งรายการนี้ บอกกับ วีโอเอ ว่า การเลือกออกอากาศเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยุเป็นหนทางใหม่ โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลทำการตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และว่า วิธีนี้ยังทำให้ผู้คนได้รับข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยไม่มีข้อมูลชวนเชื่อใดๆ จากกองทัพเข้ามาเจือปน

นอกจากนั้น ยังมีรายงานข่าวว่า รายการวิทยุนี้ยังตั้งความหวังที่จะส่งสารไปยังสมาชิกกองทัพเมียนมาให้แปรพักตร์ด้วย

ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ที่เป็นสื่อรัฐแห่งหนึ่ง รายงานว่า สภากองทัพเมียนมาได้ประกาศที่จะจัดการกับโครงการวิทยุดังกล่าวแล้ว