แนวปะการังส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตราย

Musul, Iroq

ร้อยละ 95 ของแนวปะการังในเอเชียอาคเนย์อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตราย ขณะเดียวกันป่าชายเลน ในเอเชียหายไปในอัตราที่รวดเร็วกว่าบริเวณใดๆ ในโลก

Your browser doesn’t support HTML5

ร้อยละ 95 ของแนวปะการังในเอเชียอาคเนย์อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตราย

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของประเทศในเอเชียนำความเสี่ยงต่อระบบนิเวศวิทยาของภูมิภาคนี้ และล่าสุดหน่วยงานสากล International Union for Conservation of Nature เตือนว่าหากไม่มีการดูแลสิ่งแวดล้อมและป้องกันความเสียหาย สัตว์และพืชจำนวนมากอาจสูญพันธุ์ได้

ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า พันธุ์พืชและสัตว์ 14,000 ชนิดอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และร้อยละ 95 ของแนวปะการังในเอเชียอาคเนย์อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตราย ขณะเดียวกันป่าชายเลน ในเอเชียหายไปในอัตราที่รวดเร็วกว่าบริเวณใดๆ ในโลก

สถานการณ์ที่น่ากังวลนี้มาพร้อมกันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของภูมิภาค ปัจจุบันเอเชียเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่คิดเป็นร้อยละ 40 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก และประชากรในเอเชียคิดเป็น 60% ของประชากรโลก มีผู้ประเมินด้วยว่าในอีก 35 ปีจากนี้ จำนวนผู้ที่อยู่อาศัยในเอเชียจะเพิ่มเป็น 3,300 ล้านคน เทียบกับ 1,900 ล้านคนในปัจจุบัน

Zhang Xinsheng ผู้บริหารของหน่วยงาน International Union for Conservation of Nature กล่าวว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ ควรเร่งมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่าควรมีการปลูกจิตสำนึกต่อคำถามที่ว่า รูปแบบการผลิตในปัจจุบันเป็นแนวทางที่ยั่งยืนหรือไม่ และเราจะสามารถคงระดับการบริโภคเช่นนี้ต่อไปได้หรือเปล่า

เขาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายศึกษาหนทางปรับรูปแบบการผลิตและการบริโภคเพื่อคำนึงถึงทุกส่วนของสังคม

หน่วยงาน IUCN เน้นด้วยว่าไม่ใช่เฉพาะภาครัฐเท่านั้น เอกชน และกลุ่มเอ็นจีโอควรทำงานร่วมกันในการหาทางออกเรื่องสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของภูฏาน Yeshey Dorji กล่าวว่าความท้าทายประการหนึ่งคือ ตามปกติความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะสั้นมักกีดขวางความพยายามอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระยะยาว

เขาบอกว่าตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องที่ว่า ประโยชน์ทางเศรษฐกิจระยะสั้นขัดกับการอนุรักษ์ระยะยาวคือการค้าและล่าสัตว์ผิดกฎหมาย ที่นำรายได้มาให้ผู้กระทำผิด แต่มีผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงในอนาคต

(รายงานโดย Ron Corben เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)